ค้นเจอ 63 รายการ

ชร,ชร-,ชร-

หมายถึง[ชฺระ-] เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.

เลื่อยล้า

หมายถึงว. เมื่อยล้า, เหนื่อยอ่อน, บอบชํ้า, ในบทกลอนใช้ว่า เมลื่อยมล้า ก็มี.

สระ

หมายถึง[สฺระ] คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยคำ สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.

จันโจษ

หมายถึงก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี.

อสูร

หมายถึง[อะสูน] น. ยักษ์, ในบทกลอนใช้ว่า อสุรา อสุรี หรือ อสุเรศ ก็มี. (ป. อสุร).

วก

หมายถึงก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอนใช้แผลงเป็น พก ก็มี.

อักษรลักษณ์

หมายถึง[อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอนมักใช้ว่า ลักษณ์.

อวยวะ,อวัยวะ

หมายถึง[อะวะยะวะ, อะไวยะวะ] น. ชิ้น, ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ในบทกลอนใช้ว่า อพยพ ก็มี. (ป., ส. อวยว).

มุ่ง

หมายถึงก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี.

ทะ

หมายถึงคำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น หรือเป็นคำซํ้าซึ่งคำหน้าเสียงกร่อนไป เช่น

กระมัง

หมายถึงว. คำแสดงความไม่แน่ใจ, คำแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.

พลบ

หมายถึง[พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวันชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ