ค้นเจอ 10 รายการ

เรื้อน

หมายถึงน. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขื้เรื้อนกุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทำให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.

เรื้อน

หมายถึงคำที่ใช้ด่าคนที่ทำตัวขัดต่อความเป็นจริง ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเข้าใจแบบผิด ๆ ว่าสิ่งที่ตัวเองทำหรือคิดนั้นถูกแล้ว; การกระทำในด้านแย่, ก้าวร้าว, นิสัยไม่ดี, ทำตัวไม่น่ารัก

ขี้เรื้อน

หมายถึงน. เรื้อน. (ปาก) ว. ไม่มีคุณค่า เช่น คนขี้เรื้อน ของขี้เรื้อน.

หูหนาตาโต,หูหนาตาเล่อ

หมายถึงน. ชื่อโรคเรื้อน.

กุฏฐัง

หมายถึงน. โรคเรื้อนซึ่งทำให้อวัยวะเช่นมือและเท้ากุดเหี้ยนไป. (ป.).

ขี้ทูด

หมายถึงน. ชื่อโรคเรื้อนชนิดทำให้มือกุดเท้ากุด.

เศวตร

หมายถึง[สะเหฺวด] (โบ) น. สีขาว. (ส. เศฺวตร ว่า โรคเรื้อนนํ้าเต้า; ป. เสต).

สนิทสนม

หมายถึงก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.

อันตรายิกธรรม

หมายถึง[-ยิกะทำ] น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).

กระเบา

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบานํ้า (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดำ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ