คำในภาษาไทย หมวด จ
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย หมวด จ
คำในภาษาไทย หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- จ
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ จอร์จ. - จก
หมายถึง ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้. - จง
หมายถึง เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ. - จงกรม
หมายถึง [-กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป. จงฺกม). - จงกรมแก้ว
หมายถึง น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์). - จงกล
หมายถึง [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทำให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สำหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้านของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. - จงกลนี
หมายถึง [-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓). - จงดี
หมายถึง ว. ให้ดี, ให้เรียบร้อย. - จงรัก,จงรักภักดี
หมายถึง ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง. - จงอร
หมายถึง [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม). - จงอาง
หมายถึง น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้ พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก. - จงเกลียดจงชัง
หมายถึง ก. ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง. - จงโคร่ง
หมายถึง [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. - จงใจ
หมายถึง ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา. - จญ
หมายถึง (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่). - จด
หมายถึง ก. จ่อให้ถึงกัน, ถึง, จนถึง; แตะ. - จด
หมายถึง ก. กำหนด, หมายไว้, เขียนไว้. - จดจำ
หมายถึง ก. กำหนดไว้ในใจ, จำไว้ในใจ. - จดจ่อ
หมายถึง ก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่. - จดจ้อง,จด ๆ จ้อง ๆ
หมายถึง ก. ตั้งท่าจะทำแล้วไม่ลงมือทำเพราะไม่แน่ใจ. - จดทะเบียน
หมายถึง (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท. - จดหมัด
หมายถึง ก. ตั้งท่ามวย. - จดหมาย
หมายถึง น. หนังสือที่มีไปมาถึงกัน. - จดหมายเวียน
หมายถึง น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจำนวนมาก. - จดหมายเหตุ
หมายถึง น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. - จดุร,จดุร-
หมายถึง [จะดุระ] (กลอน) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่. - จดุรงค์
หมายถึง [จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค). - จดูร,จดูร-
หมายถึง [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). - จดไม่ลง
หมายถึง (ปาก) ก. ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก. - จตุ,จตุ-
หมายถึง [จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.). - จตุกาลธาตุ
หมายถึง [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์. - จตุตถ,จตุตถ-,จตุตถี
หมายถึง [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.). - จตุทิพยคันธา
หมายถึง [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง. - จตุบท
หมายถึง น. สัตว์สี่เท้า. (ป.). - จตุบริษัท
หมายถึง น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.). - จตุปัจจัย
หมายถึง [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.). - จตุปาริสุทธิศีล
หมายถึง [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.). - จตุร,จตุร-
หมายถึง [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ). - จตุรคูณ
หมายถึง ว. ๔ เท่า. - จตุรงคนายก
หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน). - จตุรงคประดับ
หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน). - จตุรงคพล
หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก. - จตุรงคยมก
หมายถึง [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน). - จตุรงคินีเสนา
หมายถึง [จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา). - จตุรงคเสนา
หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา). - จตุรงคโยธา
หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา). - จตุรงค์
หมายถึง ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค). - จตุรถ-
หมายถึง [จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ). - จตุรพักตร์
หมายถึง ว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. - จตุรพิธ
หมายถึง ว. มี ๔ อย่าง. - จตุรพิธพร
หมายถึง [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกำลังแข็งแรง. - จตุรภุช
หมายถึง [-พุด] ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์. - จตุรภูมิ
หมายถึง [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก. - จตุรมุข
หมายถึง (กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. - จตุรยุค
หมายถึง น. ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค. - จตุราริยสัจ
หมายถึง [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ). - จตุรเวท,จตุรเพท
หมายถึง [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-). - จตุลังคบาท
หมายถึง [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า. - จตุสดมภ์
หมายถึง น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔). - จตุโลกบาล
หมายถึง [จะตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. - จทึง
หมายถึง [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). - จน
หมายถึง ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทำได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี. - จน
หมายถึง สัน. ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า. - จนกระทั่ง,จนถึง
หมายถึง สัน. ตราบเท่า, ที่สุดถึง. - จนกว่า
หมายถึง สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย. - จนชั้น
หมายถึง สัน. ที่สุดแต่. - จนด้วยเกล้า
หมายถึง (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด. - จนแล้วจนรอด
หมายถึง ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้. - จนได้
หมายถึง ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้. - จบ
หมายถึง น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน. - จบ
หมายถึง ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทำความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ. - จบ
หมายถึง ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน. - จบเห่
หมายถึง (ปาก) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ. - จม
หมายถึง ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลายที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย. - จมปลัก
หมายถึง ก. ติดอยู่กับที่, ไม่ก้าวหน้า. - จมร,จมรี
หมายถึง ดู จามรี. - จมูก
หมายถึง [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ). - จมูกข้าว
หมายถึง น. ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก. - จมูกปลาหลด,จมูกปลาไหล
หมายถึง ดู กระพังโหม. - จมูกมด
หมายถึง (สำ) ว. ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หูผี เป็น หูผีจมูกมด. - จมูกวัว
หมายถึง น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า. - จมูกหลอด
หมายถึง ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า. - จมเบ้า
หมายถึง ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ. - จมไม่ลง
หมายถึง (สำ) ก. เคยทำตัวใหญ่มาแล้วทำให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทำตัวเหมือนเดิม). - จยุติ
หมายถึง [จะยุดติ] (กลอน) ก. จุติ. (ส.). - จร
หมายถึง [จอน] ดู จอน ๒. - จร,จร,จร-
หมายถึง [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจำ เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคำไทยก็มี. - จรก
หมายถึง [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.). - จรกลู่
หมายถึง [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้นกลางโพยมากาศ. (ม. คำหลวง ทศพร). - จรคั่ง
หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. คั่ง. - จรจรัล
หมายถึง [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย). - จรจัด
หมายถึง [จอน-] ว. ร่อนเร่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. - จรณะ
หมายถึง [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.). - จรด
หมายถึง [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง. - จรดพระกรรไกรกรรบิด,จรดพระกรรไตรกรรบิด
หมายถึง (ราชา) ก. ใช้กรรไตรและมีดโกนขริบและโกนผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์. - จรดพระนังคัล
หมายถึง ก. จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ. - จรดล
หมายถึง [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง). - จรบน,จรบัน
หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชำระจรบันสระหอมรส. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). - จรบาท
หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคำว่า บทจร. - จรมัน
หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. ทำให้มั่น, ทำให้แข็งแรง.