ค้นเจอ 420 รายการ

หีนยาน

หมายถึง[หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.

เซน

หมายถึงน. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน แพร่หลายในจีนและญี่ปุ่น เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุความรู้แจ้งอย่างฉับพลัน โดยการทำสมาธิและใช้ปัญญาขบคิดปริศนาธรรม. (ญิ.).

เข้าเงียบ

หมายถึงก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา.

ที่กัลปนา

หมายถึง(กฎ) น. ที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา.

สายสูตร

หมายถึงน. เชือกหนังที่ผูกช้างให้เดินตามกัน; เส้นด้ายที่เจ้านายหรือสมเด็จพระสังฆราชจับโยงไปเพื่อกระทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น ยกช่อฟ้าหรือเททองหล่อพระพุทธรูปเป็นต้น.

วันพระ

หมายถึงน. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า.

ปริพาชก

หมายถึง[ปะริ-] น. นักบวชผู้ชายในอินเดีย นอกพระพุทธศาสนา, เพศหญิงใช้ว่า ปริพาชิกา หรือ ปริพาชี. (ป. ปริพฺพาชก).

คู่บ้านคู่เมือง

หมายถึงว. ที่เป็นของประจำบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง.

อุบาท,อุปบาท

หมายถึง[อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กำเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).

ลุ่มลึก

หมายถึงว. ลึกซึ้งมาก เช่น พระพุทธพจน์มีความหมายลุ่มลึก.

ข้าวพระ

หมายถึงน. อาหารคาวหวานที่จัดใส่สำรับสำหรับถวายพระพุทธ.

พุทธตันตระ

หมายถึงน. นิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำหลักพิธีกรรมของฮินดูตันตระมาผสมกับหลักปรัชญาปารมิตาของนิกายมาธยมิกะหรือศูนยวาท.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ