ค้นเจอ 590 รายการ

คชนาม

หมายถึงน. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว.

กรรมาชีพ

หมายถึง[กำ-] น. คำเรียกชนชั้นกรรมกรหรือลูกจ้างผู้หาเลี้ยงชีพด้วยค่าจ้างแรงงานว่า ชนกรรมาชีพ. (อ. proletariat).

วรงค์

หมายถึง[วะรง] น. “ส่วนสำคัญของร่างกาย” คือ หัว. (ส. วร + องฺค).

จดุรงค์

หมายถึง[จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค).

จุนทการ

หมายถึง[จุนทะกาน] (แบบ) น. ช่างกลึง. (ป.; ส. กุนฺทกร).

วิทูร

หมายถึงว. ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชำนาญ. (ป., ส. วิทุร).

สงคร

หมายถึง[-คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร).

พัทร

หมายถึง[พัดทฺระ] น. ต้นพุทรา. (ป., ส. พทร).

ดารกะ

หมายถึง[-ระกะ] (แบบ) น. ดาว, ดวงดาว. (ป., ส. ตารกา).

มัคสิระ

หมายถึง[-คะสิระ] น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป. มคฺคสิร, มาคสิร; ส. มารฺคศิรสฺ).

กำพง

หมายถึงน. ท่านํ้า, ตำบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกำพงไพร. (ม. คำหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่านํ้า; มลายู กัมพง ว่า ตำบล).

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ