พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 8)

  1. ออมครอม
    หมายถึง [-คฺรอม] ว. รุ่มร่าม, ไม่รัดกุม.
  2. ออมชอม
    หมายถึง ก. ปรองดองกัน, ประนีประนอมกัน, ตกลงกันด้วยการไกล่เกลี่ย, รอมชอม หรือ ลอมชอม ก็ว่า.
  3. ออมซอม
    หมายถึง ว. ซอมซ่อ, ปอน.
  4. ออมอด
    หมายถึง ก. ประหยัด, กระเหม็ดกระแหม่, อดออม ก็ว่า.
  5. ออสเมียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐ °ซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. osmium).
  6. ออเจ้า
    หมายถึง (โบ) ส. คำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อนทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่าออเจ้า. (ม. คำหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  7. ออเซาะ
    หมายถึง ก. ฉอเลาะ, ประจบประแจง.
  8. อะคร้าว
    หมายถึง (กลอน) ว. ยิ่ง; อิ่มใจ, ภูมิใจ, เช่น ทิศตะวันตกไท้ท้าว อะคร้าวครอบครองยศ. (ลอ).
  9. อะจีน
    หมายถึง น. เมืองอะแจ, อัดแจ ก็เรียก.
  10. อะดรีนาลิน
    หมายถึง น. ฮอร์โมนชนิดหนึ่งซึ่งต่อมหมวกไตผลิตขึ้น มีสมบัติกระตุ้นหัวใจ และทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว. (อ. adrenalin).
  11. อะดัก
    หมายถึง (โบ) ว. ลำบาก, อึดอัด, เร่าร้อนใจ, ดัก ๆ ก็ว่า.
  12. อะดักอะเดี้ย,อะดักอะเดื่อ,อะดักอะแด้
    หมายถึง ว. อึดอัดเต็มทน, คับใจเต็มทน.
  13. อะดุง
    หมายถึง (กลอน) ว. สูงส่ง, ไม่มีที่เปรียบ, เลิศ, เช่น ศรีสิทธิฤทธิชัย ไกรกรุงอะดุงเดชฟุ้งฟ้า. (ลอ).
  14. อะตอม
    หมายถึง น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
  15. อะนะ,อะหนะ
    หมายถึง น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  16. อะนั้น
    หมายถึง (โบ) น. อันนั้น, สิ่งนั้น.
  17. อะนี้
    หมายถึง (โบ) น. อันนี้, สิ่งนี้.
  18. อะมีบา
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เซลล์เดียวพวกหนึ่ง ขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีรูปร่างไม่แน่นอน ขยายพันธุ์ได้โดยการแบ่งตัวเอง. (อ. amoeba).
  19. อะร้าอร่าม
    หมายถึง (โบ) ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, งกเงิ่นด้วยความห่วงใย.
  20. อะร้าอร่าม
    หมายถึง ว. ลักษณะการแต่งกายที่มีเครื่องประดับเต็มไปทั้งตัว; ใหญ่ผิดปรกติ (มักใช้แก่หน้าอกผู้หญิง).
  21. อะลุ่มอล่วย,อะลุ้มอล่วย
    หมายถึง [-อะหฺล่วย] ก. ปรองดองกัน, ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน.
  22. อะลูมิเนียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐ °ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นำไปผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทำเครื่องครัว. (อ. aluminium).
  23. อะหม
    หมายถึง น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อาหม ก็ว่า.
  24. อะอื้อ
    หมายถึง (โบ) ว. อื้ออึง, อื้อฉาว.
  25. อะเคื้อ
    หมายถึง (กลอน) ว. งาม เช่น ถนัดดั่งเรียมเห็นองค์ อะเคื้อ. (ลอ).
  26. อะเซทิลีน
    หมายถึง น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H2 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี เป็นพิษ จุดไฟติด ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นนำไปจุดกับแก๊สออกซิเจนได้เปลวไฟออกซิอะเซทิลีนซึ่งร้อนจัดจนใช้เชื่อมและตัดโลหะได้ ใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์สารอื่นได้มากมาย. (อ. acetylene).
  27. อะเมริเซียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๙๕ สัญลักษณ์ Am เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. americium).
  28. อะเอื้อย
    หมายถึง ว. เจื้อยแจ้ว, เอื่อย ๆ, (ใช้แก่เสียง).
  29. อะแจ
    หมายถึง [โบ] น. ชื่อเมืองในเกาะสุมาตรา, อัดแจ หรือ อะจีน ก็เรียก; เรียกสิ่งที่มาจากเมืองนี้ เช่น ม้าอะแจ นากอะแจ. [ปัจจุบันคือเมืองอะเจะห์ (Ajeh) ในประเทศอินโดนีเซีย].
  30. อะไร
    หมายถึง ส. คำใช้แทนนาม แสดงคำถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คำใช้แทนนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
  31. อะไหล่
    หมายถึง ว. ที่เตรียมสำรองไว้ใช้เมื่อต้องการ เช่น เครื่องอะไหล่รถยนต์ ยางอะไหล่. (ฮ.).
  32. อัก
    หมายถึง น. เครื่องสำหรับคัดด้ายหรือไหม มีรูปคล้ายระวิง สำหรับพันด้ายหรือไหมเป็นตอน ๆ ตามลำดับเส้นใหญ่และเล็ก.
  33. อักกะ
    หมายถึง น. พระอาทิตย์; ต้นรัก. (ป.; ส. อรฺก).
  34. อักขร,อักขร-,อักขระ
    หมายถึง [อักขะหฺระ-] น. ตัวหนังสือ. (ป.; ส. อกฺษร).
  35. อักขรวิธี
    หมายถึง น. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).
  36. อักขรวิบัติ
    หมายถึง น. การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.
  37. อักขรสมัย
    หมายถึง [อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ป.).
  38. อักขรานุกรม
    หมายถึง น. หนังสือสำหรับค้นชื่อเรียงลำดับตามตัวอักษร.
  39. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
    หมายถึง น. หนังสือสำหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์เรียงลำดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
  40. อักขะ
    หมายถึง [-ขะ] น. ลูกเต๋า, ลูกบาศก์; การพนันเล่นลูกเต๋าหรือสกา. (ป.; ส. อกฺษ).
  41. อักขะ
    หมายถึง [-ขะ] น. ดวงตา; ความรู้สึก. (ป.; ส. อกฺษ).
  42. อักขะ
    หมายถึง [-ขะ] น. เพลา, เพลาเกวียนหรือรถ; เกวียน; กระดูกไหปลาร้า. (ป.; ส. อกฺษ).
  43. อักษร,อักษร-
    หมายถึง [อักสอน, อักสอระ-, อักสอน-] น. ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).
  44. อักษรกลาง
    หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
  45. อักษรต่ำ
    หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
  46. อักษรบฏ
    หมายถึง [อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทนก็มี. (ส.).
  47. อักษรลักษณ์
    หมายถึง [อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอนมักใช้ว่า ลักษณ์.
  48. อักษรศาสตร์
    หมายถึง [อักสอระสาด, อักสอนสาน] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.
  49. อักษรสมัย
    หมายถึง [อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ส.).
  50. อักษรสาส์น
    หมายถึง [อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.
  51. อักษรสูง
    หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
  52. อักษรเลข
    หมายถึง [อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตำแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทำหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.
  53. อักษะ
    หมายถึง น. เพลา, แกน. (ส.); เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายอักษะ.
  54. อักอ่วน
    หมายถึง (โบ) ว. ป่วน, พิพักพิพ่วน, ลังเลใจ, ตกลงใจไม่ได้, กระอักกระอ่วน ก็ว่า.
  55. อักเษาหิณี
    หมายถึง น. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี ก็ว่า. (ส.; ป. อกฺโขภิณี).
  56. อักเสบ
    หมายถึง ว. มีพิษกำเริบเนื่องจากแผลเป็นต้น; มีปฏิกิริยาตอบสนองป้องกันเฉพาะที่ชนิดเฉียบพลัน มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้ เช่น ข้ออักเสบเฉียบพลัน, ชนิดเรื้อรัง การดำเนินโรคเป็นไปช้า ๆ ไม่รุนแรง และมักมีเนื้อพังผืดเกิดขึ้น เช่น ข้ออักเสบเรื้อรัง. ก. เกิดปฏิกิริยาตอบสนองป้องกันเฉพาะที่.
  57. อักโกธะ
    หมายถึง น. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).
  58. อักโข
    หมายถึง ว. มาก, หลาย. (ตัดมาจาก อักโขภิณี).
  59. อักโขภิณี,อักโขเภณี
    หมายถึง น. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; ใช้ว่า อักเษาหิณี ก็มี. (ป.; ส. อกฺเษาหิณี).
  60. อัคคะ
    หมายถึง [อักคะ] ว. เลิศ, ยอด. (ป.; ส. อคฺร).
  61. อัคคิ,อัคคี
    หมายถึง [อักคิ, อักคี] น. ไฟ. (ป. อคฺคิ; ส. อคฺนิ).
  62. อัคคีภัย
    หมายถึง น. ภัยที่เกิดจากไฟ, ไฟไหม้.
  63. อัคนิ,อัคนี
    หมายถึง [อักนิ, อักคะนิ, อักนี, อักคะนี] น. ไฟ; ชื่อเทพแห่งไฟ. (ส. อคฺนิ; ป. อคฺคิ).
  64. อัคนิคณะ
    หมายถึง น. เปลวไฟ. (ส.).
  65. อัคนิพ่าห์,อัคนิวาหะ
    หมายถึง น. ควัน. (ส.).
  66. อัคนิรุทร
    หมายถึง [-รุด] น. ไฟร้ายกาจ, เพลิงกาฬ.
  67. อัคนิโหตร
    หมายถึง [-โหด] น. การบูชาพระอัคนี (โดยมากใช้นํ้านมกับนํ้ามัน). (ส.).
  68. อัคร,อัคร-
    หมายถึง [อักคฺระ-] ว. เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).
  69. อัครชายา
    หมายถึง น. ตำแหน่งมเหสีรอง.
  70. อัครมหาเสนาบดี
    หมายถึง น. หัวหน้าเสนาบดี.
  71. อัครมเหสี
    หมายถึง น. พระมเหสีเอกของพระเจ้าแผ่นดิน.
  72. อัครราชทูต
    หมายถึง (โบ) น. ผู้แทนรัฐบาลไปราชการชั่วคราวหรือประจำอยู่ในสำนักแห่งรัฐบาลอื่น.
  73. อัครสมณทูต
    หมายถึง [-สะมะนะทูด] น. ทูตที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่งในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งเอกอัครสมณทูต มีฐานะระดับเดียวกับรัฐทูต. (อ. internuncio).
  74. อัง
    หมายถึง ก. นำไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออังหน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
  75. อังกนะ
    หมายถึง [-กะนะ] น. การทำเครื่องหมาย, การประทับตรา. (ส.).
  76. อังกฤษ
    หมายถึง [-กฺริด] น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชนผิวขาวพวกหนึ่งที่อยู่ในเกาะทางทิศตะวันตกของทวีปยุโรปซึ่งเรียกว่า เกรตบริเตน; เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคำหรือสีอื่น ๆ ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้นว่า ทองอังกฤษ.
  77. อังกวด
    หมายถึง น. จ้องหน่อง. (ช.).
  78. อังกะลุง
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องดนตรีอย่างหนึ่งของชวา ใช้เขย่าให้เกิดเสียง.
  79. อังกา
    หมายถึง น. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสำหรับบอกจำนวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก.
  80. อังกาบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Barleria cristata L. ในวงศ์ Acanthaceae ลำต้นไม่มีหนาม ดอกสีม่วง.
  81. อังกาบฝรั่ง
    หมายถึง ดู ต้อยติ่ง.
  82. อังกาบหนู
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Barleria prionitis L. ในวงศ์ Acanthaceae ลำต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง.
  83. อังกุระ,อังกูร
    หมายถึง [-กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วนท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).
  84. อังกุศ
    หมายถึง [-กุด] น. ขอเหล็กอย่างขอสับช้าง. (ส.; ป. องฺกุส).
  85. อังก์
    หมายถึง น. องก์, ตอนหนึ่งของเรื่องละคร. (ป.).
  86. อังคณะ
    หมายถึง น. ลาน, ที่ว่าง, สนาม. (ป., ส.).
  87. อังคณา
    หมายถึง น. นาง, ผู้หญิง. (ป. องฺคนา; ส. องฺคน, องฺคนา).
  88. อังคาร
    หมายถึง [-คาน] น. ชื่อวันที่ ๓ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖,๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้นผิวขรุขระและมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว. (ป., ส.).
  89. อังคาส
    หมายถึง [-คาด] ก. ถวายอาหารพระ, เลี้ยงพระ. (ข.).
  90. อังคีรส
    หมายถึง [-คีรด] ว. มีรัศมีซ่านออกจากพระกาย, เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง. (ป., ส.).
  91. อังคุฐ
    หมายถึง [-คุด] น. นิ้วหัวแม่มือ. (ป. องฺคุฏฺ; ส. องฺคุษฺ).
  92. อังคุตรนิกาย
    หมายถึง [-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  93. อังฆาต
    หมายถึง [-คาด] ก. กระทบ, เบียดเบียน.
  94. อังศุ
    หมายถึง น. สาย, ทาง, เส้น, แถว; แสง, รัศมี. (ส. อํศุ; ป. อํสุ).
  95. อังศุก
    หมายถึง [-สุก] น. ผ้าอย่างบาง. (ส.).
  96. อังศุธร,อังศุมาลี
    หมายถึง น. พระอาทิตย์. (ส.).
  97. อังส,อังส-,อังสะ
    หมายถึง [อังสะ-] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
  98. อังสกุฏ
    หมายถึง [-กุด] น. จะงอยบ่า.
  99. อังสตรอม
    หมายถึง [อังสะตฺรอม] น. หน่วยที่ใช้วัดระยะสั้นมาก ๆ ๑ อังสตรอม มีค่าเท่ากับ ๑๐-๑๐ เมตร ใช้สัญลักษณ์ว่า Å. (อ. angstrom).
  100. อังสนา
    หมายถึง น. ดอกประดู่. (ช.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 8)"