ค้นเจอ 57 รายการ

กระษิร

หมายถึง[-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).

กัลปพฤกษ์

หมายถึง[กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสำเร็จตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทำขึ้นเนื่องในการทิ้งทานในงานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้นกัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้นว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กำมพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจำกำมพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).

เกราะ

หมายถึง[เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).

เกลาะ

หมายถึง[เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

ขี้จาบ

หมายถึง(ปาก) ว. หยาบคาย เช่น ชาติอ้ายขี้จาบปราบเพื่อนบ้าน. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).

ดัดดั้น

หมายถึงก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

มณโฑ

หมายถึงมเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา

นักงาน

หมายถึง(กลอน; ตัดมาจาก พนักงาน) น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

นาง

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองต่าง ๆ ที่มีคำว่า นาง ขึ้นต้น เช่น นางครวญ นางนาค นางนก. (รามเกียรติ์ ร. ๒).

แน่นนันต์

หมายถึง(กลอน) ว. มากมาย, อัดแอ, คับคั่ง, ยัดเยียด, เช่น กรุงกษัตริย์มาพร้อมประชุมกัน แน่นนันต์ในพระลานชัยศรี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

แบกหน้า

หมายถึง(สำ) ก. จำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); (สำ) ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ