ค้นเจอ 98 รายการ

เรือคู่ชัก

หมายถึงน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงบรรทม.

แขกเต้า

หมายถึงน. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอชนิด Psittacula alexandri ในวงศ์ Psittacidae ที่หน้าผากมีเส้นสีดำลากผ่านไปจดหัวตาทั้ง ๒ ข้าง และมีแถบสีดำลากจากโคนปากลงไปทั้ง ๒ ข้างของคอคล้ายเคราตัวผู้ปากสีแดง ตัวเมียปากสีดำ อยู่เป็นฝูงใหญ่ กินผลไม้ ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้.

ศูนย์สูตร

หมายถึงน. ชื่อเส้นสมมุติที่ลากรอบโลก แบ่งโลกออกเป็น ๒ ซีก คือ ซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้ จุดทุกจุดบนเส้นศูนย์สูตรอยู่ห่างจากขั้วโลกทั้ง ๒ เท่ากัน.

ระแทะ

หมายถึงน. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, กระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า.

ตะโหงก

หมายถึง[-โหฺงก] น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควายสำหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก คอม หรือ ตะโกก ก็เรียก.

แทรกเตอร์

หมายถึง[แทฺรก-] น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติดเข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบและแบบล้อ ซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า. (อ. tractor).

กระแทะ

หมายถึงน. ยานชนิดลากขนาดเล็ก มี ๒ ล้อ ใช้วัวเทียม ตัวเรือนราบไม่ยกสูงอย่างเรือนเกวียน มีทั้งชนิดโถงและประกอบหลังคา, ระแทะ หรือ รันแทะ ก็ว่า. (ข. รเทะ).

คู่ชัก

หมายถึงน. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.

โกก

หมายถึงน. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควายสำหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.

บุคลากร

หมายถึง[บุกคะลากอน] น. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.

ชะลอ

หมายถึงก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทำให้ช้าลง, ทำให้ช้าลงเพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.

คราง

หมายถึง[คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ