พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ส (หน้าที่ 9)

  1. สองชั้น
    หมายถึง น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่าชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.
  2. สองตาก็ไม่แล,สองตาก็ไม่อยากแล
    หมายถึง (สำ) คำที่แสดงอาการว่าไม่แยแสหรือตัดรอนไม่เป็นมิตรไมตรีกันอีกต่อไป.
  3. สองต่อสอง
    หมายถึง ว. แต่ลำพัง ๒ คน โดยเฉพาะในที่ลับหูลับตาคนอื่น (มักใช้แก่ชายหนึ่งและหญิงหนึ่งที่อยู่ด้วยกันตามลำพัง).
  4. สองผม
    หมายถึง ว. มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า คนสองผม.
  5. สองฝักสองฝ่าย
    หมายถึง (สำ) ว. ที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งมักไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น ประเทศเล็กที่ช่วยตัวเองไม่ได้ มักต้องทำตัวสองฝักสองฝ่ายกับประเทศใหญ่เพื่อความอยู่รอดของตน.
  6. สองฤดู
    หมายถึง ดู คริสต์มาส ๒.
  7. สองสลึงเฟื้อง
    หมายถึง (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
  8. สองหน้า
    หมายถึง น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. (สำ) ว. ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.
  9. สองเกลอ
    หมายถึง น. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๒ ที่.
  10. สองแง่สองง่าม
    หมายถึง ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย ทั้งความหมายธรรมดาและความหมายที่ส่อไปในทางหยาบโลน (มักใช้ในปริศนาคำทาย) เช่นนอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย.
  11. สองแง่สองมุม
    หมายถึง ว. มีความหมายตีได้เป็น ๒ นัย เช่นสาบานขอให้ตายใน ๗ วัน.
  12. สองใจ
    หมายถึง ว. มีจิตใจไม่แน่นอนในเรื่องชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).
  13. สองไม้
    หมายถึง น. ทำนองเพลงที่ใช้หน้าทับทำจังหวะ.
  14. สอด
    หมายถึง ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  15. สอดคล้อง
    หมายถึง ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
  16. สอดรู้,สอดรู้สอดเห็น
    หมายถึง ก. เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
  17. สอดสี
    หมายถึง ว. ลักษณะการพิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป เรียกว่า พิมพ์สอดสี.
  18. สอดส่อง
    หมายถึง ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้องสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร.
  19. สอดส่าย
    หมายถึง ก. ส่ายตาค้นหา ในคำว่า สอดส่ายสายตา เช่น สอดส่ายสายตาหาเพื่อนที่นัดไว้ ตำรวจสอดส่ายสายตาหาคนร้าย, โดยปริยายหมายถึงส่ายตามองหาช่องทางหรือโอกาสที่จะลักขโมยเป็นต้น.
  20. สอดหมุด
    หมายถึง ก. สอดผ้ากอซเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับของเหลวภายใน.
  21. สอดแคล้ว
    หมายถึง ว. สงสัย, กินแหนง.
  22. สอดแทรก
    หมายถึง ก. เข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน เช่น เขาชอบไปสอดแทรกในเรื่องส่วนตัวของคนอื่น.
  23. สอดแนม
    หมายถึง ก. ลอบเข้าไปสืบความ เช่น ส่งทหารไปสอดแนมข้าศึก.
  24. สอดใส่
    หมายถึง ก. ใส่โดยวิธีสอดเข้าไป.
  25. สอดไส้
    หมายถึง ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่งแปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตรปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตนปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
  26. สอน
    หมายถึง ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  27. สอนขัน
    หมายถึง ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน.
  28. สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
    หมายถึง (สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.
  29. สอนนาค
    หมายถึง ก. กล่าวคำทำขวัญนาคเพื่อสอนกุลบุตรที่จะอุปสมบทให้รู้สึกซาบซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ และให้เห็นว่าการบวชนั้นเป็นการตอบสนองพระคุณพ่อแม่อย่างหนึ่ง.
  30. สอนพูด
    หมายถึง ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดพูดว่า เด็กสอนพูด.
  31. สอนยาก
    หมายถึง ว. ดื้อดึง, ไม่อยู่ในโอวาท, เช่น เขาเป็นเด็กสอนยาก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ว่ายาก เป็น ว่ายากสอนยาก.
  32. สอนยืน
    หมายถึง ว. เรียกเด็กที่เริ่มตั้งไข่ว่า เด็กสอนยืน.
  33. สอนลูกให้เป็นโจร
    หมายถึง (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร.
  34. สอนสั่ง
    หมายถึง ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทำ, สั่งสอน ก็ว่า.
  35. สอนหนังสือสังฆราช,บอกหนังสือสังฆราช
    หมายถึง (สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว.
  36. สอนเดิน
    หมายถึง ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัดเดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่.
  37. สอนใจ
    หมายถึง ว. ที่เตือนสติตนเอง เช่น สุภาษิตสอนใจ หนังสือสอนใจ.
  38. สอบ
    หมายถึง ว. มีลักษณะเรียวลงด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน ใช้แก่รูปทรงของภาชนะหรือสิ่งที่มีลักษณะกลวง เช่น พ้อมก้นสอบปากสอบ เสื้อแขนสอบ กางเกงขาสอบ.
  39. สอบ
    หมายถึง ก. ตรวจ ทดลอง เปรียบเทียบ หรือไล่เลียง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือวัดให้รู้ว่ามีความรู้หรือความสามารถแค่ไหน เช่น สอบตาชั่งให้ได้มาตรฐาน สอบราคาสินค้า สอบปากคำผู้ต้องหา สอบพิมพ์ดีด.
  40. สอบข้อเขียน
    หมายถึง ก. สอบความรู้โดยให้ผู้สอบเขียนคำตอบลงในกระดาษ.
  41. สอบความถนัด
    หมายถึง ก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.
  42. สอบซ่อม
    หมายถึง ก. สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก.
  43. สอบซ้อม
    หมายถึง ก. ทดสอบความรู้ก่อนสอบไล่ (ใช้ในโรงเรียน).
  44. สอบถาม
    หมายถึง ก. ถามเพื่อขอทราบข้อมูลที่ต้องการ เช่น สอบถามเวลาเดินรถ.
  45. สอบทาน
    หมายถึง ก. ตรวจสอบหนังสือ ข้อความ หรือตัวเลข ให้ตรงกับต้นฉบับหรือถ้อยคำที่บอกเป็นต้น.
  46. สอบประวัติส่วนบุคคล
    หมายถึง ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่งจะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้งสุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  47. สอบปากคำ
    หมายถึง ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคำพยาน สอบปากคำผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคำ.
  48. สอบปากเปล่า
    หมายถึง ก. สอบโดยวิธีซักถามให้ตอบด้วยวาจา.
  49. สอบพยาน
    หมายถึง ก. ซักถามพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง.
  50. สอบราคา
    หมายถึง ก. สอบดูราคาสิ่งของตามร้านค้าต่าง ๆ ว่าแตกต่างกันอย่างไร, ตรวจสอบราคาที่ขายว่าถูกต้องตามที่ทางราชการกำหนดไว้หรือไม่, สอบถามราคาในการพิมพ์หรือการซื้อเป็นต้นจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อหาราคาต่ำสุด.
  51. สอบสวน
    หมายถึง (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ.
  52. สอบสวนทวนพยาน
    หมายถึง (สำ) ก. สอบพยาน.
  53. สอบสัมภาษณ์
    หมายถึง ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.
  54. สอบอารมณ์
    หมายถึง ก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.
  55. สอบเขตที่ดิน
    หมายถึง ก. ตรวจสอบที่ดินโดยพนักงานที่ดินและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบเนื้อที่และแนวเขตที่แน่นอน.
  56. สอบเทียบ,สอบเทียบความรู้
    หมายถึง ก. สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์มาตรฐานที่ทางราชการกำหนดหรือไม่.
  57. สอบแข่งขัน
    หมายถึง ก. สอบเพื่อพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับทุนหรือบรรจุในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเป็นต้น.
  58. สอบใบขับขี่
    หมายถึง ก. สอบเพื่อแสดงว่ามีความรู้ในกฎจราจรและสามารถขับขี่ยานยนต์ได้.
  59. สอบไล่
    หมายถึง ก. สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตรแต่ละขั้นหรือทั้งหมด.
  60. สอปูน
    หมายถึง ก. นำปูนสอมาเชื่อมอิฐหรือหินให้ติดกัน.
  61. สอพลอ
    หมายถึง [สอพฺลอ] ก. กล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีฐานะสูงกว่าเกลียดชังผู้นั้นเพื่อประโยชน์ของตน.
  62. สอย
    หมายถึง ก. ใช้, ใช้เข้าคู่กันเป็น ใช้สอย.
  63. สอย
    หมายถึง ก. เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึงดัน หรือบิดเอาดอกไม้ลูกไม้เป็นต้นลงมา; แทงด้วยเข็มหรือสิ่งที่แหลมอย่างเข็มเย็บผ้าให้เป็นตะเข็บ.
  64. สอยดอกฟ้า
    หมายถึง (สำ) ก. หมายปองที่จะได้หญิงผู้สูงศักดิ์กว่าตนมาเป็นคู่ครอง.
  65. สอยดาว
    หมายถึง ว. เรียกอาการที่เดินหงายหน้าว่า เดินสอยดาว; เรียกหมัดที่ชกตวัดขึ้นสู่ปลายคางของคู่ต่อสู้ว่า หมัดสอยดาว.
  66. สอยผม
    หมายถึง ก. เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เรียบเรียงเส้น.
  67. สอยไร
    หมายถึง ก. เอาไม้แหลมเล็ก ๆ เป็นต้นแทงผมให้เห็นรอยไร.
  68. สะ
    หมายถึง ก. ใส่หรือสุมเพื่อกันไว้ เช่น เอาหนามสะ.
  69. สะ,สะ,สะสวย
    หมายถึง ว. สวย.
  70. สะกด
    หมายถึง ก. กลั้นไว้, ข่มไว้, เช่น เมื่อเกิดความไม่พอใจ ก็รู้จักสะกดอารมณ์ไว้บ้าง; เขียนหรือบอกตัวอักษรที่ประกอบกันเป็นคำ, เรียกพยัญชนะที่บังคับตัวอักษรข้างหน้าให้เป็นมาตราต่าง ๆ เช่น แม่กน น สะกด แม่กด ด สะกด. น. เรียกลูกประคำที่เป็นลูกคั่นว่า ลูกสะกด. (เทียบ ข. สงฺกด).
  71. สะกดจิต
    หมายถึง ก. ใช้อำนาจจิตเป็นสื่อสะกดให้หลับแล้วบังคับให้กระทำตามความต้องการของตน.
  72. สะกดทัพ
    หมายถึง ก. ใช้อำนาจเวทมนตร์บังคับให้ทหารในกองทัพของฝ่ายตรงข้ามหลับ.
  73. สะกดผี
    หมายถึง ก. ใช้เวทมนตร์สะกดไม่ให้ผีอาละวาดหรือให้อยู่ในอำนาจเป็นต้น.
  74. สะกดรอย
    หมายถึง ก. ตามไปติด ๆ โดยไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัว.
  75. สะกดอกสะกดใจ,สะกดอารมณ์
    หมายถึง ก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ.
  76. สะกอ
    หมายถึง ว. ตะกอ, หนุ่ม, รุ่น, ในคำว่า หนุ่มสะกอ รุ่นสะกอ; รวมอยู่เป็นพวก ๆ. (ข. สรกอ ว่า รุ่นราวคราวเดียวกัน).
  77. สะกาง
    หมายถึง น. เครื่องดักจระเข้อย่างหนึ่ง มีเงี่ยง ๒ ข้าง สำหรับผูกเหยื่อลอยนํ้าไว้; เครื่องล่อใจ เช่น สินสะกาง; ตะกาง ก็เรียก.
  78. สะการะ
    หมายถึง น. ดอกไม้. (ช.).
  79. สะการะตาหรา
    หมายถึง น. ดอกกรรณิการ์. (ช.).
  80. สะกิด
    หมายถึง ก. เอาปลายเล็บหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันเขี่ยหรือแคะแต่เบา ๆ เพื่อให้รู้ตัวหรือเพื่อให้หลุดหรือให้แตกออกเป็นต้น เช่น เอามือสะกิดสีข้าง ใช้เข็มสะกิดฝีให้หนองออก; โดยปริยายหมายความว่า เตือนให้นึกถึง.
  81. สะกิดสะเกา
    หมายถึง ก. สะกิดบ่อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงพูดหรือทำให้กระทบใจบ่อย ๆ เช่น เรื่องนี้จบไปแล้วจะสะกิดสะเกาขึ้นมาทำไม.
  82. สะกิดใจ
    หมายถึง ก. ฉุกคิดถึงเหตุการณ์หรือถ้อยคำที่เคยได้เห็นหรือได้ยินมา เช่น คำพูดของเขาสะกิดใจฉัน เมื่อได้ยินเขาพูดเรื่องเงิน ก็รู้สึกสะกิดใจว่าเขาจะมาทวงหนี้.
  83. สะคราญ
    หมายถึง น. หญิงงาม เช่น โฉมสะคราญ. ว. งาม, สวย, เช่น สะคราญตา สะคราญใจ.
  84. สะคร้อ
    หมายถึง ดู ตะคร้อ.
  85. สะค้าน
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล Piper วงศ์ Piperaceae ใช้ทำยาได้, ตะค้าน ก็เรียก.
  86. สะดม
    หมายถึง ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม. (ข. สณฺฎํ).
  87. สะดวก
    หมายถึง ว. คล่อง, ไม่ติดขัด, เช่น ทางสะดวก การเดินทางสมัยนี้สะดวกกว่าสมัยก่อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ สบาย เป็น สะดวกสบาย.
  88. สะดัก,สังดัก
    หมายถึง ก. คอย, กั้นไว้.
  89. สะดิ้ง
    หมายถึง (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น เช่น ทำเป็นสะดิ้งไปได้ อย่าสะดิ้งให้มากนัก, สะดุ้งสะดิ้ง ก็ว่า.
  90. สะดึง
    หมายถึง น. กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สำหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน.
  91. สะดือ
    หมายถึง น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวำเข้าไป.
  92. สะดือจุ่น
    หมายถึง น. สะดือที่มีลักษณะโปนออกมา.
  93. สะดือทะเล
    หมายถึง น. บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไปซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล.
  94. สะดืออ่าง
    หมายถึง น. รูเหนือท่อน้ำทิ้งที่อ่างล้างหน้าหรืออ่างอาบน้ำเป็นต้น สำหรับให้น้ำไหลลงสู่ท่อน้ำทิ้ง.
  95. สะดุด
    หมายถึง ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทำให้ก้าวผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
  96. สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ
    หมายถึง ว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.
  97. สะดุดขาตัวเอง
    หมายถึง (สำ) ก. ทำผิดหลักเกณฑ์ที่ตนกำหนดไว้เอง.
  98. สะดุดตา
    หมายถึง ก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตาจริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.
  99. สะดุดหู
    หมายถึง ก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
  100. สะดุดใจ
    หมายถึง ก. ฉุกคิดขึ้นมาได้, ฉุกใจได้คิดเมื่อมีบางสิ่งบางอย่างมากระทบใจทำให้รู้สึกสงสัยตงิด ๆ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ส (หน้าที่ 9)"