คำในภาษาไทย หมวด ช
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ช
คำในภาษาไทย หมวด ช ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ช
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช. - ช
หมายถึง ในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก. - ชก
หมายถึง ก. ต่อยด้วยหมัดหรือกำปั้น. - ชกมวย
หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. - ชกา
หมายถึง [ชะ-] (กลอน) น. นกสาลิกา. (กล่อมช้างของเก่า). - ชค,ชค-
หมายถึง [ชะคะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน เช่น ชคสัตว์ ว่า สัตว์ที่อาศัยแผ่นดิน. (ป., ส.). - ชคดี
หมายถึง [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี). - ชคัตตรัย
หมายถึง [ชะคัดไตฺร] (แบบ) น. โลก ๓ เช่น ชคัตตรยาพดง ว่า ผู้เป็นยอดของโลก ๓. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). - ชง
หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า. - ชง
หมายถึง ก. เทนํ้าร้อนลงบนใบชาหรือยาเป็นต้นเพื่อให้รสออก. - ชงคา
หมายถึง (กลอน) น. ราชโองการ เช่น ชุลีกรรับชงคาครรไล. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา). - ชงฆ,ชงฆ-,ชงฆ์,ชงฆา
หมายถึง [ชงคะ-] (กลอน; แบบ) น. แข้ง, ราชาศัพท์ว่า พระชงฆ์. (ป. ชงฺฆ; ส. ชงฺฆา). - ชงโค
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Bauhinia purpurea L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูอมแดงหรือม่วงแดง. - ชงโลง
หมายถึง ดู กดเหลือง. - ชงโลง
หมายถึง น. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง). - ชฎา
หมายถึง [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา). - ชฎากลีบ
หมายถึง น. ชฎารูปเหมือนชฎาเดินหน แต่มีกลีบเป็นลายประดับมาก. - ชฎาธาร
หมายถึง น. ผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา. - ชฎาพอก
หมายถึง น. ชฎาที่ทำสำหรับสวมพระศพเจ้านาย. - ชฎามหากฐิน
หมายถึง น. ชฎาที่ทำยอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปักตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก. - ชฎามังษี,ชฎามังสี
หมายถึง น. โกฐชฎามังษี. (ดู โกฐชฎามังษี, โกฐชฎามังสี). - ชฎาเดินหน
หมายถึง น. ชฎายอดงอนที่มีกลีบ. - ชฎาแปลง
หมายถึง น. ชฎารูปเหมือนชฎากลีบแต่ไม่มีลวดลาย. - ชฎิล
หมายถึง น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. (ป., ส.). - ชด
หมายถึง ก. ทำให้ชุ่มชื่น, ใช้แทนที่เสียไป. ว. อ่อน, ช้อย, งอนอย่างงอนรถ. - ชดช้อย
หมายถึง ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย; มีลักษณะกิริยาท่าทางงดงาม เช่น คนชดช้อย, ช้อยชด ก็ว่า. - ชดเชย
หมายถึง ก. ใช้แทนสิ่งที่เสียไป, เพิ่มเติม. - ชดใช้
หมายถึง ก. ใช้ค่าใช้จ่ายที่ทดรองจ่ายไปก่อนแล้ว, ให้ทดแทนสิ่งที่ใช้หรือเสียไป. - ชทึง
หมายถึง [ชะ-] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง). - ชน
หมายถึง ก. โดนแรง ๆ เช่น รถยนต์ชนต้นไม้, ชิดจนติด เช่น ตั้งตู้ชนฝา; บรรจบ เช่น ชนขวบ; ให้ต่อสู้กัน เช่น ชนโค ชนไก่. น. เรียกไก่อูชนิดหนึ่งที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน. - ชน,ชน,ชน-
หมายถึง [ชนนะ-] น. คน (มักใช้ในภาษาหนังสือ).(ป., ส.). - ชนก,ชนก-
หมายถึง [ชะนก, ชะนะกะ-] น. ชายผู้ให้เกิด, พ่อ. (ป., ส.). - ชนกกรรม
หมายถึง [ชะนะกะกำ] น. กรรมอันนำให้เกิดหรือกรรมอันเป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทำให้เกิดเป็นคนชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์). - ชนกลุ่มน้อย,ชนหมู่น้อย
หมายถึง น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจำนวนมากกว่า. - ชนช้าง
หมายถึง ก. ขี่ช้างรบกัน. - ชนนี
หมายถึง [ชนนะนี] น. หญิงผู้ให้เกิด, แม่. (ป., ส.). - ชนบท
หมายถึง [ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป. (ป., ส. ชนปท). - ชนม,ชนม-,ชนม์
หมายถึง [ชนมะ-, ชน] น. การเกิด. (ส. ชนฺมนฺ). - ชนมพรรษา
หมายถึง [ชนมะพันสา] น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปีที่เกิดมา). - ชนมาพิธี,ชนมายุพิธี
หมายถึง [ชนนะ-] น. อายุ, อายุขัย, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คำหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กำหนด). - ชนวน
หมายถึง [ชะ-] ดู ฉนวน ๔. - ชนวน
หมายถึง [ชะ-] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี; เรียกกระดานเขียนหนังสือทำด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดินระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยายหมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม. - ชนะ
หมายถึง [ชะ-] น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกลองแขก ใช้ตีด้วยไม้ ใช้เฉพาะในงานหลวง. - ชนะ
หมายถึง [ชะ-] ก. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งพ่ายแพ้. - ชนัก
หมายถึง [ชะ-] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทำด้วยเหล็กปลายเป็นรูปลูกศร มีด้ามยาว มีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอช้างทำด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมา เพื่อให้คนที่ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. - ชนักติดหลัง
หมายถึง (สำ) น. ความชั่วหรือความผิดที่ยังติดตัวอยู่. - ชนา
หมายถึง [ชะ-] (กลอน) น. ชน เช่น เอาลวดถักคั่นกันชนา. (นิ. เกาะแก้วกัลกตา). - ชนาง
หมายถึง [ชะ-] น. เครื่องดักปลาและสัตว์ป่า เช่น บ้างวงข่ายรายรอบปากชนาง. (ไชยเชฐ). (ข.). - ชนิด
หมายถึง [ชะ-] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จำพวก เช่น คนชนิดนี้. - ชนินทร์
หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน. (ส. ชน + อินฺทฺร). - ชบา
หมายถึง [ชะ-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Hibiscus rosasinensis L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกมีสีต่าง ๆ พันธุ์ที่สีแดงดอกและยอดใช้ทำยาได้. - ชบาหนู
หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิด ในสกุล Malvaviscus วงศ์ Malvaceae ลักษณะคล้ายดอกชบาแต่ดอกเล็กกว่าและไม่บาน ชนิด M. arboreus Cav. ดอกตั้ง ชนิด M. penduliflorus DC. ดอกห้อยลง. - ชปโยค
หมายถึง [ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค). - ชม
หมายถึง ก. สรรเสริญ, ยกย่อง; ดู (ใช้ในที่สุภาพ) เช่น เชิญชมของในร้าน, ดูเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจหรือชื่นใจ เช่น ชมสวน ชมนกชมไม้. - ชม
หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ชม เช่น ชมดง ชมตลาด. - ชมชัว
หมายถึง ก. ชื่นชม, รื่นรมย์, เช่น สองฟากนํ้าพลชมชัว. (สมุทรโฆษ), ชัวชม ก็ว่า. - ชมชาญ
หมายถึง ก. เหิม, รื่นเริง, เช่น เสียงโห่เอาชัยชมชาญ. (สมุทรโฆษ). - ชมดชม้อย
หมายถึง [ชะมดชะม้อย] ก. อายเหนียมอย่างชดช้อย. - ชมนาด
หมายถึง [ชมมะ-] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vallaris glabra Kuntze ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาวเป็นช่อ กลิ่นเหมือนข้าวใหม่, ดอกข้าวใหม่ ก็เรียก, เขียนเป็น ชำมะนาด ก็มี. - ชมบ
หมายถึง [ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า. - ชมพู
หมายถึง (แบบ) น. ไม้หว้า. (ป., ส. ชมฺพุ). - ชมพู
หมายถึง ว. สีแดงอ่อน, สีแดงเจือขาว. - ชมพูทวีป
หมายถึง (แบบ) น. ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังกลาเทศในปัจจุบัน; ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป. - ชมพูนท,ชมพูนุท
หมายถึง น. ทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (ในคัมภีร์ไตรภูมิกล่าวว่าเกิดใต้ต้นหว้า), ใช้ว่า ชามพูนท ก็มี. (ส. ชามฺพูนท ว่า เกิดในแม่นํ้าชมพูนที). - ชมพูพาดบ่า
หมายถึง น. ท่ารำชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว. - ชมพู่
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Syzygium วงศ์ Myrtaceae ผลกินได้ เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม [S. samarangense (Blume) Merr. et L.M. Perry] ชมพู่นํ้าดอกไม้ [S. jambos (L.) Alston] ชมพู่สาแหรก [S. malaccensis (L.) Merr. et L.M. Perry]. - ชมรม
หมายถึง น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมนักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า. - ชมสวนสวรรค์
หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. - ชมัน
หมายถึง [ชะ-] ดู กระโดงแดง (๑). - ชมา
หมายถึง [ชะ-] น. แมว. (ข.). - ชมเชย
หมายถึง ก. ยกย่อง, สรรเสริญ; แสดงกิริยาเสน่หา. - ชมเปาะ
หมายถึง ก. ชมไม่ขาดปาก, ชมด้วยความจริงใจ. - ชมเลาะ
หมายถึง (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ). - ชมไช
หมายถึง (กลอน) ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช. (ม. คำหลวง มหาพน). - ชม้อย
หมายถึง [ชะ-] ก. ช้อนตาลอบชำเลืองดูด้วยความสนใจ. - ชม้าย
หมายถึง [ชะ-] ก. ชายหางตาดูด้วยความสนใจ. - ชย,ชย-
หมายถึง [ชะยะ] น. การชนะ. (ป., ส.). (ดู ชัย). - ชยา
หมายถึง [ชะ-] (แบบ) น. สายธนู. (ป. ชิยา; ส. ชฺยา). - ชร
หมายถึง [ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.). - ชร
หมายถึง [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คำฤษดี), ชรธารา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). - ชร,ชร-,ชร-
หมายถึง [ชฺระ-] เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง. - ชรงำ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ, เช่น เปนไพรชัฏชรงำผลู. (สมุทรโฆษ). - ชรทึง
หมายถึง [ชฺระ-] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง). - ชรราง
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ราง ๆ เช่น แฝงข่าวยินเยียชรราง. (แช่งนํ้า). - ชรริน
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ประดับ เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดูเพรี้ยมพราย. (สมุทรโฆษ). - ชรอกชรัง
หมายถึง [ชฺรอกชฺรัง] ก. ซอกซอน, ซอกแซก. - ชรออบ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ชอบ เช่น ธมาพักชรออบ คืนเดียวชอบชีนอน. (ม. คำหลวง กุมาร). - ชรอัด
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชัด เช่น ลางหมู่งาชรอัดชรแอ้น. (ม. คำหลวง มหาราช). - ชรอื้อ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ). - ชรอุ่ม
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชรอุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ). - ชรอ่ำ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ). - ชระ
หมายถึง [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคำในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน. - ชระ
หมายถึง [ชฺระ] ว. สะอาด, บริสุทธิ์, เช่น ให้ฉลักแสบกภาพอันชระ. (สมุทรโฆษ). - ชระงม
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช). - ชระงำ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. คลุ้ม, มืด, งำ. - ชระง่อน
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา. - ชระดัด
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. ดัด. - ชระดื่น
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ดื่น. - ชระบอบ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ก. บอบชํ้า, เมื่อยล้า. - ชระบาบ
หมายถึง [ชฺระ-] (กลอน) ว. ราบเรียบ, เสมอ.