พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 8)

  1. วิบุล,วิบูล
    หมายถึง ว. เต็ม, กว้างขวาง, มาก, ใช้ว่า วิบุลย์ หรือ วิบูลย์ ก็มี. (ป., ส. วิปุล).
  2. วิบุลย์,วิบูลย์
    หมายถึง ดู วิบุล, วิบูล.
  3. วิปการ,วิประการ
    หมายถึง [วิปะกาน, วิปฺระกาน] ก. ผิดฐานะ, ไม่เหมาะสม. (ป. วิปฺปการ; ส. วิปฺรการ ว่า ประทุษร้าย, แก้แค้น).
  4. วิปฏิสาร,วิประติสาร
    หมายถึง [วิบปะติสาน, วิปฺระ-] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทำผิด หรือเนื่องด้วยการกระทำผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).
  5. วิประลาป,วิปลาป
    หมายถึง [วิปฺระลาบ, วิบปะ-] น. การพูดเพ้อ, การพูดพรํ่า; การทุ่มเถียง, การโต้ตอบ; การอ้อนวอน, การพรํ่าบ่น. (ป. วิปฺปลาป; ส. วิปฺรลาป).
  6. วิประวาส,วิปวาส
    หมายถึง [วิปฺระวาด, วิบปะ-] น. การพลัดพราก, การจากไป, การไปอยู่ที่อื่น. (ป. วิปฺปวาส; ส. วิปฺรวาส).
  7. วิประโยค
    หมายถึง [วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
  8. วิปริต
    หมายถึง [วิปะหฺริด, วิบปะหฺริด] ก. แปรปรวน, ผิดปรกติ, ผิดแนวทาง, แปรปรวนไปข้างร้าย, กลับกลายไปข้างร้าย. (ป.; ส. วิปรีต).
  9. วิปลาส
    หมายถึง [วิปะลาด, วิบปะลาด] ก. คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น สติวิปลาส ตัวอักษรวิปลาส สัญญาวิปลาส. (ป. วิปลฺลาส, วิปริยาส; ส. วิปรฺยาส).
  10. วิปักษ์
    หมายถึง น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู, ปรปักษ์. (ส.; ป. วิปกฺข).
  11. วิปัสสก
    หมายถึง น. ผู้เห็นแจ้ง. (ป.).
  12. วิปัสสนา
    หมายถึง [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
  13. วิปัสสนาธุระ
    หมายถึง น. การเรียนวิปัสสนา, คู่กับ คันถธุระ การเรียนคัมภีร์ปริยัติ. (ป. วิปสฺสนา + ธุร).
  14. วิปัสสนายานิก
    หมายถึง น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
  15. วิปโยค
    หมายถึง [วิบปะโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
  16. วิพากษ์
    หมายถึง ก. พิจารณาตัดสิน. (ส. วิวกฺษา; เทียบ วิวาก ว่า ผู้พิพากษา).
  17. วิพากษ์วิจารณ์
    หมายถึง ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  18. วิพิธทัศนา
    หมายถึง [วิพิดทัดสะนา] น. การแสดงหลาย ๆ อย่างที่แสดงต่อเนื่องในสถานที่แสดงเดียวกัน.
  19. วิพุธ
    หมายถึง น. ผู้รู้, นักปราชญ์. (ป., ส.).
  20. วิภว,วิภว-
    หมายถึง [-พะวะ-] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).
  21. วิภวตัณหา
    หมายถึง น. ความปรารถนาในความไม่มีไม่เป็น. (ป.).
  22. วิภังค์
    หมายถึง น. การจำแนก, การแบ่ง; ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ แห่งพระอภิธรรมปิฎก. (ป., ส.).
  23. วิภัช,วิภัช-
    หมายถึง [-พัด, -พัดชะ-] ก. แบ่ง, แยก, จำแนก. (ป., ส.).
  24. วิภัชพยากรณ์
    หมายถึง น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  25. วิภัชวาที
    หมายถึง น. ผู้จำแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคำนึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  26. วิภัตติ
    หมายถึง [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
  27. วิภา
    หมายถึง น. รัศมี, แสงสว่าง, ความแจ่มแจ้ง, ความสุกใส, ความงดงาม. (ป., ส.).
  28. วิภาค
    หมายถึง น. การแบ่ง, การจำแนก; ส่วน, ตอน. (ป., ส.).
  29. วิภาช
    หมายถึง ก. วิภัช.
  30. วิภาดา
    หมายถึง ว. สว่าง. (ป. วิภาตา).
  31. วิภาวี
    หมายถึง น. ผู้รู้แจ้งชัด, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิภาวินฺ).
  32. วิภาษ
    หมายถึง ก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ).
  33. วิภาส
    หมายถึง ก. ส่องสว่าง, มีแสงสว่าง. (ส. วิภาสา ว่า แสง).
  34. วิภู
    หมายถึง น. ผู้ครอง, พระเจ้าแผ่นดิน. ว. ยิ่งใหญ่, มีอำนาจ; แข็งแรง. (ป., ส.).
  35. วิภูษณะ
    หมายถึง [วิพูสะ-] น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสน).
  36. วิภูษา
    หมายถึง น. เครื่องประดับ, เครื่องแต่ง. (ส.; ป. วิภูสา).
  37. วิภูษิต
    หมายถึง ว. แต่งแล้ว, ประดับแล้ว. (ส.; ป. วิภูสิต).
  38. วิมน
    หมายถึง ว. ใจคอวิปริต, เคลือบแคลง; ไม่พอใจ, ไม่สนใจ. (ป.).
  39. วิมล
    หมายถึง ว. ปราศจากมลทิน, ไม่มีตำหนิ, ใส, สะอาด, บริสุทธิ์, กระจ่าง, งาม. (ป., ส.).
  40. วิมลัก
    หมายถึง [วิมะ-] (โบ) ว. รักยิ่ง.
  41. วิมลาก
    หมายถึง [วิมะ-] (โบ) ว. มากยิ่ง.
  42. วิมังสา
    หมายถึง น. การสอบสวน, ความไตร่ตรอง, ความพิจารณา. (ป. วีมํสา; ส. มีมำสา).
  43. วิมัติ
    หมายถึง น. ความเคลือบแคลง, ความสงสัย. (ป., ส. วิมติ).
  44. วิมาน
    หมายถึง น. ที่อยู่หรือที่ประทับของเทวดา; ยานทิพย์. (ป., ส.).
  45. วิมุข
    หมายถึง [-มุก] ว. กลับหน้า; เพิกเฉย; ข้างหลัง, ฝ่ายหลัง. (ป., ส.).
  46. วิมุต
    หมายถึง [-มุด] ก. พ้น, หลุดพ้น. (ป. วิมุตฺต; ส. วิมุกฺต).
  47. วิมุตติ
    หมายถึง [วิมุด, วิมุดติ] น. ความหลุดพ้น; ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. (ป.; ส. วิมุกฺติ).
  48. วิร,วิร-,วิระ
    หมายถึง [วิระ-] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร; ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).
  49. วิรงรอง
    หมายถึง น. พลับพลึง, วิรังรอง ก็ว่า. (ช.).
  50. วิรตะ,วิรัต
    หมายถึง ว. ปราศจากความยินดี, ไม่ยินดี. (ป. วิรตฺต; ส. วิรกฺต).
  51. วิรมณะ
    หมายถึง [วิระมะ-] น. การงดเว้น, การตัดความยินดี. (ป.).
  52. วิรวะ,วิราวะ
    หมายถึง [วิระ-] น. การร้อง, การเปล่งเสียง, การตะโกน; เสียงเกรียวกราว, เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).
  53. วิรังรอง
    หมายถึง น. พลับพลึง, วิรงรอง ก็ว่า. (ช.).
  54. วิรัช
    หมายถึง ว. ปราศจากธุลี, ไม่มีมลทิน, บริสุทธิ์, สะอาด. (ป., ส.).
  55. วิรัช
    หมายถึง (แบบ) ว. ต่างประเทศ. (ป. วิรชฺช).
  56. วิรัติ
    หมายถึง [-รัด] ก. งดเว้น, เลิก. น. การงดเว้น, การเลิก, เช่น มังสวิรัติ สุราวิรัติ. (ป., ส. วิรติ).
  57. วิราคะ
    หมายถึง น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
  58. วิราม
    หมายถึง ว. งาม.
  59. วิริยภาพ
    หมายถึง น. ความเพียร, ความบากบั่น; ความกล้า.
  60. วิริยะ
    หมายถึง น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).
  61. วิรุธ
    หมายถึง ว. พิรุธ. (ป., ส.).
  62. วิรุฬหก
    หมายถึง [-รุนหก] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศทักษิณ. (ป.).
  63. วิรุฬห์
    หมายถึง ว. เจริญ, งอกงาม. (ป.; ส. วิรูฒ).
  64. วิรูป
    หมายถึง ว. น่าเกลียด, พิการ, ไม่น่าดู. (ป., ส.).
  65. วิรูปักษ์
    หมายถึง น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศประจิม. (ป. วิรูปกฺข).
  66. วิลย,วิลย-,วิลัย
    หมายถึง [วิละยะ-, วิไล] น. ความย่อยยับ, การสลาย, การทำให้สลาย. (ป., ส.).
  67. วิลันดา
    หมายถึง น. ชาวดัตช์, ชาวฮอลันดา. (ม.).
  68. วิลาด,วิลาศ
    หมายถึง ว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคำที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียกชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).
  69. วิลาป
    หมายถึง ก. พิลาป. (ป., ส.).
  70. วิลาวัณย์
    หมายถึง ว. งามยิ่ง, งามเลิศ. (ส. วิ + ลาวณฺย).
  71. วิลาส
    หมายถึง ว. พิลาส, งามมีเสน่ห์, งามอย่างสดใส. (ป., ส.).
  72. วิลาสินี
    หมายถึง ว. งามอย่างสดใส, งามมีเสน่ห์ เช่น อันว่าเจ้ามัทรีวิลาสินีนงราม. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ส.).
  73. วิลิปดา
    หมายถึง น. พิลิปดา.
  74. วิลิศมาหรา
    หมายถึง (ปาก) ว. หรูหรา เช่น แต่งตัววิลิศมาหรา.
  75. วิวรณ์
    หมายถึง น. การเปิด, การเผยแผ่, การไขความ. (ป., ส.).
  76. วิวรรธน์
    หมายถึง น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).
  77. วิวระ
    หมายถึง [-วะ-] น. ช่อง, ปล่อง, เหว, รู, โพรง; ความผิด. (ป., ส.).
  78. วิวัฏ
    หมายถึง น. พระนิพพาน. (ป. วิวฏฺฏ).
  79. วิวัฒน,วิวัฒน-,วิวัฒน์
    หมายถึง [-วัดทะนะ-, -วัด] น. ความเจริญรุ่งเรือง, ความคลี่คลายไปในทางเจริญ. (ป. วิวฑฺฒน; ส. วิวรฺธน)
  80. วิวัฒนาการ
    หมายถึง [วิวัดทะนากาน] น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ภาวะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เช่น วิวัฒนาการแห่งมนุษยชาติ วิวัฒนาการแห่งศิลปวัฒนธรรม.
  81. วิวัน
    หมายถึง น. ที่เปล่าเปลี่ยว. (ป.).
  82. วิวาท
    หมายถึง ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).
  83. วิวาห,วิวาห-,วิวาห์,วิวาหะ
    หมายถึง [วิวาหะ-] น. “การพาออกไป” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะต้องถูกนำไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลำพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  84. วิวาหมงคล
    หมายถึง น. พิธีแต่งงาน, งานสมรส, เช่น ขอเชิญหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ในงานวิวาหมงคล.
  85. วิวิจ
    หมายถึง ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิจฺจ).
  86. วิวิต
    หมายถึง ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิตฺต, ส. วิวิกฺต).
  87. วิวิธ
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ กัน. (ป., ส.).
  88. วิศรุต
    หมายถึง [วิดสะรุด] ว. มีชื่อเสียง, ปรากฏ. (ส. วิศฺรุต; ป. วิสฺสุต).
  89. วิศว,วิศว-
    หมายถึง [วิดสะวะ-] ว. ทั้งหมด, ทั้งปวง. (ส. วิศฺว; ป. วิสฺส).
  90. วิศวกร
    หมายถึง [วิดสะวะกอน] น. ผู้ประกอบงานวิศวกรรม.
  91. วิศวกรรม
    หมายถึง [วิดสะวะกำ] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชำนาญในการช่างทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
  92. วิศวกรรมศาสตร์
    หมายถึง [วิดสะวะกำมะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).
  93. วิศัลย์
    หมายถึง ว. ปราศจากความเสียดแทง, ไม่ทุกข์ร้อน. (ส.; ป. วิสลฺล).
  94. วิศาข,วิศาข-,วิศาขะ,วิศาขา,วิศาขา
    หมายถึง น. ชื่อเดือนที่ ๖ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนพฤษภาคม, ถ้าในปีอธิกมาสจะตกราวเดือนมิถุนายน. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
  95. วิศาขบูชา
    หมายถึง น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. (ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).
  96. วิศาขา,วิศาขา,วิสาขะ,วิสาขะ
    หมายถึง น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
  97. วิศางค์
    หมายถึง น. ๑ ใน ๒๐ ของเฟื้อง. (ส. วีศ + องฺค).
  98. วิศาล
    หมายถึง ว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ส.; ป. วิสาล).
  99. วิศิษฏ์
    หมายถึง ว. เลิศ, ยอดเยี่ยม, เด่น, ดียิ่ง, ประเสริฐ. (ส. วิศิษฺฏ; ป. วิสิฏฺ).
  100. วิศุทธ์,วิศุทธิ์
    หมายถึง ว. วิสุทธ์, วิสุทธิ์. (ส.; ป. วิสุทฺธ, วิสุทฺธิ).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 8)"