ค้นเจอ 135 รายการ

ประชาชน,ประชาราษฎร์

หมายถึงน. พลเมือง, สามัญชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช ในความว่า ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน.

ผู้แทนราษฎร

หมายถึงน. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติในสภา, (ปาก) ผู้แทน.

มกุฎ

หมายถึง[มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).

วัดราษฎร์

หมายถึงน. วัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้าบัญชีเป็นพระอารามหลวง.

สิบแปดมงกุฎ

หมายถึงน. เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น.

อัษฎมะ

หมายถึง[อัดสะดะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘. (ส.; ป. อฏฺม).

อัษฎาวุธ

หมายถึงน. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบและเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).

กฎข้อบังคับ

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.

กฎธรรมชาติ

หมายถึงน. กฎในเรื่องธรรมชาติ.

กฎมณเฑียรบาล

หมายถึง(โบ) น. กฎมนเทียรบาล.

กฎศีลธรรม

หมายถึงน. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ