พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 9)

  1. วิษณุ
    หมายถึง [วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).
  2. วิษณุกรรม
    หมายถึง น. พระวิศวกรรม, วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
  3. วิษณุมนตร์
    หมายถึง น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุเวท ก็ว่า.
  4. วิษณุรถ
    หมายถึง ครุฑ, เป็นพาหนะของพระวิษณุ
  5. วิษณุเวท
    หมายถึง น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุมนตร์ ก็ว่า. (ส.).
  6. วิษณุโลก
    หมายถึง น. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า. (ส.).
  7. วิษธร
    หมายถึง [วิสะทอน] น. งูพิษ. (ส.).
  8. วิษักต์
    หมายถึง ว. ติดอยู่, พันอยู่, พัวพัน. (ส.; ป. วิสตฺต).
  9. วิษัย
    หมายถึง น. วิสัย. (ส.).
  10. วิษาณ
    หมายถึง น. เขาสัตว์, งาช้าง. (ส.; ป. วิสาณ).
  11. วิษุวัต
    หมายถึง (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง โลกจะมีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน มี ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต และ ศารทวิษุวัต. (ส. ว่า มีในกึ่งกลาง; อ. equinox).
  12. วิสกี้
    หมายถึง น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเมล็ดธัญพืชบางชนิด. (อ. whisky).
  13. วิสม,วิสม-
    หมายถึง [-สะมะ-] ว. ไม่เรียบ, ไม่เสมอ, ขรุขระ, ไม่เท่ากัน. (ป., ส.).
  14. วิสย,วิสย-,วิสัย
    หมายถึง [วิสะยะ-, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตรภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  15. วิสรรชนีย์
    หมายถึง [วิสันชะนี] น. เครื่องหมายสระรูปดังนี้ ะ ใช้ประหลังอักษร. (ส. วิสรฺชนีย).
  16. วิสฤต
    หมายถึง [วิสฺริด] ว. แผ่ไป, แผ่ซ่าน, กระจาย. (ส.).
  17. วิสสุกรรม
    หมายถึง น. พระวิศวกรรม, วิษณุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก.
  18. วิสัชนา
    หมายถึง [วิสัดชะนา] ก. ตอบ, ชี้แจง, เช่น ขอวิสัชนาดังนี้. (ป. วิสชฺชนา).
  19. วิสัญญี
    หมายถึง ว. หมดความรู้สึก, สิ้นสติ, สลบ, เช่น นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉานปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาด (ม. ร่ายยาว มัทรี). (ป.).
  20. วิสัญญีภาพ
    หมายถึง น. ความหมดความรู้สึก, ความสิ้นสติ, เช่น ถึงซึ่งวิสัญญีภาพ.
  21. วิสัญญีวิทยา
    หมายถึง น. วิชาที่ว่าด้วยการให้ยาชาและยาสลบ.
  22. วิสัญญีแพทย์
    หมายถึง น. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ.
  23. วิสัยทัศน์
    หมายถึง น. การมองการณ์ไกล, วิทัศน์. (อ. vision).
  24. วิสาข,วิสาข-,วิสาขะ,วิสาขะ,วิสาขา
    หมายถึง [วิสาขะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ป.).
  25. วิสาขบูชา
    หมายถึง น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. (ป.).
  26. วิสามัญ
    หมายถึง ว. ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ใช่สามัญ, เช่น ข้าราชการวิสามัญ สมาชิกวิสามัญ ประชุมสมัยวิสามัญ, พิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
  27. วิสามัญฆาตกรรม
    หมายถึง [วิสามันคาดตะกำ] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่าตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่.
  28. วิสามานยนาม
    หมายถึง [วิสามานยะนาม] (ไว) น. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดำ ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.
  29. วิสาร
    หมายถึง น. การขยาย, การเผยแผ่. (ส.).
  30. วิสารทะ
    หมายถึง [-ระ-] ว. แกล้วกล้า, ชำนาญ, ฉลาด. (ป.).
  31. วิสาล
    หมายถึง ว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ป.; ส. วิศาล).
  32. วิสาสะ
    หมายถึง น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  33. วิสาหกิจ
    หมายถึง [วิสาหะกิด] น. การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อน หรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย.
  34. วิสิฐ
    หมายถึง ว. วิศิษฏ์. (ป. วิสิฏฺ; ส. วิศิษฺฏ).
  35. วิสุงคามสีมา
    หมายถึง [-คามมะ-] น. เขตที่พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างพระอุโบสถ.
  36. วิสุทธ์,วิสุทธิ์
    หมายถึง ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน. (ป.; ส. วิศุทฺธ, วิศุทฺธิ).
  37. วิสูตร
    หมายถึง [-สูด] (ราชา) น. ม่าน.
  38. วิหค,วิหงค์
    หมายถึง น. นก. (ป. วิหค, วิหงฺค; ส. วิหค, วิหํค).
  39. วิหลั่น
    หมายถึง น. ค่ายที่ทำให้ขยับลุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ.
  40. วิหายสะ
    หมายถึง [-หายะสะ] น. ฟ้า, อากาศ. (ป., ส.).
  41. วิหาร,วิหาร-
    หมายถึง [วิหาน, วิหาระ-] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อนในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
  42. วิหารคด
    หมายถึง น. วิหารที่มีลักษณะคดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมี ๔ มุม และประดิษฐานพระพุทธรูป, สิ่งก่อสร้างที่คดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม.
  43. วิหารทิศ
    หมายถึง น. วิหารที่สร้างออกมาทั้ง ๔ ด้านของพระสถูปหรือพุทธเจดีย์ เช่น วิหารทิศวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, วิหารที่อยู่ตรงกลางของพระระเบียงทั้ง ๔ ด้าน เช่น วิหารทิศวัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม.
  44. วิหารธรรม
    หมายถึง [วิหาระทำ] น. ธรรมประจำใจ.
  45. วิหารยอด
    หมายถึง น. วิหารที่มียอดเป็นรูปทรงต่าง ๆ, ถ้ายอดทรงเจดีย์ เรียกว่า วิหารยอดเจดีย์, ถ้ายอดทรงปรางค์ เรียกว่า วิหารยอดปรางค์.
  46. วิหารราย
    หมายถึง น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายในพุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร.
  47. วิหารหลวง
    หมายถึง น. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตำบลเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
  48. วิหารแกลบ
    หมายถึง [-แกฺลบ] น. วิหารเล็ก ๆ.
  49. วิหิงสะ,วิหิงสา,วิเหสา
    หมายถึง น. ความเบียดเบียน; การทำร้าย. (ป. วิหึสา, วิเหสา; ส. วิหึส).
  50. วิฬังค์
    หมายถึง น. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสำหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).
  51. วิฬาร
    หมายถึง น. แมว. (ป.).
  52. วิฬาร์
    หมายถึง น. แมว. (ป.).
  53. วิเคราะห์
    หมายถึง ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
  54. วิเชียร
    หมายถึง น. วชิระ, สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์.
  55. วิเทวษ
    หมายถึง [-ทะเวด] น. ความเป็นข้าศึก, ความเกลียด, ความปองร้าย. (ส. วิเทฺวษ; ป. วิทฺเทส).
  56. วิเทศ
    หมายถึง น. ต่างประเทศ. (ป., ส.).
  57. วิเทศสัมพันธ์
    หมายถึง [วิเทด-] น. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ.
  58. วิเทโศบาย
    หมายถึง น. นโยบายการต่างประเทศ.
  59. วิเนต
    หมายถึง ก. นำ, ชี้, ฝึกหัด, สั่งสอน, อบรม. (ป.).
  60. วิเภตก์,วิเภทก์
    หมายถึง น. สมอพิเภก. (ป.).
  61. วิเมลือง
    หมายถึง [วิมะเลือง] (โบ) ว. สุกใสยิ่ง, งามยิ่ง, อร่ามยิ่ง.
  62. วิเยน
    หมายถึง น. ขันที. (ช.).
  63. วิเรนทร์
    หมายถึง น. จอมนักรบ, พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. วีร + อินฺทฺร).
  64. วิเลป,วิเลป-,วิเลปนะ
    หมายถึง [วิเลบ, วิเลปะ-, วิเลปะนะ] น. การทา, การลูบไล้; เครื่องลูบไล้. (ป., ส.).
  65. วิเวก
    หมายถึง ว. เงียบสงัดทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ, เงียบสงัดทำให้รู้สึกวังเวงใจ, เช่น อยู่ในวิเวก รู้สึกวิเวกวังเวงใจ. (ป.).
  66. วิเศษ
    หมายถึง ว. ยอดเยี่ยม, เลิศลอย, เช่น อาหารร้านนี้วิเศษมาก; ยอดเยี่ยมในทางวิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว, เช่น พรมวิเศษ ของวิเศษ ดาบวิเศษ. (ส.; ป. วิเสส).
  67. วิเศษณ,วิเศษณ-,วิเศษณ์
    หมายถึง [วิเสสะนะ-, วิเสด] (ไว) น. คำจำพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทำดี ดีมาก. (ส.).
  68. วิเศษณการก
    หมายถึง [วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.
  69. วิเสท
    หมายถึง [-เสด] น. ผู้ทำกับข้าวของหลวง.
  70. วิโนทก
    หมายถึง น. ผู้บรรเทา. (ป., ส.).
  71. วิโมกข์
    หมายถึง น. ความหลุดพ้น, การขาดจากความพัวพันแห่งโลก; พระนิพพาน. (ป.; ส. วิโมกฺษ).
  72. วิโยค
    หมายถึง น. การจากไป, การพลัดพราก, ความร้าง, ความห่างเหิน. (ป., ส.).
  73. วิโรค
    หมายถึง ว. ไม่เจ็บไข้, ปราศจากโรค. (ป.).
  74. วิโรจ,วิโรจน์
    หมายถึง ว. สว่าง, แจ่มใส, รุ่งเรือง. (ป., ส.).
  75. วิโรฒ
    หมายถึง ว. งอกงาม. (ส. วิรูฒ; ป. วิรุฬฺห).
  76. วิโรธ
    หมายถึง น. พิโรธ.
  77. วิโลก,วิโลกนะ
    หมายถึง [วิโลกะนะ] ก. แลดู, ตรวจตรา. (ป., ส.).
  78. วิโลจนะ
    หมายถึง [วิโลจะนะ] น. ดวงตา. (ป., ส.).
  79. วิโลม
    หมายถึง ว. ย้อนขน, ทวนกลับ, ผิดธรรมดา. (ป., ส.).
  80. วิไล
    หมายถึง ว. งาม เช่น งามวิไล.
  81. วิไลวรรณ
    หมายถึง น. สีงาม, ผิวงาม.
  82. วิ่ง
    หมายถึง ก. ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน เช่น คนวิ่งไปวิ่งมา ม้าวิ่งในสนาม, แล่นไปโดยเร็ว เช่น เรือวิ่งข้ามฟาก รถวิ่งไปตามถนน; (ปาก) วิ่งเต้น. น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งให้เร็วที่สุดเพื่อให้ถึงหลักชัยก่อน ตามระยะทางที่กำหนด เช่น วิ่ง ๑๐๐ เมตร วิ่ง ๔๐ เมตร.
  83. วิ่งกระสอบ
    หมายถึง น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบวิ่งแข่งกัน ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งสวมกระสอบ ก็ว่า.
  84. วิ่งกระโดดข้ามรั้ว,วิ่งข้ามรั้ว
    หมายถึง น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
  85. วิ่งควาย
    หมายถึง ก. ให้ควายวิ่งแข่งกันโดยมีคนขี่บนหลัง.
  86. วิ่งงัว,วิ่งวัว
    หมายถึง ก. ให้คน ๒ คนวิ่งแข่งกัน.
  87. วิ่งทน
    หมายถึง ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งมาราธอน ก็ว่า.
  88. วิ่งผลัด
    หมายถึง น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรกจะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่งถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
  89. วิ่งมาราธอน
    หมายถึง ก. วิ่งแข่งระยะทางไกล กำหนดระยะทางตามมาตรฐานการแข่งขันโอลิมปิก คือ ๒๖ ไมล์ ๓๘๕ หลา หรือ ๔๑.๘ กิโลเมตร, วิ่งทน ก็ว่า.
  90. วิ่งม้า
    หมายถึง ก. ให้ม้าวิ่งแข่งพนันกัน.
  91. วิ่งรอก
    หมายถึง ก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอกทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทำให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือคืนเดียวกันให้ทันกำหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวนหาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.
  92. วิ่งระแบง
    หมายถึง ก. วิ่งเล่น. (ข. ละแบง ว่า การเล่น).
  93. วิ่งราว
    หมายถึง ก. แย่งเอาสิ่งของแล้ววิ่งหนีไป เช่น วิ่งราวกระเป๋าถือ.
  94. วิ่งวัว
    หมายถึง ก. ให้คน ๒ คนวิ่งแข่งกัน, วิ่งงัว ก็ว่า.
  95. วิ่งวิบาก
    หมายถึง น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่งระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับการแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
  96. วิ่งว่าว
    หมายถึง ก. ชักว่าวขึ้นแล้วพาสายว่าววิ่งไปเพื่อให้ว่าวติดลมสูงขึ้น (ใช้แก่ว่าวตัวเล็ก ๆ).
  97. วิ่งสวมกระสอบ
    หมายถึง น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบวิ่งแข่งกัน ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งกระสอบ ก็ว่า.
  98. วิ่งสามขา
    หมายถึง น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวาของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.
  99. วิ่งเก็บของ
    หมายถึง ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้วไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
  100. วิ่งเต้น
    หมายถึง ก. พยายามติดต่ออย่างเต็มที่เพื่อขอความสนับสนุนช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์ เช่น วิ่งเต้นฝากงาน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 9)"