คำในภาษาไทย หมวด ฐ

คำในภาษาไทย หมวด ฐ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ฐ

คำในภาษาไทย หมวด ฐ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.
  2. ฐกัด
    หมายถึง [ถะกัด] ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู. (ม. คำหลวง ชูชก).
  3. ฐากูร
    หมายถึง [ถากูน] (แบบ) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคนที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน. (ส. กฺกุร).
  4. ฐาน
    หมายถึง [ถาน] น. ที่ตั้ง เช่น ฐานทัพ ฝีตั้งฐาน, ที่รองรับ เช่น ฐานพระพุทธรูป. (ป.).
  5. ฐาน
    หมายถึง สัน. เพราะ เช่น ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่.
  6. ฐาน
    หมายถึง (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จำนวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้างจำนวนอื่น ๆ โดยการยกกำลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จำนวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จำนวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จำนวนที่บอกปริมาณในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๑๐) + (๖ ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ ๗) + (๖ ๗๒).
  7. ฐาน,ฐาน,ฐาน-,ฐานะ
    หมายถึง [ถาน, ถานะ-] น. ตำแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).
  8. ฐานกรณ์
    หมายถึง [ถานกอน] (ไว) น. ที่ตั้งและเครื่องทำให้เกิดเสียงในการพูด.
  9. ฐานบัทม์
    หมายถึง น. ฐานบัวหน้ากระดานบัวควํ่าบัวหงาย.
  10. ฐานราก
    หมายถึง น. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.
  11. ฐานสิงห์
    หมายถึง น. ฐานเท้าสิงห์.
  12. ฐานันดร
    หมายถึง น. ลำดับในการกำหนดชั้นบุคคล เช่น ยศบรรดาศักดิ์. (ป. านนฺตร).
  13. ฐานานุกรม
    หมายถึง น. ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทำเนียบ.
  14. ฐานานุรูป
    หมายถึง ว. สมควรแก่ฐานะ. (ป.).
  15. ฐานานุศักดิ์
    หมายถึง ว. ตามควรแก่เกียรติศักดิ์. น. ศักดิ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งฐานานุกรมได้.
  16. ฐานียะ
    หมายถึง (แบบ) ว. ควรแก่ตำแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).
  17. ฐานเขียง
    หมายถึง น. ฐานรองชั้นล่างสำหรับรองฐานอื่น มีหน้ากระดานและลวดท้องไม้.
  18. ฐานเชิงบาตร
    หมายถึง น. ฐานรูปเชิงบัวหน้ากระดาน.
  19. ฐานเท้าสิงห์
    หมายถึง น. ฐานรูปสมมุติจากสิงห์แบก, ฐานสิงห์ ก็เรียก.
  20. ฐาปน,ฐาปน-,ฐาปนา
    หมายถึง [ถาปะนะ-, ถาปะนา] น. การก่อสร้าง, การแต่งตั้ง, การซ่อมแซม, การตั้งขึ้น. (ป. ปน).
  21. ฐายี
    หมายถึง (แบบ) ว. ตั้งอยู่, ดำรงอยู่, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น กัปปัฏฐายี ว่า ตั้งอยู่กัปหนึ่ง. (ป.).
  22. ฐิตะ
    หมายถึง [ถิตะ] (แบบ) ก. ยืนอยู่, ตั้งอยู่แล้ว. (ป.).
  23. ฐิติ
    หมายถึง [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดำรงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิตอยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).

 แสดงความคิดเห็น