ค้นเจอ 29 รายการ

ไม้ประกับคัมภีร์

หมายถึงน. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน.

ตะกรุด

หมายถึง[-กฺรุด] น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลงคาถาอาคมแล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด ก็ว่า.

ธรรมเจดีย์

หมายถึงน. เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน, คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก.

หลาบ

หมายถึง(โบ) น. แผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นคล้ายใบลาน ใช้ในการจารึก เช่น หลาบเงิน คือ หิรัญบัฏ หลาบคำ คือ สุพรรณบัฏ.

จาร

หมายถึง[จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).

อังกา

หมายถึงน. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสำหรับบอกจำนวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก.

หมวกกะโล่

หมายถึงน. หมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วยไม้ฉำฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้วหุ้มผ้า หรือทำด้วยใบลาน.

สาน

หมายถึงก. อาการที่ใช้เส้นตอกทำด้วยไม้ไผ่ หวาย กก ใบลาน เป็นต้น ขัดกันให้เป็นผืนเช่นเสื่อ หรือทำขึ้นเป็นวัตถุมีรูปร่างต่าง ๆ เช่นกระบุง กระจาด.

งอบ

หมายถึงน. เครื่องสวมหัวสำหรับกันแดดและฝน สานด้วยตอกไม้ไผ่ กรุด้านนอกด้วยใบลาน รูปคล้ายกระจาดควํ่า มีรังสำหรับสวม.

เกษียน

หมายถึง[กะเสียน] น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. ก. เขียน. ว. เล็กน้อย. (แผลงมาจาก เขียน).

สนับมือ

หมายถึงน. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด; เครื่องสวมมือมักทำด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสำหรับสวมนิ้วมือเวลาชก.

อัด

หมายถึงก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ