ตัวกรองผลการค้นหา
ขนง
หมายถึง[ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.
ขนบธรรมเนียม
หมายถึง[ขะหฺนบทำ-] น. แบบอย่างที่นิยมกันมา.
ขนม
หมายถึง[ขะหฺนม] น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม.
ขนมครก
หมายถึงน. ขนมทำด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะที่ทำเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ.
ขนมเปียก
หมายถึงน. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
ขนมเปียกปูน
หมายถึงน. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ก็เรียก.
ขนลุกขนชัน,ขนลุกขนพอง
หมายถึงน. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยงหรือตกใจกลัวเป็นต้น.
ขนอง
หมายถึง[ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง).
ขนาด
หมายถึง[ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กำหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
ขนานใหญ่
หมายถึง(ปาก) ว. มาก เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่งกันขนานใหญ่.
ขนาบ
หมายถึง[ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบนหรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).
ขนำ
หมายถึง[ขะหฺนำ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น.