ค้นเจอ 178 รายการ

ขยอก

หมายถึง[ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Nymphula depunctalis ในวงศ์ Pyralidae ทำลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอกหุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว สำหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.

ลุ้ง

หมายถึงน. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทำด้วยโลหะมีทองเหลืองและเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็นห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสำหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.

ติด

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Echeneidae เช่น สกุล Echeneis และ Remora มีลักษณะเฉพาะเด่นกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด คือ ที่ด้านบนของส่วนหัวมีอวัยวะรูปวงรีลักษณะเป็นซี่เรียงตัวในแนวขวางคล้ายบานเกล็ด ใช้เป็นส่วนยึดเกาะแน่นกับปลาหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือวัตถุลอยนํ้า ปากเชิดขึ้นอยู่ปลายสุดของหัว ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด E. naucrates, เหา เหาทะเล หรือ เหาฉลาม ก็เรียก.

หย่อง

หมายถึงน. สิ่งสำหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทำด้วยทองเหลือง; เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง; ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่เครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้. ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ.

ขัดสมาธิ

หมายถึง[ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้นข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็นท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย.

กระจับ

หมายถึงน. ชื่อไม้นํ้าชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในนํ้าโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดำแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทำเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝักกระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสำหรับยันคางศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกันอวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน.

ขัณฑสกร

หมายถึง[ขันทดสะกอน] (โบ) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธรสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป. ขณฺฑสกรา; ส.ขณฺฑศรฺกรา).

กระทง

หมายถึงน. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยนํ้าในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะเหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิในกฎหมายเก่า.

บัว

หมายถึงน. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำเป็นรูปกลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐานเป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ