พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 7)

  1. วิชาเลือกบังคับ
    หมายถึง น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียนเป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
  2. วิชาเลือกเสรี
    หมายถึง น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้องถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
  3. วิชาเอก
    หมายถึง น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งเป็นวิชาหลัก ตามหลักสูตรปริญญาหรืออนุปริญญา. (อ. major course).
  4. วิชาแกน
    หมายถึง น. รายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรร่วมกันของหลายคณะหรือหลายสาขาของปริญญาเดียวกัน ที่ผู้เรียนในคณะหรือสาขาเหล่านั้นจะต้องเรียน. (อ. core course).
  5. วิชาโท
    หมายถึง น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งรองลงมาจากวิชาเอก. (อ. minor course).
  6. วิชิต
    หมายถึง น. เขตแดนที่ปราบปรามแล้ว. ว. ปราบให้แพ้, ชนะแล้ว. (ป.; ส. วิชิต ว่า ถูกปราบ, ชนะ).
  7. วิญญัตติ
    หมายถึง [วินยัดติ] น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน. (ป.; ส. วิชฺปฺติ).
  8. วิญญาณ
    หมายถึง น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺาน).
  9. วิญญาณกทรัพย์
    หมายถึง [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  10. วิญญู
    หมายถึง น. ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์. (ป.; ส. วิชฺ).
  11. วิญญูชน
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
  12. วิญญูภาพ
    หมายถึง น. ความเป็นผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
  13. วิฑูรย์
    หมายถึง น. ไพฑูรย์.
  14. วิณหุ
    หมายถึง [วินหุ] น. วิษณุ.
  15. วิด
    หมายถึง ก. อาการที่ทำให้นํ้าพร่องหรือหมดไปด้วยวิธีวัก สาด หรือด้วยเครื่องวิดมีระหัดเป็นต้น เช่น วิดน้ำออกจากเรือ วิดน้ำออกจากบ้าน, ถ้าใช้วิธีอย่างเดียวกันนั้นถ่ายเทนํ้าจากที่หนึ่งเข้าสู่อีกที่หนึ่ง ใช้ว่า วิดเข้า เช่น วิดนํ้าเข้านา.
  16. วิดพื้น
    หมายถึง (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไปอยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
  17. วิดัสดี
    หมายถึง [วิดัดสะดี] น. วิทัตถิ, คืบหนึ่ง. (ส. วิตสฺติ; ป. วิทตฺถิ).
  18. วิตก,วิตก-
    หมายถึง [วิตกกะ-, วิ-ตก-] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิดสงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวลไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).
  19. วิตกจริต
    หมายถึง [วิตกกะจะหฺริด, วิตกจะหฺริด] ว. มีนิสัยคิดไปในทางร้ายทางเสีย. (ป.).
  20. วิตถาร
    หมายถึง [วิดถาน] ว. กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร. (ป.; ส. วิสฺตาร); นอกแบบ, นอกทาง, (เกินวิสัยปรกติ) เช่น พวกเด็ก ๆ ชอบเล่นวิตถาร เอาน้ำสกปรกผสมแป้งสาดเข้าไปในรถประจำทางในวันสงกรานต์.
  21. วิตามิน
    หมายถึง น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการแต่เพียงจำนวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วยต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
  22. วิถี
    หมายถึง น. สาย, แนว, ถนน, ทาง, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วิถีทาง วิถีชีวิต บาทวิถี. (ป., ส. วีถิ).
  23. วิถีกระสุน
    หมายถึง น. ทางแห่งกระสุน, กระสุนวิถี ก็ว่า.
  24. วิถีชีวิต
    หมายถึง น. ทางดำเนินชีวิต เช่น วิถีชีวิตชาวบ้าน.
  25. วิถีทาง
    หมายถึง น. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบความสำเร็จ.
  26. วิทธะ
    หมายถึง (แบบ) ว. เจาะ, แทง, ฉีกขาด, เป็นแผล, เป็นรู, แตก. (ป., ส.).
  27. วิทย,วิทย-
    หมายถึง [วิดทะยะ-] น. วิทยา.
  28. วิทยฐานะ
    หมายถึง น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี.
  29. วิทยา
    หมายถึง [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
  30. วิทยากร
    หมายถึง น. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).
  31. วิทยากล
    หมายถึง น. การแสดงที่อาศัยกลวิธีและความไวทำให้ผู้ชมสนเท่ห์.
  32. วิทยาการ
    หมายถึง น. ความรู้แขนงต่าง ๆ เช่น ปัจจุบันวิทยาการต่าง ๆ ก้าวหน้าไปมาก, บางทีใช้ว่า ศิลปวิทยาการ.
  33. วิทยาคม
    หมายถึง น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคมให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า. (ส.).
  34. วิทยาคาร
    หมายถึง น. สถานที่ให้ความรู้.
  35. วิทยาทาน
    หมายถึง น. การให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน จัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นวิทยาทาน.
  36. วิทยาธร
    หมายถึง น. พิทยาธร. (ส.).
  37. วิทยานิพนธ์
    หมายถึง น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  38. วิทยาลัย
    หมายถึง น. สถานศึกษาในระดับสูง สอนวิชาชีพเฉพาะอย่าง เช่น วิทยาลัยเทคนิค. (ส.).
  39. วิทยาศาสตร์
    หมายถึง น. ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ.
  40. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
    หมายถึง น. ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การพลังงาน การควบคุมรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม และการวิจัย.
  41. วิทยาศาสตร์กายภาพ
    หมายถึง น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์.
  42. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
    หมายถึง น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์.
  43. วิทยาศาสตร์ประยุกต์
    หมายถึง น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทางทฤษฎี เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์.
  44. วิทยาเขต
    หมายถึง น. ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่ตั้งอยู่ในบริเวณอื่น มีคณาจารย์ อาคาร สถานที่ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตนเอง เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยโดยมีอธิการบดีคนเดียวกัน และสภามหาวิทยาลัยชุดเดียวกัน.
  45. วิทยุ
    หมายถึง [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตามอากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียงตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
  46. วิทยุกระจายเสียง
    หมายถึง น. การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุ.
  47. วิทยุคมนาคม
    หมายถึง น. การส่งหรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  48. วิทยุต
    หมายถึง [วิดทะยุด] น. ฟ้าแลบ, ไฟฟ้า. (ส.; ป. วิชฺชุ).
  49. วิทยุติดตามตัว
    หมายถึง น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
  50. วิทยุประจำที่
    หมายถึง น. วิทยุคมนาคมระหว่าง ๒ จุดที่กำหนดซึ่งอยู่ประจำที่.
  51. วิทยุมือถือ
    หมายถึง น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถใช้มือถือในขณะใช้งานได้.
  52. วิทยุสนาม
    หมายถึง น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในงานสนามหรือในราชการทหาร.
  53. วิทยุสมัครเล่น
    หมายถึง น. วิทยุคมนาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายศึกษาหาความรู้ให้ตนเองโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางพาณิชย์.
  54. วิทยุสาธารณะ
    หมายถึง น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่จัดให้ประชาชนโดยทั่วไปใช้บริการได้เป็นการสาธารณะ.
  55. วิทยุเคลื่อนที่
    หมายถึง น. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมแบบเคลื่อนที่ได้กับสถานีวิทยุคมนาคมแบบประจำที่ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมแบบเคลื่อนที่ได้ด้วยกันเอง.
  56. วิทยุเฉพาะกิจ
    หมายถึง น. การติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องรับส่งวิทยุที่ใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะและไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้เป็นการสาธารณะ.
  57. วิทยุเทเลกซ์
    หมายถึง น. การรับส่งโทรพิมพ์ผ่านชุมสายโดยใช้คลื่นวิทยุ.
  58. วิทยุเรือ
    หมายถึง น. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมชายฝั่งกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเรือด้วยกันเอง.
  59. วิทยุโทรทัศน์
    หมายถึง น. การแพร่สัญญาณโทรทัศน์ออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุ.
  60. วิทยุโทรพิมพ์
    หมายถึง น. การรับส่งโทรพิมพ์โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  61. วิทยุโทรภาพ
    หมายถึง น. การรับส่งโทรภาพโดยใช้คลื่นวิทยุ.
  62. วิทยุโทรศัพท์
    หมายถึง น. การเรียกติดต่อโทรศัพท์โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  63. วิทยุโทรเลข
    หมายถึง น. การรับส่งโทรเลขโดยใช้คลื่นวิทยุ.
  64. วิทรุมะ
    หมายถึง [วิดทฺรุมะ] น. แก้วประพาฬสีแดง. (ส. วิทฺรุม).
  65. วิทวัส
    หมายถึง [วิดทะวัด] น. ผู้รู้, นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา. (ส.; ป. วิทฺวา).
  66. วิทัตถิ
    หมายถึง น. ชื่อมาตราวัด คือ คืบหนึ่ง. (ป.; ส. วิตสฺติ).
  67. วิทัศน์
    หมายถึง น. การมองการณ์ไกล, วิสัยทัศน์. (อ. vision).
  68. วิทารณ์
    หมายถึง น. การผ่า, การตัด. (ป., ส.).
  69. วิทาลน์
    หมายถึง น. การเปิด, การระเบิด; การผ่า, การฉีก. (ป.).
  70. วิทิต
    หมายถึง น. ผู้คงแก่เรียน, ผู้รู้. (ป., ส.).
  71. วิทู
    หมายถึง น. ผู้ฉลาด, ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้ชำนาญ. (ป.).
  72. วิทูร
    หมายถึง ว. ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชำนาญ. (ป., ส. วิทุร).
  73. วิทูร
    หมายถึง ว. ไกล, ห่าง, พ้นออกไป. (ป., ส.).
  74. วิธ,วิธา
    หมายถึง น. อย่าง, ชนิด. (ป.).
  75. วิธวา
    หมายถึง [วิทะ-] น. หญิงม่าย. (ป., ส.).
  76. วิธาน
    หมายถึง น. การจัดแจง, การทำ; กฎ, เกณฑ์, ข้อบังคับ; พิธี, ธรรมเนียม. (ป., ส.).
  77. วิธี
    หมายถึง น. ทำนองหรือหนทางที่จะทำ เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอนคณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
  78. วิธีการ
    หมายถึง น. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์มีหลายวิธี.
  79. วิธุระ
    หมายถึง [วิทุ-] ว. เปลี่ยว, ว้าเหว่. (ป., ส.).
  80. วิธู
    หมายถึง น. พระจันทร์. (ป., ส. วิธุ).
  81. วิธูปนะ
    หมายถึง [-ทูปะนะ] น. พัด. (ป., ส.).
  82. วินตกะ
    หมายถึง [วินตะกะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  83. วินย,วินย-,วินัย
    หมายถึง [วินะยะ-] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
  84. วินันตู
    หมายถึง น. น้องเขย. (ช.).
  85. วินัยธร
    หมายถึง [วิไนทอน] น. ภิกษุผู้ชำนาญวินัย. (ป.).
  86. วินัยปิฎก
    หมายถึง [วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
  87. วินาที
    หมายถึง น. ส่วน ๑ ใน ๖๐ ของนาที.
  88. วินายก
    หมายถึง น. ผู้ขจัดสิ่งขัดข้อง, พระวิฆเนศวร; พระพุทธเจ้า. (ป., ส.).
  89. วินาศ,วินาศ-
    หมายถึง [วินาด, วินาดสะ-] น. ความฉิบหาย. (ส.).
  90. วินาศกรรม
    หมายถึง [วินาดสะกำ] น. การลอบทำลายหรือเผาผลาญทรัพย์สินโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ของนายจ้างหรือของศัตรู เช่น ในกรณีที่เกิดพิพาทกันขึ้นระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือเพื่อตัดกำลังฝ่ายศัตรูเมื่อทำสงครามกันโดยตรงหรือโดยปริยาย.
  91. วินาศภัย
    หมายถึง [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
  92. วินาศสันตะโร
    หมายถึง [วินาด-] (ปาก) ว. ความเสียหายป่นปี้ เช่น รถชนกันวินาศสันตะโร.
  93. วินาศสันติ
    หมายถึง [วินาด-] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
  94. วินิจ
    หมายถึง ก. ตรวจตรา, พิจารณา.
  95. วินิจฉัย
    หมายถึง ก. ตัดสิน, ชี้ขาด, เช่น เรื่องนี้วินิจฉัยได้ ๒ ทาง; ไตร่ตรอง, ใคร่ครวญ, เช่น คณะกรรมการขอเลื่อนเวลาออกไปอีกเพื่อวินิจฉัยปัญหาให้รอบคอบยิ่งขึ้น. (ป.).
  96. วินิต
    หมายถึง ก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
  97. วินิบาต
    หมายถึง น. การทำลาย, การฆ่า, เช่น วินิบาตกรรม; ภพที่ต้องโทษ, ภพที่รับทุกข์, เช่น ทุคติวินิบาต. (ป., ส.).
  98. วินิปาติก
    หมายถึง น. ผู้ตกอยู่ในอบาย, ผู้ถูกทรมาน. (ป.).
  99. วิบัติ
    หมายถึง น. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ. ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).
  100. วิบาก
    หมายถึง น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 7)"