พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 10)

  1. อัตโนมัติ
    หมายถึง [อัดตะ-] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลำพังตน, เช่นในคำว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทำหน้าที่ได้ในตัวเอง, มีกลไกทำหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  2. อัททา
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวตาสำเภา หรือ ดาวอทระ ก็เรียก.
  3. อัทธ,อัทธ-,อัทธ์,อัทธา,อัทธาน
    หมายถึง [อัดทะ-] น. ทาง, ทางไกล, ระยะไกล; กาล, กาลยาวนาน. (ป.; ส. อธฺวนฺ).
  4. อัทธคต
    หมายถึง น. ผู้ที่ได้ผ่านทางไกลหรืออยู่มานาน, คนแก่. (ป.).
  5. อัทธคู
    หมายถึง น. ผู้เดินทาง, นักท่องเที่ยว. (ป.).
  6. อัทธายุ
    หมายถึง [อัดทา-] น. ชั่วอายุ, ชั่วชีวิต.
  7. อัธยาตมวิทยา
    หมายถึง [อัดทะยาดตะมะวิดทะยา] (โบ) น. วิชาว่าด้วยจิต, ปัจจุบันใช้ว่า จิตวิทยา. (ส.).
  8. อัธยาย
    หมายถึง [อัดทะยาย] น. บทเรียน, บท; การอ่าน, การเล่าเรียน. (ส. อธฺยาย).
  9. อัธยาศัย
    หมายถึง [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  10. อัน
    หมายถึง น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คำบอกลักษณะสิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากำหนดสำหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  11. อันดก
    หมายถึง [-ดก] น. ความตาย. (ป., ส. อนฺตก).
  12. อันดร
    หมายถึง [-ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคำอื่น เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
  13. อันดับ
    หมายถึง น. ชั้น เช่น พระสงฆ์นั่งตามอันดับ, ระเบียบ; ลำดับ เช่น สอบได้ในอันดับต้น ๆ.
  14. อันด๊าก
    หมายถึง น. ลิ้น. (ต.).
  15. อันต,อันต-,อันต-
    หมายถึง [อันตะ-] น. เขต, แดน; ปลายทาง, ที่จบ, อวสาน, ที่สุด; ความตาย, ความเสื่อมสิ้น. (ป., ส.).
  16. อันต,อันต-,อันต-,อันตะ
    หมายถึง [อันตะ-] น. ลำไส้ใหญ่, ราชาศัพท์ว่า พระอันตะ. (ป.; ส. อนฺตฺร).
  17. อันตกะ
    หมายถึง [อันตะกะ] น. “ผู้ทำที่สุด” หมายถึง ความตาย คือ พระยม. (ป., ส.).
  18. อันตกาล
    หมายถึง น. เวลาตาย. (ส.).
  19. อันตกิริยา
    หมายถึง น. “การกระทำซึ่งที่สุด” หมายถึง ตาย เช่น เขากระทำซึ่งอันตกิริยา. (ป.).
  20. อันตคุณ
    หมายถึง น. ลำไส้เล็ก, ราชาศัพท์ว่า พระอันตคุณ. (ป.).
  21. อันตคู
    หมายถึง น. ผู้ถึงที่สุด, ผู้ชำนะความทุกข์. (ป.).
  22. อันตชาติ
    หมายถึง น. คนตํ่าช้า, คนไม่มีตระกูล. (ส.).
  23. อันตร,อันตร-
    หมายถึง [อันตะระ-] น. ช่อง. ว. ภายใน, ชั้นใน; ใกล้เคียง, เกือบ; ระหว่าง; อื่น, ต่างไป. (ป., ส.).
  24. อันตรการณ์
    หมายถึง น. เหตุขัดข้อง, อุปสรรค, ความติดขัด. (ป.).
  25. อันตรธาน
    หมายถึง [อันตะระทาน, อันตฺระทาน] ก. สูญหายไป, ลับไป. (ป., ส.).
  26. อันตรภาค
    หมายถึง [-พาก] (สถิติ) น. ช่วงคะแนนหรือขอบเขตของคะแนนเป็นต้นในขั้นหนึ่ง ๆ ในตารางแจกแจงความถี่ เช่น อันตรภาคของคะแนนตั้งแต่ ๘๖-๑๐๐ เป็นอันดับ ๑.
  27. อันตรวาสก
    หมายถึง [-วาสก] น. ผ้าสบง. (ป.).
  28. อันตรา
    หมายถึง [อันตะรา] นิ. ระหว่าง. (ป.).
  29. อันตราย
    หมายถึง [อันตะราย] น. เหตุที่อาจทำให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).
  30. อันตรายิกธรรม
    หมายถึง [-ยิกะทำ] น. “ธรรมที่ทำอันตราย” หมายถึง เหตุขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).
  31. อันตลิกขะ
    หมายถึง [อันตะลิกขะ] น. ท้องฟ้า, กลางหาว. (ป.; ส. อนฺตริกฺษ).
  32. อันติกะ
    หมายถึง น. ที่ใกล้, บริเวณ. ว. ใกล้, แทบ, เกือบ. (ป., ส.).
  33. อันติม,อันติม-,อันติมะ
    หมายถึง [อันติมะ-] ว. สุดท้าย, สูงสุด, เช่น ความจริงอันติมะ คือ ความจริงสุดท้าย ความจริงสูงสุด. (ป.; อ. ultimate).
  34. อันติมสัจ
    หมายถึง [-มะสัด] (ปรัชญา) น. ความจริงขั้นสุดท้าย, ความจริงขั้นสูงสุด.
  35. อันทุ
    หมายถึง น. โซ่, ตรวน, เครื่องจองจำ. (ป., ส.).
  36. อันธ,อันธ-
    หมายถึง [อันทะ-] ว. มืด, มืดมน, เช่น อันธกาล; โง่, ทึบ, เช่น อันธปัญญา; มองไม่เห็น, บอด, เช่น อันธจักษุ. (ป., ส.).
  37. อันธการ
    หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อนธการ ก็ว่า. (ป.).
  38. อันธพาล
    หมายถึง น. คนเกะกะระราน. (ป.).
  39. อันธิกา
    หมายถึง น. กลางคืน, เวลาคํ่า. (ส.).
  40. อันนะ
    หมายถึง น. ของกินโดยเฉพาะข้าว, มักใช้เข้าคู่กับ ปานะ เป็น อันนะปานะ แปลว่า ข้าวและนํ้า. (ป., ส.).
  41. อันนา
    หมายถึง น. ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น, กระทงนา ก็เรียก.
  42. อันวย,อันวย-,อันวัย
    หมายถึง [อันวะยะ-] น. การเป็นไปตาม, การอนุโลมตาม, เช่น อันวยาเนกรรถประโยค. (ป.).
  43. อันว่า
    หมายถึง ว. ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  44. อันเต,อันโต
    หมายถึง คำใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.
  45. อันเตบุระ,อันเตปุระ
    หมายถึง น. ภายในราชสำนัก, ภายในวัง. (ป.; ส. อนฺตปุร).
  46. อันเตบุริก,อันเตปุริก
    หมายถึง น. ข้าราชการในราชสำนัก. (ป.).
  47. อันเตบุริกา,อันเตปุริกา
    หมายถึง น. นางในราชสำนัก. (ป.).
  48. อันเตวาสิก
    หมายถึง น. “ชนผู้อยู่ในภายใน” หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครองหรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).
  49. อันเป็น,อันเป็นไป
    หมายถึง น. ผลร้ายที่เกิดขึ้น, เหตุร้ายที่เกิดขึ้น, เช่น เขาแช่งคนชั่วให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
  50. อันเวส
    หมายถึง [-เวด] น. การตามแสวงหา, การค้นหา. (ป. อนุ + เอส).
  51. อันแถ้ง
    หมายถึง (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
  52. อันโด๊ก
    หมายถึง น. เต่า, ตะพาบนํ้า. (ต.).
  53. อันโตชน
    หมายถึง น. “คนภายใน” หมายถึง คนในตระกูล เช่น บุตร ภรรยา คนใช้. (ป.).
  54. อันโตนาที
    หมายถึง น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
  55. อันโทล
    หมายถึง [-โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หากเที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คำหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  56. อันโยนย,อันโยนย-,อันโยนยะ
    หมายถึง [-โยนยะ] (โบ) ว. “กันและกัน”. (ส. อนฺโยนฺย; ป. อญฺมญฺ); ในไวยากรณ์ใช้เรียกสรรพนามพวกหนึ่ง ซึ่งแทนชื่อคน สัตว์ หรือสิ่งของที่รวมกัน ได้แก่คำว่า “กัน” เช่น คนตีกัน เรียกว่า อันโยนยสรรพนาม.
  57. อับ
    หมายถึง น. ตลับ.
  58. อับ
    หมายถึง ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.
  59. อับจน
    หมายถึง ว. ไม่มีทางไป; สิ้นคิด; ยากแค้น.
  60. อับปาง
    หมายถึง ก. ล่ม, จม, แตก, (ใช้แก่เรือเดินทะเล).
  61. อับสปอร์
    หมายถึง น. โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุง ห่อหุ้มสปอร์ เป็นที่เกิดของสปอร์.
  62. อับอาย
    หมายถึง ว. อายไม่กล้าสู้หน้า, ขายหน้า.
  63. อับเฉา
    หมายถึง น. ของถ่วงเรือกันเรือโคลง มีหินและทรายเป็นต้น.
  64. อับเฉา
    หมายถึง ว. ไม่สดชื่น, ไม่ชื่นบาน.
  65. อัป,อัป-
    หมายถึง [อับปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
  66. อัปกะ
    หมายถึง [อับปะ-] ว. เล็กน้อย, นิดหน่อย. (ป. อปฺปก; ส. อลฺปก).
  67. อัปการ
    หมายถึง [อับปะกาน] (กลอน) ว. ผิดรูป, พิการ, น่าเกลียด. (ป., ส. อปการ).
  68. อัปฏิฆะ
    หมายถึง [อับปะติคะ] ว. ไม่ระคายใจ, ไม่เคืองใจ, ไม่แค้นเคือง. (ป. อปฺปฏิฆ).
  69. อัปฏิภาค
    หมายถึง [อับปะติพาก] ว. ไม่มีเปรียบ, เทียบไม่ได้. (ป. อปฺปฏิภาค).
  70. อัปปะ
    หมายถึง [อับ-] ว. เล็ก, น้อย. (ป.; ส. อลฺป).
  71. อัปภาคย์
    หมายถึง [อับปะ-] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
  72. อัปมงคล
    หมายถึง [อับปะ-] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย, อปมงคล ก็ว่า. (ป., ส.).
  73. อัปยศ
    หมายถึง [อับปะ-] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
  74. อัประมาณ
    หมายถึง [อับปฺระ-] ว. กำหนดจำนวนไม่ได้, จำกัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ; อประมาณ ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  75. อัประมาท
    หมายถึง [อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่; อประมาท ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  76. อัประไมย
    หมายถึง [อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จำกัด, มากมาย, อประไมย ก็ว่า. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  77. อัปราชัย
    หมายถึง [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
  78. อัปรีย์
    หมายถึง [อับปฺรี] ว. ระยำ, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล. (ส. อปฺริย; ป. อปฺปิย).
  79. อัปลักษณ์
    หมายถึง [อับปะ-] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
  80. อัปสร
    หมายถึง [อับสอน] น. นางฟ้า. (ส. อปฺสรสฺ; ป. อจฺฉรา).
  81. อัปเปหิ
    หมายถึง [อับ-] (ปาก) ก. ขับไล่, อเปหิ ก็ว่า.
  82. อัพพุท
    หมายถึง น. ชื่อสังขยาจำนวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือโกฏิยกกำลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. (ป.).
  83. อัพภันดร,อัพภันตร,อัพภันตร-
    หมายถึง [อับพันดอน, -ตะระ-] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
  84. อัพภาน
    หมายถึง [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทำโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
  85. อัพภาส
    หมายถึง [อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  86. อัพภูตธรรม
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  87. อัพยากฤต
    หมายถึง [อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศลหรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
  88. อัพโพหาริก
    หมายถึง ว. ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิดวินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรสการกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควรนับว่ากินเหล้า. (ป.).
  89. อัม,อัม-
    หมายถึง [อำ, อำมะ-] น. ไข้เจ็บ, โรค; ชีวิต; ภัย, ความกลัว. (ส. อมฺ).
  90. อัมพ,อัมพ-
    หมายถึง [อำพะ-] น. ต้นมะม่วง, ใช้ว่า อัมพพฤกษ์ ก็มี. (ป.; ส. อามฺร).
  91. อัมพร
    หมายถึง [-พอน] น. ฟ้า, ท้องฟ้า, อากาศ; เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. (ป., ส.).
  92. อัมพฤกษ์
    หมายถึง [อำมะพฺรึก] น. ชื่อเส้นซึ่งเป็นศูนย์กลางของร่างกาย อยู่ด้านหน้าท้อง; อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง.
  93. อัมพวัน,อัมพวา
    หมายถึง น. ป่าหรือสวนมะม่วง.
  94. อัมพา
    หมายถึง น. แม่, หญิงดี, (เป็นชื่อยกย่อง). (ป., ส.).
  95. อัมพาต
    หมายถึง [อำมะพาด] น. อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไปกระดิกไม่ได้. (ส. อมฺ + วาต = โรคลม).
  96. อัมพิละ
    หมายถึง ว. มีรสเปรี้ยว. (ป.; ส. อมฺล). (เทียบ ข. อมฺพิล ว่า มะขาม).
  97. อัมพุ
    หมายถึง น. นํ้า. (ป., ส.).
  98. อัมพุช
    หมายถึง [อำพุด] น. “เกิดในนํ้า” หมายถึง บัว; ปลา. (ป., ส.).
  99. อัมพุชินี
    หมายถึง น. สระบัว, หนองบัว. (ป.; ส. อมฺพุชินฺ).
  100. อัมพุท
    หมายถึง น. “ผู้ให้นํ้า” หมายถึง เมฆ. (ป., ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 10)"