ค้นเจอ 286 รายการ

ประสก

หมายถึง(ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).

สัปดาหะ

หมายถึง[สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริมพระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).

อุปนิษัท

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).

นักบุญ

หมายถึงน. ผู้อ้างตัวว่าเป็นผู้วิเศษ, ผู้ที่ทำความดีไว้มากเมื่อตายแล้วได้รับยกย่องว่าเป็นผู้สำเร็จในทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, ผู้ยินดีในการบุญ.

นิกาย

หมายถึงน. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).

อรูปพรหม

หมายถึง[อะรูบปะพฺรม] น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกไม่มีรูป มี ๔ ชั้น, คู่กับ รูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม-).

อารัณยกะ

หมายถึง[-รันยะกะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหาไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก.

บำเพ็ญ

หมายถึงก. ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ บำเพ็ญพรต.

อิหม่าม

หมายถึงน. คำเรียกผู้นำในศาสนาอิสลาม, ผู้นำในการทำละหมาด, ตำแหน่งสำคัญของคณะกรรมการบริหารมัสยิด, โต๊ะอิหม่าม ก็เรียก. (อ. imam).

แก่น

หมายถึงน. เนื้อไม้แข็งและมีสีเข้ม อยู่ถัดกระพี้เข้าไป, เนื้อแท้, หลักสำคัญ เช่น แก่นพระศาสนา. ว. ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใคร.

บาลี

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).

กินบวช

หมายถึงก. กินเครื่องกระยาบวชในลัทธิพิธี เช่นพิธีตรุษ, ใช้เข้าคู่กับคำ ถือศีล เป็น ถือศีลกินบวช, กินในเวลาตามกำหนดของการถือพรตในลัทธิศาสนา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ