พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 4)

  1. อปมงคล,อัปมงคล
    หมายถึง [อะปะ-, อับปะ-] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย. (ป., ส.).
  2. อปมาน
    หมายถึง [อะปะ-] น. การดูหมิ่น, การดูถูก. (ส.).
  3. อปยศ,อัปยศ
    หมายถึง [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
  4. อปร,อปร-
    หมายถึง [อะปะระ-] ว. อื่นอีก. (ป., ส.).
  5. อปรภาค
    หมายถึง [อะปะระพาก] น. ส่วนอื่นอีก, เวลาอื่นอีก, ภายหลัง. (ป.).
  6. อประมาณ,อัประมาณ
    หมายถึง [อะปฺระ-, อับปฺระ-] ว. กำหนดจำนวนไม่ได้, จำกัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  7. อประมาท,อัประมาท
    หมายถึง [อะปฺระหฺมาด, อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  8. อประไมย,อัประไมย
    หมายถึง [อะปฺระไม, อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จำกัด, มากมาย. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  9. อปรัณณชาติ
    หมายถึง [อะปะรันนะชาด] น. “อาหารอื่น” คือ ถั่ว งา และผักต่าง ๆ (นอกจากข้าว). (ป. อปรณฺณ).
  10. อปรา
    หมายถึง [อะปะรา, อับปะรา] (กลอน) ก. พ่ายแพ้ เช่น ต่อสู้เคี่ยวขับไม่อปรา หาไม่พ่อตาจะต้องริบ. (สังข์ทอง).
  11. อปราชัย,อัปราชัย
    หมายถึง [อะปะ-, อับปะ-] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
  12. อปราชิต
    หมายถึง [อะปะ-] ว. ไม่พ่ายแพ้. (ป., ส.).
  13. อปราธ,อปราธ-
    หมายถึง [อะปะราทะ-] น. ความผิด, โทษ. (ป., ส.).
  14. อปริมาณ
    หมายถึง [อะปะ-] ว. กำหนดจำนวนไม่ได้. (ป., ส.).
  15. อปลักษณ์,อัปลักษณ์
    หมายถึง [อะปะ-, อับปะ-] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  16. อปวาท
    หมายถึง [อะปะ-] น. คำติเตียน; การว่ากล่าว. (ป., ส.).
  17. อปหาร
    หมายถึง [อะปะ-] น. การปล้น, การขโมย; การเอาไป. (ป., ส.).
  18. อปาจี
    หมายถึง [อะ-] น. ทิศใต้. (ป.; ส. อปาจีน).
  19. อปาจีน
    หมายถึง [อะ-] น. ทิศใต้. (ส.; ป. อปาจี).
  20. อปาน,อปาน-
    หมายถึง [อะปานะ-] น. ลมหายใจออก. (ป., ส.).
  21. อปโลกน์
    หมายถึง [อะปะโหฺลก] ว. ที่บอกเล่า เช่น คำอปโลกน์. (ป. อปโลกน).
  22. อปโลกน์,อปโลกน์,อุปโลกน์
    หมายถึง [อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
  23. อพพะ
    หมายถึง [อะพะพะ] น. ชื่อจำนวนนับอย่างสูง เท่ากับโกฏิยกกำลัง ๑๑. (ป.).
  24. อพยพ
    หมายถึง [อบพะยบ] ก. ย้ายครอบครัวจากถิ่นหนึ่งไปอยู่อีกถิ่นหนึ่ง, ยกพวกย้ายจากถิ่นเดิมไป.
  25. อพยพ
    หมายถึง [อบพะยบ] (กลอน) น. อวัยวะ, ส่วนของร่างกาย. (ป., ส. อวยว).
  26. อภว,อภว-
    หมายถึง [อะภะวะ-] น. ความไม่มี, ความเสื่อม, ความเสียหาย. (ป., ส.).
  27. อภัพ,อภัพ-
    หมายถึง [อะพับ, อะพับพะ-] ว. ไม่สมควร, เป็นไปไม่ได้. (ป. อภพฺพ; ส. อภวฺย).
  28. อภัพบุคคล
    หมายถึง [อะพับพะบุกคน] น. คนไม่สมควร. (ป. อภพฺพปุคฺคล).
  29. อภัพผล
    หมายถึง [อะพับพะผน] น. ผลที่ไม่สมควร, ผลทราม.
  30. อภัย,อภัย-
    หมายถึง [อะไพ, อะไพยะ-] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษให้ ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  31. อภัยทาน
    หมายถึง [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน. ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).
  32. อภัยโทษ
    หมายถึง [อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาหรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
  33. อภิ
    หมายถึง คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  34. อภิฆาต
    หมายถึง ก. เข่นฆ่า, ทำลายล้างให้หมดสิ้น. น. การเข่นฆ่า, การทำลายล้างให้หมดสิ้น. (ป., ส.).
  35. อภิจฉา
    หมายถึง [อะพิดฉา] น. ความทะเยอทะยาน, ความกระวนกระวาย. (ป.).
  36. อภิชฌา
    หมายถึง [อะพิดชา] น. ความโลภ, ความอยากได้. (ป.).
  37. อภิชน,อภิชน-
    หมายถึง [อะพิชน, อะพิชะนะ-] น. ชนผู้สืบมาจากตระกูลสูง. (ป., ส.).
  38. อภิชนาธิปไตย
    หมายถึง [-ทิปะไต, -ทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีอภิชนเป็นใหญ่. (ป. อภิ + ชน + อธิปเตยฺย). (อ. aristocracy).
  39. อภิชัย
    หมายถึง น. ความชนะ; การปราบปราม. (ป., ส.).
  40. อภิชาต,อภิชาต-
    หมายถึง [อะพิชาด, อะพิชาดตะ-] ว. เกิดดี, มีตระกูล. (ป., ส.).
  41. อภิชาตบุตร
    หมายถึง น. บุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา, อติชาตบุตร ก็ว่า. (ส. อภิชาตปุตฺร; ป. อภิชาตปุตฺต).
  42. อภิชิต
    หมายถึง ว. มีชัย, ชนะแล้ว. (ป., ส.).
  43. อภิญญา
    หมายถึง [อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).
  44. อภิญญาณ
    หมายถึง [อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).
  45. อภิณห,อภิณห-
    หมายถึง [อะพินหะ-] ว. เสมอ, ทุกวัน. (ป.).
  46. อภิธรรม
    หมายถึง [อะพิทำ] น. ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ ๑. พระวินัยปิฎก ๒. พระสุตตันตปิฎก ๓. พระอภิธรรมปิฎก, ชื่อธรรมะชั้นสูง มี ๗ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. สังคณี ๒. วิภังค์ ๓. ธาตุกถา ๔. ปุคคลบัญญัติ ๕. กถาวัตถุ ๖. ยมก ๗. ปัฏฐาน นิยมใช้สวดในงานศพ. (ส. อภิธรฺม; ป. อภิธมฺม).
  47. อภิธาน
    หมายถึง น. หนังสืออธิบายศัพท์เฉพาะเรื่อง เช่น อภิธานประวัติศาสตร์ไทย. (ป., ส.).
  48. อภินันท-
    หมายถึง น. ความยินดียิ่ง, ความดีใจยิ่ง. (ป., ส.).
  49. อภินันท
    หมายถึง น. ความยินดียิ่ง, ความดีใจยิ่ง. (ป., ส.).
  50. อภินันทนาการ
    หมายถึง น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ).
  51. อภินันท์
    หมายถึง น. ความยินดียิ่ง, ความดีใจยิ่ง. (ป., ส.).
  52. อภินัย
    หมายถึง น. การแสดงละคร, การแสดงท่าทาง. (ป., ส.).
  53. อภินิหาร
    หมายถึง น. อำนาจแห่งบารมี, อำนาจบุญที่สร้างสมไว้, อำนาจเหนือปรกติธรรมดา. (ป. อภินีหาร; ส. อภิ + นิสฺ + หาร).
  54. อภิบาล
    หมายถึง ก. บำรุงรักษา, ปกครอง. (ป., ส. อภิปาล).
  55. อภิปรัชญา
    หมายถึง [อะพิปฺรัดยา, อะพิปฺรัดชะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยความแท้จริง ซึ่งเป็นเนื้อหาสำคัญของปรัชญา. (อ. metaphysics).
  56. อภิปราย
    หมายถึง [อะพิปฺราย] ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย).
  57. อภิมหาอำนาจ
    หมายถึง ว. เรียกประเทศที่มีอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและทางทหารสูงกว่าประเทศมหาอำนาจว่า ประเทศอภิมหาอำนาจ.
  58. อภิมานะ
    หมายถึง น. ความเย่อหยิ่ง, ความถือตัว. (ป., ส.).
  59. อภิมุข
    หมายถึง น. หัวหน้า เช่น เสนาภิมุข = หัวหน้าทหาร. ว. หันหน้าตรงไป, ตรงหน้า. (ป., ส.).
  60. อภิรดี,อภิรติ
    หมายถึง [อะพิระ-] น. ความรื่นรมย์ยินดียิ่ง (มักใช้ในเรื่องรักใคร่). (ป., ส.).
  61. อภิรมย์
    หมายถึง ก. รื่นเริงยิ่ง, ดีใจยิ่ง, ยินดียิ่ง; พักผ่อน; ใช้ว่า ภิรมย์ ก็มี. (ส.; ป. อภิรมฺม).
  62. อภิรักษ์
    หมายถึง ก. รักษา, ระวัง, ป้องกัน. (ส.; ป. อภิรกฺข).
  63. อภิรัฐมนตรี
    หมายถึง (เลิก) น. ที่ปรึกษาชั้นสูงของพระมหากษัตริย์.
  64. อภิราม
    หมายถึง ว. น่ายินดียิ่ง, เป็นที่พอใจยิ่ง, งดงามยิ่ง. (ป., ส.).
  65. อภิรุต
    หมายถึง น. เสียง, เสียงร้อง. (ป., ส.).
  66. อภิรุม
    หมายถึง น. ฉัตรเครื่องสูงอย่างหนึ่ง ใช้ในกระบวนแห่ของหลวง หรือปักเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ, โบราณเขียนเป็น อภิรม ก็มี.
  67. อภิรูป
    หมายถึง ว. รูปงาม. (ป., ส.).
  68. อภิลักขิต,อภิลักขิต-
    หมายถึง [อะพิลักขิด, อะพิลักขิดตะ-] ว. หมายไว้, กำหนดไว้. (ป.).
  69. อภิลักขิตกาล
    หมายถึง น. เวลาที่กำหนดไว้, วันกำหนด, (มักนิยมใช้แก่วันทำบุญคล้ายวันเกิดหรือวันทำพิธีประจำปี).
  70. อภิลักขิตสมัย
    หมายถึง น. เวลาที่กำหนดไว้, วันกำหนด, (มักนิยมใช้แก่วันทำบุญคล้ายวันเกิดหรือวันทำพิธีประจำปี).
  71. อภิวันท์
    หมายถึง ก. กราบไหว้. (ส., ป.).
  72. อภิวาท
    หมายถึง น. การกราบไหว้. (ส., ป.).
  73. อภิวาทน์
    หมายถึง น. การกราบไหว้. (ส., ป.).
  74. อภิสมัย
    หมายถึง [อะพิสะไหฺม] น. ความตรัสรู้, ความบรรลุ, การถึง, ใช้ในคำว่า ธรรมาภิสมัย. (ป., ส.).
  75. อภิสมาจาร
    หมายถึง [อะพิสะมาจาน] น. มารยาทอันดี, ความประพฤติอันดี. (ป., ส.).
  76. อภิสมโพธิ,อภิสัมโพธิ
    หมายถึง [อะพิสมโพด, -สำโพทิ] น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
  77. อภิสัมโพธิญาณ
    หมายถึง [อะพิสำโพทิยาน] น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.
  78. อภิสิต
    หมายถึง ก. รดแล้ว, ได้รับการอภิเษกแล้ว. (ป. อภิสิตฺต; ส. อภิสิกฺต).
  79. อภิสิทธิ์
    หมายถึง น. สิทธินอกเหนือขอบเขต, สิทธิเหนือกฎหรือระเบียบที่วางไว้, สิทธิที่ได้รับนอกเหนือไปจากกฎหรือระเบียบที่วางไว้. (ป., ส.).
  80. อภิเนษกรมณ์
    หมายถึง [อะพิเนดสะกฺรม] น. การออกบวชเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่. (ส. อภิ + นิษฺกฺรมณ; ป. อภินิกฺขมน).
  81. อภิเลปน์
    หมายถึง น. การลูบไล้; เครื่องลูบไล้, ของหอม. (ป.).
  82. อภิเษก
    หมายถึง ก. แต่งตั้งโดยการทำพิธีรดนํ้า เช่นพิธีขึ้นเสวยราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.; ป. อภิเสก).
  83. อภิเษกสมรส
    หมายถึง (ราชา) ก. แต่งงาน.
  84. อภิไธย
    หมายถึง น. ชื่อ. (ป. อภิเธยฺย; ส. อภิเธย).
  85. อภูตะ
    หมายถึง [อะพูตะ] ว. ไม่มี, ไม่เกิดขึ้น, ไม่ปรากฏ. (ป., ส.).
  86. อม
    หมายถึง ก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.
  87. อมความ
    หมายถึง ก. เก็บใจความสำคัญ, ใช้ถ้อยคำน้อยแต่เก็บความสำคัญไว้ได้มาก; (โบ) จำไว้ในใจ, จำใจความได้.
  88. อมต,อมต-,อมตะ
    หมายถึง [อะมะตะ-, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
  89. อมตบท
    หมายถึง น. ทางพระนิพพาน. (ป. อมตปท; ส. อมฺฤตปท).
  90. อมทุกข์
    หมายถึง ว. มีความทุกข์สุมอยู่ เช่น หน้าตาอมทุกข์.
  91. อมนุษย์
    หมายถึง [อะมะ-] น. ผู้ที่มิใช่มนุษย์ (หมายรวมทั้ง เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ภูตผีปิศาจ เป็นต้น) แต่โดยมากหมายถึง ภูตผีปิศาจ. (ส.; ป. อมนุสฺส).
  92. อมปาก
    หมายถึง (โบ) ก. หุบปากไว้, ไม่ยอมพูดในสิ่งที่ควรพูด, หุบปากหุบคำ ก็ว่า.
  93. อมพระมาพูด
    หมายถึง (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ.
  94. อมพะนำ
    หมายถึง ว. นิ่งอึ้งไม่พูดจา, อำพะนำ ก็ว่า.
  95. อมภูมิ
    หมายถึง [-พูม] ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ.
  96. อมมือ
    หมายถึง ว. ไม่เดียงสา (ใช้แก่เด็ก) ในคำว่า เด็กอมมือ.
  97. อมยิ้ม
    หมายถึง ว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาล มีสีต่าง ๆ เป็นรูปกลม ๆ หรือแบน ๆ เสียบไม้.
  98. อมร,อมร-
    หมายถึง [อะมอน, อะมอนระ-, อะมะระ-] น. ผู้ไม่ตาย, เทวดา. ว. ไม่ตาย, ไม่เสื่อมสูญ, ยั่งยืน. (ป., ส.).
  99. อมรบดี
    หมายถึง [อะมะระบอดี] น. “จอมเทวดา” คือ พระอินทร์. (ส. อมรปติ).
  100. อมรรัตน์
    หมายถึง [อะมอนระ-] น. เพชร. (ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 4)"