
50 คำในภาษาไทย ที่ใช้บ่อย ในชีวิตประจำวัน
คลังคำในภาษาไทย รวบรวมคำที่เป็นที่นิยม ทั้งหมด 50 คำ
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทยยอดนิยม 50 คำ
พจนานุกรมไทย รวม 50 คำในภาษาไทย ที่ใช้บ่อย มาทำการเรียนรู้กัน จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ ไปดูกันเลย
- กตเวที
หมายถึง [กะตะ-] ว. (ผู้) ประกาศคุณท่าน, (ผู้) สนองคุณท่าน, เป็นคําคู่กันกับ กตัญญู. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทําแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ]. - กระบาล
หมายถึง [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล). - กระสับกระส่าย
หมายถึง ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย. - การบวก
หมายถึง การนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกันแล้วมีจำนวนเพิ่มขึ้น - เก่งแต่ปาก
หมายถึง ว. ดีแต่พูด ทําไม่ได้, ไม่เก่งจริง. - เกรียงไกร
หมายถึง [-ไกฺร] ว. ใหญ่ยิ่ง. - เกสร
หมายถึง [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร). - โกฏิ
หมายถึง [โกด] น. ชื่อมาตรานับ เท่ากับ ๑๐ ล้าน. - ข้อเสนอแนะ
หมายถึง น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา. - ขัดเขมร
หมายถึง ก. ถกเขมร เช่น ทะเลาะกูกําหมัดขัดเขมร. (ดึกดําบรรพ์). - ข้าวตอกแตก
หมายถึง (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดังอย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก. - ข้าวตู
หมายถึง น. ข้าวตากคั่วแล้วตําเป็นผงเคล้ากับนํ้าตาลและมะพร้าว. - เข็นครกขึ้นภูเขา
หมายถึง ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน. - เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. - เขียนเสือให้วัวกลัว
หมายถึง (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม. - โขยกเขยก
หมายถึง อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ - คนหาร
หมายถึง คนที่จะร่วมติดคุกไปด้วยกัน ในการโพสต์เรื่องราวสุ่มเสี่ยงว่าจะผิดกฎหมาย - ครุฑ
หมายถึง [คฺรุด] น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. (ส.; ป. ครุฬ). - คล้องจอง
หมายถึง ก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน. - คำพ้องเสียง
หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์ - เงี่ยน
หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). - จับปูใส่กระด้ง
หมายถึง (สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้. - ดอกทอง
หมายถึง น. หญิงใจง่ายในทางประเวณี (ใช้เป็นคําด่า). - ทุจริต
หมายถึง [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต). - เทพารักษ์
หมายถึง น. เทวดาผู้ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. (ส.). - บิตุรงค์
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค). - บุคลากร
หมายถึง [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน. - โบราณสถาน
หมายถึง [โบรานนะสะถาน, โบรานสะถาน] น. สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น โบสถ์ วิหาร วัง มีอายุเก่ากว่า ๑๐๐ ปีขึ้นไป; (กฎ) อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย. - ปรมัตถ์
หมายถึง [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). - ปักษา
หมายถึง น. นก. (ส.). - ผอบ
หมายถึง [ผะ-] น. ภาชนะสำหรับใส่ของ มีเชิง ฝาครอบมียอด มักทำด้วยโลหะหรือไม้กลึงเป็นต้น. - พงศาวดาร
หมายถึง [-วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์. - ภาษาระดับทางการ
หมายถึง น. ภาษาราชการ - มณโฑ
หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา - เมตริกตัน
หมายถึง น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๖๐ หาบ, อักษรย่อว่า ต. (อ. metric ton). - แม่ม่ายลองไน
หมายถึง น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่งเสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดในประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera, ลองไน ก็เรียก. - โมหันธ์
หมายถึง น. ความมืดมนด้วยความหลง. (ป. โมห + อนฺธ). - ราชาฤกษ์
หมายถึง (โหร) น. ชื่อฤกษ์กําเนิด ถือว่าเป็นมงคลสูง ให้เกียรติยศ ชื่อเสียง และผลดีทางการงานแก่ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้ ทั้งจะทําให้ผู้เกิดหรือประกอบการงานในฤกษ์นี้เป็นที่นิยมชมชอบรักใคร่โปรดปรานของขุนนาง เจ้าพระยา พระมหากษัตริย์. - วรรณคดี
หมายถึง น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. - วัฒนธรรม
หมายถึง น. สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา. - ไว้ลาย
หมายถึง ก. แสดงความกล้าหาญหรือความสามารถอันเป็นลักษณะพิเศษของตนฝากไว้ให้ประจักษ์แก่ผู้อื่น เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย. - สิงขร
หมายถึง [-ขอน] น. สิขร - เสือจนท่า ข้าจนทาง
หมายถึง (สํา) จำเป็นต้องยอมเพื่อเอาตัวรอด. - แสตมป์
หมายถึง [สะแตม] น. ดวงตราไปรษณียากร, ตราไปรษณียากร ก็เรียก. (อ. stamp). - ไส้ศึก
หมายถึง น. ผู้ที่นําความลับในหมู่ที่ตัวร่วมด้วยไปบอกฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์. - หนีเสือปะจระเข้
หมายถึง (สํา) ก. หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง. - แหะ,แหะ ๆ
หมายถึง ว. เสียงคนหัวเราะมีเสียงเช่นนั้น. ก. ทำเสียงดังเช่นนั้น เช่น เขาไม่พูดอะไรได้แต่แหะ ๆ. - อะตอม
หมายถึง น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom). - อักษรกลาง
หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ. - โอหัง
หมายถึง ก. แสดงกิริยาวาจาหยิ่งยโส.
คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับคำในภาษาไทยทั้ง 50 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน
หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลยครับ