พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 9)

  1. อังสภาระ
    หมายถึง น. ของแบก.
  2. อังสา
    หมายถึง น. บ่า, ไหล่. (ป., ส. อํส).
  3. อังแพลม
    หมายถึง [-แพฺลม] น. ตะเกียงหิ้วขนาดเล็ก มีที่กำบังแสงและลม ๓ ด้าน สำหรับส่องหาของหรือตีกบเป็นต้นในเวลากลางคืน.
  4. อัจกลับ
    หมายถึง [อัดจะกฺลับ] น. โคมอย่างหนึ่งทำด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้าห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ.
  5. อัจจันต์
    หมายถึง ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก. (ป. อจฺจนฺต; ส. อตฺยนฺต).
  6. อัจจัย
    หมายถึง น. การล่วงไป; การล่วงเกิน, การดูหมิ่น. (ป. อจฺจย; ส. อตฺยย).
  7. อัจจิ
    หมายถึง น. เปลวไฟ, แสงไฟ. (ป.).
  8. อัจจิมา
    หมายถึง น. ไฟ. ว. มีแสง, สว่าง, รุ่งเรือง. (ป.).
  9. อัจจุตะ
    หมายถึง [อัดจุตะ] ว. ไม่เคลื่อนที่, มั่นคง, แน่นอน, เสมอไป. (ป.).
  10. อัจฉรา
    หมายถึง [อัดฉะรา] น. นางฟ้า. (ป.; ส. อปฺสรสฺ).
  11. อัจฉรา
    หมายถึง [อัดฉะรา] น. นิ้วมือ; ลัดนิ้วมือหนึ่ง, เวลาประเดี๋ยวเดียว, ชั่วพริบตา. (ป.).
  12. อัจฉริย,อัจฉริย-,อัจฉริยะ
    หมายถึง [อัดฉะริยะ-] ว. วิเศษน่าอัศจรรย์, มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก. (ป.; ส. อาศฺจรฺย).
  13. อัจฉริยบุคคล
    หมายถึง น. บุคคลผู้มีปัญญาความสามารถเยี่ยมยอดมาแต่กำเนิด.
  14. อัจฉริยภาพ
    หมายถึง น. ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก.
  15. อัจฉริยลักษณ์,อัจฉริยลักษณะ
    หมายถึง น. ลักษณะดีเด่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น อัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทย อัจฉริยลักษณะของมหาบุรุษ.
  16. อัจนา
    หมายถึง [อัดจะ-] น. การเซ่นสรวง, การถวาย, การบูชานับถือ. (ป. อจฺจนา).
  17. อัจเจกะ
    หมายถึง ว. ผิดปรกติ, บังเอิญเป็น; รีบร้อน; จำเป็น. (ป.).
  18. อัชฌัตติก,อัชฌัตติก-
    หมายถึง [อัดชัดติกะ-] ว. ภายใน, เฉพาะตัว, ส่วนตัว, เช่น อัชฌัตติกปัญญา. (ป.).
  19. อัชฌัติก
    หมายถึง เฉพาะตัว ส่วนตัว
  20. อัชฌา
    หมายถึง [อัดชา] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน. (ตัดมาจาก อัชฌาสัย).
  21. อัชฌาจาร
    หมายถึง [-จาน] น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. (ป.).
  22. อัชฌาศัย
    หมายถึง [-ไส] (โบ) น. อัชฌาสัย.
  23. อัชฌาสัย
    หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
  24. อัญ,อัญ-,อัญญะ
    หมายถึง [อันยะ-] ว. อื่น, ต่างไป, แปลกไป. (ป. อญฺ; ส. อนฺย).
  25. อัญขยม
    หมายถึง [อันขะหฺยม] ส. ข้า, ข้าพเจ้า. (ข. อญขฺ ว่า ข้าพเจ้า).
  26. อัญชนะ
    หมายถึง น. ยาตา, ยาหยอดตา. (ป.).
  27. อัญชนะศักราช
    หมายถึง น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๑๔๗ ปี (อัญชนะศักราชลบด้วย ๑๔๗ เท่ากับพุทธศักราช).
  28. อัญชลี
    หมายถึง น. การประนมมือ, การไหว้, บางทีใช้เป็น อัญชุลี หรือ ใช้ละว่า ชุลี ก็มี. (ป., ส. อญฺชลิ).
  29. อัญชัน
    หมายถึง น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้ต้นชนิด Dalbergia duperreana Pierre และไม้เถาชนิด Clitoria ternatea L. ชนิดหลังดอกสีครามแก่ ขาว และม่วงอ่อน. ว. เรียกสีครามแก่อย่างสีดอกอัญชัน ว่า สีอัญชัน.
  30. อัญชันป่า
    หมายถึง ดู หนอนตายหยาก (๒).
  31. อัญชุลี
    หมายถึง น. อัญชลี.
  32. อัญดิตถีย์,อัญเดียรถีย์
    หมายถึง [-ดิดถี, -เดียระถี] น. พวกที่มีความเชื่อถืออย่างอื่น, พวกนอกพระพุทธศาสนา. (ป. อญฺติตฺถิย; ส. อนฺย + ตีรฺถฺย).
  33. อัญประกาศ
    หมายถึง [อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  34. อัญประกาศเดี่ยว
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ‘ ’ สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความที่ซ้อนอยู่ภายในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว.
  35. อัญมณี
    หมายถึง น. รัตนชาติที่เจียระไนแล้ว, แก้วมณีอื่น ๆ นอกจากเพชรพลอย; (กฎ; โบ) ของมีค่าอื่น ๆ เช่น มันผู้หนึ่งล้อมไว้เป็นไร่เป็นสวนมัน มันได้ปลูกสรรพอัญมณีในที่นั้นไว้ ให้ลดอากรไว้แก่มันปีหนึ่ง. (สามดวง).
  36. อัญมัญ,อัญมัญ-
    หมายถึง [อันยะมันยะ-] ว. ซึ่งกันและกัน, แก่กันและกัน, ของกันและกัน, เช่น เป็นอัญมัญปัจจัย คือ เป็นปัจจัยของกันและกัน. (ป. อญฺมญฺ).
  37. อัญรูป
    หมายถึง [อันยะ-] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบอันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนำอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
  38. อัญเชิญ
    หมายถึง ก. เชิญด้วยความเคารพนับถือ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระอุโบสถ. (ข. อญฺเชิญ).
  39. อัฏ
    หมายถึง [อัดตะ] (แบบ) น. คดีความ. (ป. อฏฺฏ).
  40. อัฏฐ,อัฏฐ-,อัฏฐะ
    หมายถึง [อัดถะ-] (แบบ) ว. แปด. (ป.).
  41. อัฏฐบาน
    หมายถึง [-บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี.
  42. อัฏฐังคิกมรรค
    หมายถึง [อัดถังคิกะมัก] น. มรรคประกอบด้วยองค์ ๘. (ป. อฏฺงฺคิกมคฺค).
  43. อัฏฐังค์
    หมายถึง น. องค์ ๘, ๘ ส่วน, ๘ ชั้น. (ป.).
  44. อัฏฐังสะ
    หมายถึง ว. มี ๘ เหลี่ยม. (ป.).
  45. อัฏนา
    หมายถึง [อัดตะนา] น. เรียกชื่อพิธียิงปืนเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจตามประเพณีความเชื่อในระหว่างที่พระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยสูตรในวันทำพิธีตรุษว่า ยิงปืนอัฏนา, อาฏานา ก็ว่า.
  46. อัฐ
    หมายถึง [อัด] น. (โบ) เรียกเงินปลีกสมัยก่อน ๘ อัฐ เท่ากับ ๑ เฟื้อง; เงิน, เงินตรา, เช่น คนมีอัฐ; ราคาถูก ในสำนวนว่า ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส ก็ว่า.
  47. อัฐ,อัฐ-,อัฐ-
    หมายถึง [อัดถะ-] ว. แปด. (ป. อฏฺ).
  48. อัฐทิศ
    หมายถึง น. ชื่อพระแท่นรูป ๘ เหลี่ยม ที่พระมหากษัตริย์ประทับเพื่อรับนํ้าอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์.
  49. อัฐบริขาร
    หมายถึง น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก), สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. อฏฺปริขาร).
  50. อัฐบาน
    หมายถึง น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.
  51. อัฐม,อัฐม-,อัฐมะ
    หมายถึง [อัดถะมะ] (แบบ) ว. ที่ ๘ เช่น อัฐมภาค อัฐมราชา. (ป. อฏฺม).
  52. อัฐมี
    หมายถึง น. ดิถีที่ ๘, เรียกวันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ว่า วันอัฐมี.
  53. อัฐยายซื้อขนมยาย
    หมายถึง (สำ) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น.
  54. อัฐศก
    หมายถึง น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๘ เช่น ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๓๔๘.
  55. อัฐฬส
    หมายถึง [อัดลด] น. ราคาถูก ในสำนวนว่า ไม่กี่อัฐฬส, ไม่กี่อัฐ ก็ว่า.
  56. อัฐิ
    หมายถึง [อัดถิ] น. กระดูกคนที่เผาแล้ว. (ป. อฏฺ; ส. อสฺถิ).
  57. อัฐิมิญชะ
    หมายถึง น. เยื่อในกระดูก. (ป. อฏฺมญฺช).
  58. อัฐิสัณฐาน
    หมายถึง น. ทรงกระดูก.
  59. อัฐเคราะห์
    หมายถึง (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้ ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี.
  60. อัฒ,อัฒ-
    หมายถึง [อัดทะ-] ว. กึ่ง, ครึ่ง, ซีก. (ป. อฑฺฒ; ส. อรฺธ).
  61. อัฒจันทร์
    หมายถึง น. ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดงมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลงทำเป็นขั้น ๆ, อรรธจันทร์ ก็ว่า.
  62. อัฒภาค
    หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ; สำหรับคั่นคำหรือประโยค. (ป. อฑฺฒภาค).
  63. อัฒมณฑล
    หมายถึง น. กึ่งวงกลม. (ป. อฑฺฒมณฺฑล).
  64. อัฒมาส
    หมายถึง น. ครึ่งเดือน. (ป. อฑฺฒมาส).
  65. อัฒรัตติ
    หมายถึง น. เที่ยงคืน. (ป. อฑฺฒรตฺติ).
  66. อัณฑ,อัณฑ-,อัณฑะ
    หมายถึง [อันทะ-] น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะลับชาย, กระโปก; ไข่. (ป., ส.).
  67. อัณฑชะ
    หมายถึง น. “เกิดแต่ไข่” หมายถึง สัตว์ที่เกิดจากไข่ เช่น ไก่ นก เต่า. (ป., ส.).
  68. อัณฑาการ
    หมายถึง ว. รูปไข่, กลมรี. (ส.).
  69. อัณฑโกส
    หมายถึง น. เปลือกไข่. (ป.; ส. อณฺฑโกศ).
  70. อัณณพ
    หมายถึง น. อรรณพ, ห้วงนํ้า, ทะเล, มหาสมุทร. (ป. อณฺณว; ส. อรฺณว).
  71. อัด
    หมายถึง ว. ตรง, เต็ม, ตรงแบน, (ใช้แก่ลักษณะด้านหน้า) เช่น หน้าอัด สิงห์อัด.
  72. อัด
    หมายถึง ก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.
  73. อัดก๊อบปี้
    หมายถึง ก. บีบอัดให้แน่น เช่น อัดก๊อบปี้ผ้าม่วง, (ปาก) ปะทะอย่างแรง เช่น รถเก๋งถูกรถบรรทุกอัดก๊อบปี้พังยับเยิน.
  74. อัดฉีด
    หมายถึง ก. อัดจาระบีเข้าที่ข้อต่อรถยนต์; (ปาก) ให้เงินหรือรางวัลพิเศษเพื่อให้ทำงานให้โดยเร็วหรือให้ได้ผล.
  75. อัดรูป
    หมายถึง ก. ผลิตภาพจากฟิล์มหรือกระจกถ่ายรูปที่บันทึกภาพไว้แล้ว.
  76. อัดลม
    หมายถึง ก. อัดแก๊สเข้าไป. ว. เรียกเครื่องดื่มประเภทหนึ่งซึ่งมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายและอัดไว้ในขวดเป็นต้นว่า นํ้าอัดลม.
  77. อัดสำเนา
    หมายถึง ก. พิมพ์อัดกระดาษไขที่พิมพ์ เขียน เจาะปรุ หรือทำแบบลวดลายแล้ว ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้สำเนาจำนวนมากตามต้องการ, เรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนั้นว่า เครื่องอัดสำเนา.
  78. อัดอั้น,อัดอั้นตันใจ
    หมายถึง ก. เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน.
  79. อัดเสียง
    หมายถึง ก. บันทึกเสียงลงในแถบบันทึกเสียงหรือฟิล์มเป็นต้น.
  80. อัดแจ
    หมายถึง น. เมืองอะแจ, อะจีน ก็เรียก. [ปัจจุบันคือ เมืองอะเจะห์ (Ajeh) ในประเทศอินโดนีเซีย].
  81. อัดแบตเตอรี่
    หมายถึง ก. ประจุกระแสไฟฟ้าเข้าในแบตเตอรี่.
  82. อัดแผ่นเสียง
    หมายถึง ก. บันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง.
  83. อัดแอ
    หมายถึง ว. ยัดเยียด, แน่น, แออัด ก็ว่า.
  84. อัต,อัต-
    หมายถึง [อัดตะ-] น. ตน, ตัวเอง. (ป. อตฺต; ส. อาตฺมนฺ).
  85. อัตคัด
    หมายถึง [อัดตะ-] ว. ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด. ก. มีน้อย, ขาดแคลน, เช่น อัตคัดผม อัตคัดน้ำ.
  86. อัตชีวประวัติ
    หมายถึง น. ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง.
  87. อัตตา
    หมายถึง น. ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).
  88. อัตตาธิปไตย
    หมายถึง [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. การถือตนเองเป็นใหญ่. (ป. อตฺตาธิปเตยฺย); ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด. (อ. autocracy).
  89. อัตตโนบท
    หมายถึง น. “บทเพื่อตน”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็นกริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  90. อัตถ์,อัตถะ
    หมายถึง น. เนื้อความ, ประโยชน์, ความต้องการ. (ป. อตฺถ; ส. อรฺถ).
  91. อัตนัย
    หมายถึง ว. ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดงความคิดเห็นของตนเองว่า การสอบแบบอัตนัย, คู่กับ ปรนัย, จิตวิสัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  92. อัตภาพ
    หมายถึง น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
  93. อัตรชะ
    หมายถึง [อัดตฺระ-] น. “เกิดจากตัวเอง” หมายถึง ลูกของตัวเอง. (ป.).
  94. อัตรา
    หมายถึง [อัดตฺรา] น. ระดับที่กำหนดไว้, จำนวนที่จำกัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจำตามกำหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓).
  95. อัตราส่วน
    หมายถึง น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดบางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วนไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  96. อัตราเร็ว
    หมายถึง (วิทยา) น. อัตราการเคลื่อนที่ของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยเวลาโดยไม่คำนึงถึงทิศทางของการเคลื่อนที่. (อ. speed).
  97. อัตลัด
    หมายถึง [อัดตะหฺลัด] น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่ง แต่ไหมมีจำนวนมากกว่า.
  98. อัตวินิบาตกรรม
    หมายถึง [อัดตะวินิบาดตะกำ] น. การฆ่าตัวตาย.
  99. อัตหิต,อัตหิต-
    หมายถึง [-หิตะ-] น. ประโยชน์ตน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ประโยชน์ เป็น อัตหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. (ป. อตฺตหิต).
  100. อัตเหตุ
    หมายถึง [-เหด] ว. เพราะตนเป็นเหตุ; เห็นแก่ตัว. (ป. อตฺตเหตุ).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 9)"