ค้นเจอ 29 รายการ

ตะกร้า

หมายถึง[-กฺร้า] น. ภาชนะสานโปร่งสำหรับใส่สิ่งของ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหูหิ้ว บางชนิดไม่มี.

ปิ่นโต

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับใส่ของกิน ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มีหูร้อยหิ้วได้, ลักษณนามว่า เถา เช่น ปิ่นโต ๒ เถา.

สาแหรก

หมายถึง[-แหฺรก] น. เครื่องใส่ของสำหรับหิ้วหรือหาบเป็นต้น ปรกติทำด้วยหวาย มี ๔ สาย ตอนบนทำเป็นหูสำหรับหิ้วหรือสอดไม้คาน ตอนล่างขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับวางกระจาดเป็นต้น. (เทียบ ข. สงฺแรก).

กรนนเช้า

หมายถึง[กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คำหลวง มัทรี).

อังแพลม

หมายถึง[-แพฺลม] น. ตะเกียงหิ้วขนาดเล็ก มีที่กำบังแสงและลม ๓ ด้าน สำหรับส่องหาของหรือตีกบเป็นต้นในเวลากลางคืน.

ครุ

หมายถึง[คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.

กรรแสง

หมายถึง[กัน-] (โบ) น. ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ดู กันแสง).

หาม

หมายถึงก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งห้อยกลางไม้หรือวางบนเปลเป็นต้น แล้วช่วยกันหิ้วหรือยกไป, ช่วยกันยกหัวและท้ายพาไป.

พะยุพยุง

หมายถึง[-พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับหิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

หู

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง; ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทำเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและกระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.

ขันสาคร

หมายถึงน. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปากคาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ.

เสวียน

หมายถึง[สะเหฺวียน] น. ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยหญ้า หวาย หรือฟาง เป็นต้น ถักหรือมัดเป็นวงกลม มักมีหู ๒ ข้างสำหรับหิ้ว ใช้รองก้นหม้อที่หุงต้มด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่าน, ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผ่นกลม สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ มีพ้อมข้าวเป็นต้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ