พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 7)

  1. อสัญกรรม
    หมายถึง น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
  2. อสัญญี
    หมายถึง ว. ไม่มีสัญญา, หมดความรู้สึก, สลบ. (ป.).
  3. อสัญญีสัตว์
    หมายถึง น. พรหมพวกหนึ่งมีรูปแต่ไม่มีสัญญา ดังมีกล่าวไว้ในไตรภูมิกถา. (ป. อสญฺสตฺต).
  4. อสัญแดหวา
    หมายถึง [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี. (ช.).
  5. อสัตถพฤกษ์,อัสสัตถพฤกษ์
    หมายถึง [อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.
  6. อสัตย์
    หมายถึง ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอสัตย์, อาสัตย์ ก็ว่า. (ส.; ป. อสจฺจ).
  7. อสัมภิน,อสัมภิน-
    หมายถึง [อะสำพินนะ-] ว. ไม่แตกต่าง, ไม่เจือปน. (ป. อสมฺภินฺน).
  8. อสัมภินพงศ์,อสัมภินวงศ์
    หมายถึง น. เชื้อสายที่ไม่เจือปน.
  9. อสาธร
    หมายถึง [อะสาทอน] ว. อสาธุ.
  10. อสาธุ
    หมายถึง ว. ไม่ดี, ไม่งาม, เลว, ชั่วช้า; น่าละอาย; แผลงใช้ว่า อสาธร ก็ได้. (ป., ส.).
  11. อสิ
    หมายถึง น. ดาบ, มีด, กระบี่. (ป., ส.).
  12. อสิจรรยาการ
    หมายถึง น. การฝึกหัดเพลงดาบ, การฝึกหัดเพลงศัสตรา. (ส. อสิจรฺยาการ).
  13. อสิตะ
    หมายถึง [อะสิตะ] ว. มีสีดำ, มีสีคลํ้า, มีสีแก่. (ป., ส.).
  14. อสิธารา
    หมายถึง น. คมดาบ, คมศัสตรา. (ป., ส.).
  15. อสิเลสะ,อาศเลษา
    หมายถึง [อะสิเลสะ, อาสะเลสา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๙ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนคู้หรือพ้อม, ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง ก็เรียก.
  16. อสีตยานุพยัญชนะ
    หมายถึง [อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็นพระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ด้วยลักษณะสำคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอยพระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).
  17. อสีติ
    หมายถึง [อะ-] ว. แปดสิบ. (ป.).
  18. อสีติมหาสาวก
    หมายถึง น. สาวกใหญ่ ๘๐ องค์ของพระพุทธเจ้า. (ป.).
  19. อสุ
    หมายถึง [อะ-] น. ลมหายใจ, ชีวิต. (ป., ส.).
  20. อสุจิ
    หมายถึง [อะ-] ว. ไม่สะอาด, ไม่บริสุทธิ์; เรียกนํ้ากามว่า นํ้าอสุจิ. (ป.).
  21. อสุนีบาต
    หมายถึง [อะ-] น. ฟ้าผ่า, อสนีบาต ก็ว่า.
  22. อสุภ,อสุภ-
    หมายถึง [อะสุบ, อะสุบพะ-] ว. ไม่งาม, ไม่สวย, ไม่ดี. น. เรียกซากศพว่า อสุภ และเลือนไปเป็น อสภ และ อาสภ ก็มี. (ป.).
  23. อสุภกรรมฐาน
    หมายถึง [-กำมะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺาน).
  24. อสุภสัญญา
    หมายถึง น. การกำหนดรู้ว่าเป็นของไม่สวยงาม.
  25. อสุร,อสุร-
    หมายถึง [อะสุระ-] น. อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).
  26. อสุรกาย
    หมายถึง [อะสุระ-] น. สัตว์เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง เชื่อกันว่าชอบเที่ยวหลอกหลอนคน, คู่กับ เปรต. (ป.).
  27. อสุรา
    หมายถึง (กลอน) น. อสูร, ยักษ์. (ป.).
  28. อสุรี
    หมายถึง (กลอน) น. อสูร, ยักษ์. (ป.).
  29. อสุเรศ
    หมายถึง (กลอน) น. อสูร, ยักษ์. (ป.).
  30. อสูร
    หมายถึง [อะสูน] น. ยักษ์, ในบทกลอนใช้ว่า อสุรา อสุรี หรือ อสุเรศ ก็มี. (ป. อสุร).
  31. อห
    หมายถึง [อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.
  32. อหังการ
    หมายถึง [อะ-] น. การยึดว่าเป็นตัวเรา; ความเย่อหยิ่งจองหอง, ความทะนงตัว, ความก้าวร้าวด้วยการถือว่าตนเองสำคัญ. ก. หยิ่ง, จองหอง, อวดดี. (ป., ส.).
  33. อหิ
    หมายถึง [อะ-] น. งู. (ป., ส.).
  34. อหิงสา,อหึงสา
    หมายถึง [อะ-] น. ความไม่เบียดเบียน, การเว้นจากการทำร้าย. (ป., ส.).
  35. อหิวาต์,อหิวาตกโรค
    หมายถึง [อะหิวาตะกะ-] น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง มีอาการลงราก. (ป.).
  36. ออ
    หมายถึง ก. รวมกันเป็นกลุ่ม, คั่งกันอยู่, เช่น คนอออยู่หน้าประตู.
  37. ออ
    หมายถึง (โบ) น. คำนำหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  38. ออก
    หมายถึง น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Haliaeetus leucogaster ในวงศ์ Accipitridae หัวและด้านล่างของลำตัวสีขาว ปีกสีเทา กินปลาและงูทะเล.
  39. ออก
    หมายถึง (โบ) น. คำนำหน้าบรรดาศักดิ์ เช่น ออกพระ ออกหลวง ออกขุน; (ถิ่น) เรียกพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดว่า พ่อออก แม่ออก; เรียกเมืองที่สวามิภักดิ์ว่า เมืองออก.
  40. ออก
    หมายถึง ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทำให้ปรากฏ เช่น ออกภาพทางโทรทัศน์; ทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วย หมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สำเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คำประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดำออกอย่างนี้.
  41. ออกกำลัง
    หมายถึง ก. ใช้กำลัง; บริหารร่างกายเพื่อให้แข็งแรง.
  42. ออกขุนนาง
    หมายถึง ก. เสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน (ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์).
  43. ออกงาน
    หมายถึง ก. ไปปรากฏตัวในงานสังคม; (โบ) แสดงแก่ประชาชนหรือสังคมครั้งแรก (ใช้แก่วงมหรสพ โขน ละคร สตรีสาว).
  44. ออกงิ้ว
    หมายถึง ก. แสดงอาการโกรธโดยทำท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตังอย่างเล่นงิ้ว.
  45. ออกจะ
    หมายถึง ว. ค่อนข้างจะ เช่น เธอออกจะอ้วน ของออกจะแพง.
  46. ออกชื่อ,ออกนาม
    หมายถึง ก. บอกชื่อ, ขานชื่อ, แสดงชื่อ.
  47. ออกซิเจน
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วยการหายใจของคนไข้. (อ. oxygen).
  48. ออกซิเดชัน
    หมายถึง น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทำให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป. (อ. oxidation).
  49. ออกซุ้ม
    หมายถึง ก. บรรเลงทำนองเพลงสำเนียงลาวต่อท้ายเพลงเดี่ยวลาวแพนโดยเฉพาะ.
  50. ออกญา
    หมายถึง น. บรรดาศักดิ์ชั้นสูงที่พระราชทานในสมัยอยุธยา สูงกว่าออกพระ เข้าใจว่ามาจากเขมร.
  51. ออกดอก
    หมายถึง ก. เกิดเป็นเม็ดตามผิวหนังเนื่องจากกามโรคเรื้อรัง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าข้อ เป็น เข้าข้อออกดอก; (ปาก) เอาเงินให้กู้เพื่อเก็บดอกเบี้ย.
  52. ออกดอกออกผล
    หมายถึง ก. ทำให้เกิดผลประโยชน์หรือกำไรเพิ่มพูนขึ้น.
  53. ออกตัว
    หมายถึง ก. พูดกันตัวหรือแก้ตัวไว้ก่อน; ปลดเปลื้องสิ่งที่ตกหนักแก่ตัว; เริ่มเคลื่อนที่ครั้งแรก (ใช้แก่การแข่งขัน); เอาไปทำผลประโยชน์ได้ เช่น ซื้อทองดีกว่าเพราะออกตัวได้ง่าย.
  54. ออกทุกข์
    หมายถึง ก. เลิกไว้ทุกข์.
  55. ออกทุน
    หมายถึง ก. ลงทุน, จ่ายเงินทำทุน.
  56. ออกท่า,ออกท่าออกทาง
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาอาการเป็นท่าทางต่าง ๆ.
  57. ออกนอกหน้า
    หมายถึง ว. แสดงความรู้สึกให้ปรากฏทางสีหน้า, แสดงอาการให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง.
  58. ออกบวช
    หมายถึง ก. ไปถือเพศเป็นพระหรือนักพรตอื่น ๆ; ทางศาสนาอิสลาม หมายถึง เลิกถือศีลอด.
  59. ออกปาก
    หมายถึง ก. พูดขอความช่วยเหลือ เช่น ออกปากขอแรงชาวบ้านมาช่วยงาน; พูดเชิงตำหนิ เช่น เขาใช้เงินเปลืองจนแม่ออกปาก.
  60. ออกผื่น
    หมายถึง ว. มีผื่นขึ้นตามตัว.
  61. ออกฝี,ออกฝีดาษ
    หมายถึง ก. เป็นฝีดาษ, (โบ) ออกไข้หัว.
  62. ออกพรรษา
    หมายถึง น. เรียกวันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ คํ่าเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
  63. ออกภาษา
    หมายถึง น. เรียกเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ ในเพลงเดียวกัน หรือเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทแต่ไม่ครบ ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกภาษา.
  64. ออกมหาสมาคม
    หมายถึง ก. ออกที่ประชุมใหญ่ในพระราชพิธีสำคัญ, ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ ว่า เสด็จออกมหาสมาคม.
  65. ออกยักษ์ออกโขน
    หมายถึง ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  66. ออกรส
    หมายถึง ว. มีรสมีชาติ, โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่ชอบอกชอบใจ, สนุกสนาน.
  67. ออกรับ
    หมายถึง ก. รับเอาเสียเองเมื่อเขาว่าผู้อื่น.
  68. ออกร้าน
    หมายถึง ก. เปิดร้านขายของหรือร้านอาหารเป็นการชั่วคราวในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง เช่น ออกร้านในงานกาชาด ออกร้านอาหารในงานวันเกิด.
  69. ออกฤทธิ์
    หมายถึง ก. สำแดงคุณหรือโทษให้ปรากฏ เช่น ยาออกฤทธิ์ ยาพิษออกฤทธิ์; (ปาก) อาละวาดด้วยความโกรธเพราะถูกขัดใจเป็นต้น, แผลงฤทธิ์ ก็ว่า.
  70. ออกลาย
    หมายถึง (ปาก) ก. เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทำดีมาแล้ว.
  71. ออกลิงออกค่าง
    หมายถึง ก. ทำกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุขอย่างลิงอย่างค่าง.
  72. ออกลูก
    หมายถึง ก. คลอดลูก.
  73. ออกลูกหมด
    หมายถึง ก. เปลี่ยนการบรรเลงเพลงธรรมดาไปเป็นเพลงลูกหมด. (ดู ลูกหมด).
  74. ออกวัง
    หมายถึง ก. แยกจากวังหลวงไปอยู่วังส่วนพระองค์ (ใช้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ).
  75. ออกวิทยุ
    หมายถึง ก. กระจายเสียงทางวิทยุ.
  76. ออกสิบสองภาษา
    หมายถึง น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดยนำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้าเป็นชุด มี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
  77. ออกหน้าออกตา
    หมายถึง ก. แสดงให้ปรากฏอย่างเปิดเผย.
  78. ออกหัด
    หมายถึง ก. เป็นโรคหัด.
  79. ออกหาก
    หมายถึง ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก.
  80. ออกอากาศ
    หมายถึง ก. กระจายเสียงทางวิทยุ, กระจายเสียงและแพร่ภาพทางโทรทัศน์.
  81. ออกเรือน
    หมายถึง ก. แยกจากเรือนพ่อแม่ไปอยู่เรือนใหม่เนื่องในการมีผัว.
  82. ออกเสียง
    หมายถึง ก. เปล่งเสียง; ลงคะแนนเสียง; ลงคะแนนเลือกตั้ง; ออกความเห็น.
  83. ออกแขก
    หมายถึง ก. ต้อนรับแขก; แสดงต่อหน้าแขก, แสดงตัวในสังคม; อาการที่ลิเกตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. น. การแสดงลิเกตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง.
  84. ออกแรง
    หมายถึง ก. ใช้กำลัง, ใช้แรงงาน, ใช้ความพยายาม, โดยปริยายหมายความว่า วิ่งเต้นขอความช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์.
  85. ออกโขน
    หมายถึง ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ออกโขน.
  86. ออกโทรทัศน์
    หมายถึง ก. ปรากฏตัวหรือแพร่ภาพทางโทรทัศน์.
  87. ออกโรง
    หมายถึง ก. ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อได้ฝึกหัดมาแล้ว; แสดงด้วยตนเองเป็นครั้งคราว ในคำว่า ออกโรงเอง.
  88. ออกไข้หัว
    หมายถึง (โบ) ก. อาการที่ไข้หัวผุดขึ้นมา, เป็นไข้หัว.
  89. ออกไซด์
    หมายถึง น. สารประกอบที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุออกซิเจนกับธาตุอื่น. (อ. oxide).
  90. ออกไท้
    หมายถึง (โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).
  91. ออกไฟ
    หมายถึง ก. เลิกอยู่ไฟ.
  92. ออด
    หมายถึง ก. พรํ่าอ้อนวอน, พรํ่ารำพัน. (ปาก) น. เครื่องบอกสัญญาณที่มีเสียงดังเช่นนั้น.
  93. ออด,ออด,ออด ๆ
    หมายถึง ว. ไม่หยุดหย่อน (มักใช้แก่กริยาบ่น); เสียงดังเช่นเสียงของแข็ง ๆ เสียดสีกัน.
  94. ออดอ้อน
    หมายถึง ก. รบเร้า, เซ้าซี้จะเอาให้ได้, อ้อนออด ก็ว่า.
  95. ออดแอด
    หมายถึง ดู ข้างลาย.
  96. ออดแอด,ออด ๆ แอด ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ; อาการที่ป่วยอยู่บ่อย ๆ ในความว่า เจ็บออดแอด หรือ เจ็บออด ๆ แอด ๆ.
  97. ออนซอน,อ่อนซอน
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ว. งาม; เพราะพริ้ง, ซาบซึ้งตรึงใจ. (เพี้ยนมาจาก อรชร).
  98. ออนซ์
    หมายถึง น. หน่วยวัดนํ้าหนัก ๑ ออนซ์ มีค่าเท่ากับ ปอนด์ หรือ ๒๘.๓๔๑๕ กรัม. (อ. ounce).
  99. ออฟฟิศ
    หมายถึง (เลิก) น. สำนักงาน, ที่ทำการ. (อ. office).
  100. ออม
    หมายถึง ก. เก็บหอมรอมริบ เช่น ออมทรัพย์ ออมสิน; ถนอม, สงวน, เช่น ออมแรง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 7)"