พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 2)

  1. อดรนทนไม่ได้,อดรนทนไม่ไหว
    หมายถึง ก. ไม่สามารถจะอดทนต่อไปได้.
  2. อดสู
    หมายถึง ก. ละอายใจ, อับอายมาก
  3. อดอยาก
    หมายถึง ก. ไม่มีจะกิน, ขาดแคลนอาหาร, มีไม่พอกิน.
  4. อดอยากปากแห้ง
    หมายถึง ก. ไม่ได้กินของที่อยากกิน, อดแห้งอดแล้ง ก็ว่า.
  5. อดออม
    หมายถึง ก. ประหยัด, กระเหม็ดกระแหม่, ออมอด ก็ว่า.
  6. อดิ
    หมายถึง ดู อติ.
  7. อดิถี
    หมายถึง น. แขก, ผู้มาหา. (ป., ส. อติถิ).
  8. อดิศร,อดิศวร
    หมายถึง [อะดิสอน, -สวน] น. ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่. (ส. อติ + อีศฺร, อติ + อีศฺวร).
  9. อดิศัย
    หมายถึง [อะดิไส] ว. เลิศ, ประเสริฐ. (ส.; ป. อติสย).
  10. อดิเทพ
    หมายถึง น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น ๆ. (ป. อติเทว).
  11. อดิเรก,อดิเรก-
    หมายถึง [อะดิเหฺรก, -เหฺรกกะ-] ว. พิเศษ. น. ชื่อพรพิเศษที่พระสงฆ์ถวายพระมหากษัตริย์ ในคำว่า ถวายอดิเรก. (ป., ส.).
  12. อดิเรกลาภ
    หมายถึง [อะดิเหฺรกกะลาบ] น. อติเรกลาภ, ลาภพิเศษ. (ป., ส. อติเรกลาภ).
  13. อดีต,อดีต-
    หมายถึง [อะดีด, อะดีดตะ-] ว. ล่วงแล้ว. น. เวลาที่ล่วงแล้ว. (ป., ส. อตีต).
  14. อดีตกาล,อดีตสมัย
    หมายถึง [อะดีดตะกาน, -ตะสะไหฺม] น. เวลาที่ล่วงแล้ว.
  15. อดีตชาติ,อดีตภพ
    หมายถึง [อะดีดตะชาด, -ตะพบ] น. ชาติก่อน, ภพก่อน.
  16. อดุล,อดุลย,อดุลย-,อดุลย์
    หมายถึง [อะดุน, อะดุนละยะ-, อะดุน] ว. ชั่งไม่ได้, ไม่มีอะไรเปรียบ, ไม่มีอะไรเท่า. (ป., ส. อตุล, อตุลฺย).
  17. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
    หมายถึง (สำ) ก. อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า.
  18. อดแห้งอดแล้ง
    หมายถึง ก. ไม่ได้กินของที่อยากกิน, อดอยากปากแห้ง ก็ว่า.
  19. อดใจ
    หมายถึง ก. ยั้งใจ.
  20. อติ
    หมายถึง [อะติ] คำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).
  21. อติชาต,อติชาต-
    หมายถึง [อะติชาด, อะติชาดตะ-] ว. เลิศกว่าเผ่าพงศ์. (ป., ส.).
  22. อติชาตบุตร
    หมายถึง น. บุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา, อภิชาตบุตร ก็ว่า. (ส. อติชาตปุตฺร; ป. อติชาตปุตฺต).
  23. อติมานะ
    หมายถึง น. ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง. (ป.).
  24. อติราช
    หมายถึง [อะติราด] น. เจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่, มหาราช. (ป.).
  25. อติสาร
    หมายถึง [อะติสาน] ว. อาการของการเจ็บไข้ที่เข้าขีดตาย. น. โรคลงแดง. (ป., ส.).
  26. อติเทพ
    หมายถึง น. เทวดาผู้ยิ่งกว่าเทวดาอื่น ๆ.
  27. อติเรก,อติเรก-
    หมายถึง [อะติเหฺรก, -เหฺรกกะ-] ว. อดิเรก. (ป., ส.).
  28. อติเรกจีวร
    หมายถึง น. จีวรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร. (ป., ส.).
  29. อติเรกลาภ
    หมายถึง น. อดิเรกลาภ, ลาภพิเศษ. (ป., ส.).
  30. อถรรพเวท
    หมายถึง [อะถับพะเวด, อะถันพะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบางบทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).
  31. อทระ,อารทรา
    หมายถึง [อะทฺระ, อาระทฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๖ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปฉัตร, ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา ก็เรียก.
  32. อทินนาทาน
    หมายถึง [อะทิน-] น. การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แก่ตน, การลักทรัพย์. (ป.).
  33. อทินนาทายี
    หมายถึง น. ผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, ขโมย. (ป.).
  34. อธรรม
    หมายถึง [อะทำ] ว. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. น. ความไม่มีธรรม, ความชั่วร้าย. (ส.).
  35. อธิ
    หมายถึง คำนำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, เช่น อธิปัญญา = ปัญญายิ่ง. (ป., ส. = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ).
  36. อธิก,อธิก-
    หมายถึง [อะทิกะ-, อะทิกกะ-] ว. ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ, ใช้ว่า อธึก ก็มี. (ป., ส.).
  37. อธิกมาส
    หมายถึง [-มาด] น. เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี ๑๓ เดือน มีเดือน ๘ สองหน เรียกว่า เดือน ๘ สอง ๘. (ป.).
  38. อธิกรณ์
    หมายถึง น. เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว. (ป., ส.).
  39. อธิกวาร
    หมายถึง [-วาน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นเดือน ๗ เป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน. (ป.).
  40. อธิกสุรทิน
    หมายถึง [-สุระทิน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน.
  41. อธิการ
    หมายถึง [อะทิกาน] น. เรียกพระที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือเจ้าคณะตำบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ; ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในวิทยาลัย. (ป., ส.).
  42. อธิการบดี
    หมายถึง [อะทิกานบอดี] น. ตำแหน่งสูงสุดของผู้บริหารในมหาวิทยาลัย.
  43. อธิคม
    หมายถึง น. การบรรลุ, ความสำเร็จ, การได้. (ป., ส.).
  44. อธิฏฐาน
    หมายถึง [อะทิดถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิษฐาน ก็ว่า. (ป.; ส. อธิษฺาน).
  45. อธิบดี
    หมายถึง [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตำแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบการมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  46. อธิบาย
    หมายถึง [อะทิบาย] ก. ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง. (ป. อธิปฺปาย).
  47. อธิป,อธิป-
    หมายถึง [อะทิบ, อะทิปะ-, อะทิบปะ-] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).
  48. อธิปไตย
    หมายถึง [อะทิปะไต, อะทิบปะไต] น. อำนาจสูงสุดของรัฐที่จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).
  49. อธิมาตร
    หมายถึง [อะทิมาด] ว. เหลือคณนา. (ส.; ป. อธิมตฺต).
  50. อธิมุตติ
    หมายถึง [อะทิมุดติ] น. อัชฌาสัย, ความพอใจ, ความตั้งใจ. (ป.; ส. อธิมุกฺติ).
  51. อธิราช
    หมายถึง น. พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่. (ส.).
  52. อธิวาส
    หมายถึง น. ที่อยู่, บ้าน. (ป., ส.).
  53. อธิวาสนะ
    หมายถึง [-วาสะนะ] น. ความอดกลั้น, ความอดทน. (ป.).
  54. อธิศีล
    หมายถึง น. ศีลอย่างสูง, ศีลอย่างอุกฤษฏ์. (ป. อธิสีล).
  55. อธิษฐาน
    หมายถึง [อะทิดถาน, อะทิดสะถาน] ก. ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนา, ตั้งจิตขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, อธิฏฐาน ก็ว่า. (ส.; ป. อธิฏฺาน).
  56. อธิโมกข์
    หมายถึง น. ความตัดสินเด็ดขาด, ความเด็ดเดี่ยว; ความน้อมใจเชื่อ. (ป.; ส. อธิโมกฺษ).
  57. อธึก
    หมายถึง ว. อธิก, ยิ่ง, เกิน, มาก, เพิ่ม, เลิศ.
  58. อน,อน-
    หมายถึง [อะนะ-] เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู อ ๒ ประกอบ).
  59. อนงค-,อนงค์,อนงค์
    หมายถึง [อะนงคะ-, อะนง] น. นาง, นางงาม.
  60. อนงคณะ
    หมายถึง [อะนงคะนะ] ว. ไม่มีกิเลส, ไม่มีสิ่งชั่ว. (ป.).
  61. อนงคเลข,อนงคเลขา
    หมายถึง น. จดหมายรัก, เพลงยาว.
  62. อนงค์
    หมายถึง [อะนง] (วรรณ) น. ผู้ไม่มีตัวตน เป็นชื่อหนึ่งของกามเทพ. ส. อนงฺค ว่า ไม่มีตัวตน = ชื่อกามเทพ).
  63. อนธ,อนธ-,อันธ,อันธ-
    หมายถึง [อนทะ-, -ทะ-] ว. มืด, มืดมน; โง่, ทึบ; มองไม่เห็น, บอด. (ป., ส.).
  64. อนธการ
    หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).
  65. อนนต์
    หมายถึง น. ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้พลิกตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อานนท์ ก็ว่า.
  66. อนยะ
    หมายถึง [อะนะ-] น. เคราะห์ร้าย, ทุกข์, ความฉิบหาย. (ป., ส.).
  67. อนรรฆ
    หมายถึง [อะนัก] ว. หาค่ามิได้, เกินที่จะประมาณราคาได้. (ส. อนรฺฆ).
  68. อนรรถ
    หมายถึง [อะนัด] ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีผล. (ส. อนรฺถ; ป. อนตฺถ).
  69. อนล
    หมายถึง [อะนน] น. ไฟ; พระอัคนี. (ส.).
  70. อนวัช,อนวัช-
    หมายถึง [อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).
  71. อนัญ,อนัญ-
    หมายถึง [อะนัน, อะนันยะ-] ว. ไม่ใช่อื่น. (ป. อนญฺ).
  72. อนัญคติ
    หมายถึง [อะนันยะคะติ] น. หนทางเดียว; ความจำเป็น. (ป. อนญฺคติ).
  73. อนัญสาธารณ์
    หมายถึง [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อนญฺสาธารณ).
  74. อนัตตา
    หมายถึง ว. ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน. (ป.).
  75. อนัตถ,อนัตถ-
    หมายถึง [อะนัดถะ-] ว. อนรรถ. (ป.).
  76. อนันต
    หมายถึง [อะนันตะ-, อะนัน] ว. ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).
  77. อนันต-
    หมายถึง [อะนันตะ-, อะนัน] ว. ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).
  78. อนันตร,อนันตร-
    หมายถึง [อะนันตะระ-] ว. ไม่มีระหว่าง, ติดต่อกันเรื่อยไป. (ป., ส.).
  79. อนันตริยกรรม
    หมายถึง [-ตะริยะกำ] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
  80. อนันต์
    หมายถึง [อะนันตะ-, อะนัน] ว. ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์. (ป.).
  81. อนัม
    หมายถึง น. ญวน, ใช้ว่า อนำ อานำ หรือ อานัม ก็มี.
  82. อนากูล
    หมายถึง ว. ไม่อากูล, ไม่คั่งค้าง, เช่น การงานอนากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. น + อากุล).
  83. อนาคต,อนาคต-
    หมายถึง [อะนาคด, อะนาคดตะ-] ว. ยังไม่มาถึง. น. เวลาภายหน้า. (ป., ส.).
  84. อนาคตกาล
    หมายถึง น. กาลภายหน้า, กาลที่ยังมาไม่ถึง.
  85. อนาคามิผล
    หมายถึง น. ธรรมที่พระอนาคามีได้บรรลุ. (ป.; ส. อนาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).
  86. อนาคามิมรรค
    หมายถึง น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามี. (ส. อนาคามินฺ + มารฺค; ป. อนาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
  87. อนาคามี
    หมายถึง น. “ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า พระอนาคา. (ป.; ส. อนาคามินฺ).
  88. อนาจาร
    หมายถึง [อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทำให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม. (ป., ส.).
  89. อนาถ
    หมายถึง [อะหฺนาด] ก. สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
  90. อนาถา
    หมายถึง ว. ไม่มีที่พึ่ง, กำพร้า, ยากจน, เข็ญใจ. (ป., ส. อนาถ).
  91. อนาทร
    หมายถึง [อะนาทอน] ก. เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่อนาทร อย่าอนาทร หมายความว่า ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน อย่าร้อนอกร้อนใจ.
  92. อนาทร
    หมายถึง [อะนาทอน] น. ความไม่เอื้อเฟื้อ, ความไม่เอาใจใส่, ความไม่พะวง. (ป., ส.).
  93. อนาธิปไตย
    หมายถึง [อะนาทิปะไต, อะนาทิบปะไต] ว. ภาวะที่บ้านเมืองไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมายและระเบียบ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง. (อ. anarchy).
  94. อนามัย
    หมายถึง น. ความไม่มีโรค, สุขภาพ. ว. เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ปาก) สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).
  95. อนามิกา
    หมายถึง (ราชา) น. นิ้วนาง.
  96. อนารย,อนารย-,อนารยะ
    หมายถึง [อะนาระยะ] ว. ไม่ใช่อารยะ, ป่าเถื่อน. (ส.).
  97. อนารยชน
    หมายถึง น. คนที่ยังไม่เจริญ, คนป่าเถื่อน.
  98. อนารยธรรม
    หมายถึง น. ความตํ่าช้า, ความป่าเถื่อน.
  99. อนาลัย
    หมายถึง น. การไม่มีที่อยู่; การหมดความอยาก, การหมดความพัวพัน; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.).
  100. อนำ
    หมายถึง น. ญวน, ใช้ว่า อนัม อานัม หรือ อานำ ก็มี.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 2)"