ค้นเจอ 150 รายการ

กระบอก

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

บางสุ

หมายถึง(กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบทบางษุบาท. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปำสุ).

ฉบัง

หมายถึง[ฉะ-] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง บทละ ๑๖ คำ แบ่งเป็น ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๓ มี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ เช่น ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กระวี ไว้เกียรติ์และไว้นามกร (สามัคคีเภท). (ข. จฺบำง).

ดอกสร้อย

หมายถึงน. ชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ ใช้ ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ มี ๔ คำกลอน และคำลงจบบทให้ลงว่า เอย เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว...คอยดูอย่างไว้ใส่ใจเอย.

ยชุรเวท

หมายถึง[ยะชุระ-] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่าแต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

บรรณานุกรม

หมายถึง[บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.

จร,จร,จร-

หมายถึง[จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจำ เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคำไทยก็มี.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคำหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤตมักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.

ตีความ

หมายถึงก. ชี้หรือกำหนดความหมาย; ให้ความหมายหรืออธิบาย; ใช้หรือปรับให้เข้าใจเจตนาและความมุ่งหมายเพื่อความถูกต้อง; (กฎ) วิเคราะห์ถ้อยคำหรือข้อความในบทกฎหมาย นิติกรรม สัญญา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีปัญหาสงสัย หรือที่มีความหมายไม่ชัดเจน เพื่อกำหนดความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำหรือข้อความนั้น ๆ เช่น ตีความกฎหมาย.

เล่นคำ

หมายถึงก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).

โคราช

หมายถึงน. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทำนองตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คำ ๓ คำกลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัสในการเล่นคำเล่นความให้สละสลวย บาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.

อัตตโนบท

หมายถึงน. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ