ค้นเจอ 131 รายการ

ข้าวเหนียว

หมายถึงน. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดำ, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอามานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อแล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่มและเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.

มือ

หมายถึงน. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วยฝ่ามือและนิ้วมือ สำหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิดที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะสิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตำลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวนนับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).

ชะนี

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Hylobatidae แขนยาวมาก ไม่มีหาง ขนยาวนุ่ม เดินตัวตั้งตรงได้ ห้อยโหนอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ ร้องเสียงดัง เสียงร้องแสดงถึงอาณาเขตของแต่ละคู่ แต่ละชนิดมีเสียงร้องไม่เหมือนกัน กินผลไม้และใบไม้ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ชะนีมือขาว (Hylobates lar) สีดำและนํ้าตาล, ชะนีหัวมงกุฎ (H. pileatus) ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีเทา, ชะนีมือดำ (H. agilis) สีดำ นํ้าตาล และเทา.

บ้า

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาวแต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลาขนาดเล็กมีแถบสีดำคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้าลำคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ในธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นำไปบริโภค ทำให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.

อุรังอุตัง

หมายถึงน. ชื่อลิงขนาดใหญ่ชนิด Pongo pygmaeus ในวงศ์ Pongidae รูปร่างคล้ายคน ขนตามลำตัวยาวสีนํ้าตาลแดง แขนยาว ขาสั้นและค่อนข้างเล็ก ใบหูเล็กมาก ตัวผู้มีถุงลมขนาดใหญ่ตรงคอหอยและกระพุ้งแก้มทั้ง ๒ ข้างพองห้อย นิ้วตีนนิ้วแรกไม่มีเล็บ อาศัยอยู่บนต้นไม้ กินผลไม้ ยอดและหน่อของต้นไม้ มี ๒ พันธุ์ย่อย คือ พันธุ์สุมาตรา (Pongo pygmaeus abeli) และพันธุ์บอร์เนียว (P. pygmaeus pygmaeus) มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวเท่านั้น.

ส้ม

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยวหรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (C. aurantium L.) ส้มโอ [C. maxima (Burm.) Merr.] ส้มแก้ว (C. nobilis Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (C. reticulata Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง (C. sinensis Osbeck), ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. ว. สีเหลืองเจือแดง เรียกว่า สีส้ม.

ตะกร้อ

หมายถึง[-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สำหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทำด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สำหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้าข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สำหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

ติด

หมายถึงก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส; ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม; แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทำให้เกิดขัดอยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวนแห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย; ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติดไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้องติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทำให้คงอยู่ เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง; กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตาติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.

เสีย

หมายถึงก. เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป, เช่น เสียเกียรติ เสียศักดิ์ศรี เสียชื่อ; สูญไป, หมดไป, สิ้นไป, เช่น เสียแขน เสียชีวิต เสียทรัพย์; ชำรุด เช่น ถนนเสีย ทางเสีย; ใช้ไม่ได้ เช่น เครื่องไฟฟ้าเสียหมดทุกอย่าง รถเสียกลางทาง; ยับเยิน, ย่อยยับ, เช่น ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด, เสียหาย ก็ว่า; บูด เช่น แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ, เน่า เช่น ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว; ไม่ดี เช่น ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย; จ่ายเงิน, ชำระเงิน, เช่น เสียภาษี เสียค่าโทรศัพท์; หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน เช่น เสียไพ่ เสียม้า; ตาย เช่น เขาเสียไปหลายปีแล้ว; (โบ) ทิ้ง เช่น ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก. (สุภาษิตพระร่วง), เสียไฟเป่าหิ่งห้อย. (ลอ). ว. ที่ไม่ดี เช่น นิสัยเสีย น้ำเสีย; พิการ เช่น ตาเสีย ขาเสีย; บูด เช่น อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง.

จำปา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจำปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ