พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 6)

  1. วาลิกา,วาลุกา
    หมายถึง น. กรวด, ทราย. (ป., ส.).
  2. วาล์ว
    หมายถึง น. อุปกรณ์ชนิดหนึ่งในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน ทำหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิดเป็นจังหวะ ชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอดี สำหรับให้อากาศหรืออากาศผสมนํ้ามันเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ อีกชุดหนึ่งเรียกว่า ลิ้นไอเสีย สำหรับให้แก๊สต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากห้องเผาไหม้ไปสู่ท่อไอเสีย, ลิ้น ก็เรียก. (อ. valve).
  3. วาว
    หมายถึง ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดูวาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
  4. วาววับ
    หมายถึง ว. มีประกายแวววาว เช่น เสื้อปักดิ้นเดินทองวาววับ.
  5. วาววาม
    หมายถึง ว. เป็นแสงวูบวาบ เช่น แสงเพชรวาววาม.
  6. วาวแวว
    หมายถึง ว. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น แหวนเพชรวงนี้มีน้ำวาวแวว, แวววาม หรือ แวววาว ก็ว่า.
  7. วาวแสง
    หมายถึง ว. มีแสงวาว.
  8. วาสนะ
    หมายถึง [วาสะ-] น. การอบ, การทำให้หอม; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
  9. วาสนะ
    หมายถึง [วาสะ-] น. การนุ่งห่ม, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  10. วาสนา
    หมายถึง [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
  11. วาสพ
    หมายถึง [วาสบ] น. พระอินทร์. (ส., ป. วาสว).
  12. วาสะ
    หมายถึง น. ผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  13. วาสะ
    หมายถึง น. การอบ; เครื่องหอม, นํ้าหอม. (ป., ส.).
  14. วาสะ
    หมายถึง น. การอยู่, การพัก; ที่อยู่, บ้าน. (ป., ส.).
  15. วาสิน,วาสี,วาสี
    หมายถึง น. ผู้อยู่, ผู้ครอง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น คามวาสี = ผู้อยู่บ้าน อรัญวาสี = ผู้อยู่ป่า. (ป., ส.).
  16. วาสี
    หมายถึง น. มีด, พร้า. (ป., ส.).
  17. วาสุกรี,วาสุกี
    หมายถึง น. ชื่อพญานาคร้ายตนหนึ่ง; พญานาค. (ป., ส. วาสุกิ).
  18. วาสุเทพ
    หมายถึง น. ชื่อพระนารายณ์ปางพระกฤษณะ. (ส.).
  19. วาหนะ
    หมายถึง [วาหะ-] น. พาหนะ. (ป., ส.).
  20. วาหะ
    หมายถึง ดู พาห ๑, พ่าห์.
  21. วาหะ
    หมายถึง น. ชื่อมาตราตวงอย่างหนึ่ง. (ป., ส.).
  22. วาหินี
    หมายถึง น. ทัพ, กองทัพ; หมวด; แม่นํ้า, คลอง. (ส.).
  23. วาฬ
    หมายถึง [วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลาโผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.
  24. วาฬ,วาฬ,วาฬ-
    หมายถึง [วาน, วาละ-] น. พาฬ. (ป.; ส.วฺยาล).
  25. วาฬมิค
    หมายถึง น. พาฬมฤค, สัตว์ร้าย. (ป.).
  26. วาเนเดียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๒๓ สัญลักษณ์ V เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๙๐๐ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. vanadium).
  27. วาโมร
    หมายถึง [-โมน] น. คนป่า, คนรำ. (ช.).
  28. วาโย
    หมายถึง น. ลม. (ป. วายุ, วาโย; ส. วายุ).
  29. วาโยธาตุ
    หมายถึง น. ธาตุลม เป็นธาตุ ๑ ในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป.).
  30. วิ
    หมายถึง คำนำหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).
  31. วิกขัมภนะ
    หมายถึง [วิกขำพะ-] น. การปลดเปลื้อง, การเลิกถอน; การข่มไว้. (ป.).
  32. วิกขัมภ์
    หมายถึง [วิกขำ] น. เส้นผ่านศูนย์กลาง. (ป.).
  33. วิกจะ
    หมายถึง [-กะ-] ก. แย้ม, บาน. (ป., ส.).
  34. วิกรม
    หมายถึง [วิกฺรม] ก. เก่งกล้า, ก้าวล่วงไปด้วยความกล้าหาญ, มีชัยชนะ. (ส. วิกฺรม; ป. วิกฺกม).
  35. วิกรัย
    หมายถึง [วิไกฺร] น. การขาย. (ส. วิกฺรย; ป. วิกฺกย).
  36. วิกรานต์
    หมายถึง [วิกฺราน] ว. กล้าหาญ, มีชัยชนะ, ก้าวหน้า. (ส. วิกฺรานฺต).
  37. วิกฤต,วิกฤต-,วิกฤติ,วิกฤติ-
    หมายถึง [วิกฺริด, วิกฺริดตะ-,วิกฺริด, วิกฺริดติ-] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).
  38. วิกฤตการณ์,วิกฤติการณ์
    หมายถึง น. เหตุการณ์อันวิกฤติ เช่น เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง.
  39. วิกฤตกาล,วิกฤติกาล
    หมายถึง น. เวลาอันวิกฤติ เช่น ในวิกฤติกาลข้าวของมีราคาแพงและหาซื้อยาก.
  40. วิกล
    หมายถึง [วิกน] ว. ไม่ปรกติ, แปลกไป, ไม่สมบูรณ์, อ่อนแอ, เช่น รูปร่างวิกล หน้าตาวิกล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ วิการ เป็น วิกลวิการ เช่น รูปร่างวิกลวิการ. (ป., ส.).
  41. วิกลจริต
    หมายถึง [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติเพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะบ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
  42. วิกสิต
    หมายถึง [วิกะสิด] ก. บาน, แย้ม. (ป., ส.).
  43. วิกัต
    หมายถึง ว. วิกฤต. (ป. วิกต).
  44. วิกัติ
    หมายถึง [-กัด] น. ชนิด, อย่าง; การประดิษฐ์ทำ, การจัดทำให้เป็นต่าง ๆ กัน. (ป. วิกติ).
  45. วิกัติการก
    หมายถึง [วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  46. วิกัป
    หมายถึง [-กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คำแสดงความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
  47. วิกัย
    หมายถึง [-ไก] น. การขาย. (ป.; ส. วิกฺรย).
  48. วิการ
    หมายถึง ว. พิการ, ที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ วิกล เป็น วิกลวิการ. น. ความผันแปร. (ป., ส.).
  49. วิกาล,วิกาล-
    หมายถึง [วิกาน, วิกานละ-] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.).
  50. วิกาลโภชน์
    หมายถึง น. การกินอาหารในเวลาวิกาล คือ ผิดเวลา ซึ่งว่าตามพระวินัยกำหนดไว้ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น. (ป.).
  51. วิกเขป
    หมายถึง [วิกเขบ, วิกเขปะ] น. การเคลื่อนหรือแกว่งไปมา. (ป.; ส. วิกฺเษป).
  52. วิคหะ
    หมายถึง [วิกคะ-] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
  53. วิฆนะ
    หมายถึง [วิคะ-] น. การขัดขวาง, เครื่องขัดขวาง, อุปสรรค, ความขัดข้อง. (ส.).
  54. วิฆาต
    หมายถึง ก. พิฆาต. (ป., ส.).
  55. วิฆาส
    หมายถึง น. เดน, อาหารเหลือ. (ป.).
  56. วิฆเนศ,วิฆเนศวร
    หมายถึง [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่าถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
  57. วิง
    หมายถึง ก. หมุน, วน; รู้สึกหวิวใจ.
  58. วิงวอน
    หมายถึง ก. เฝ้าร้องขอ, รํ่าขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น วิงวอนขอชีวิต.
  59. วิงเวียน
    หมายถึง ก. รู้สึกเวียนหัวดูอะไรหมุนไปหมด มักมีอาการคลื่นไส้ด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยเกินไปจนรู้สึกวิงเวียนจะเป็นลม.
  60. วิจฉิกะ
    หมายถึง [วิด-] น. แมงป่อง, มักใช้ว่า พฤศจิก. (ป.; ส. วฺฤศฺจิก).
  61. วิจยุต
    หมายถึง [วิดจะยุด] ก. ตกไปแล้ว, หลุดไปแล้ว. (ส. วิจฺยุต).
  62. วิจรณะ
    หมายถึง [-จะระ-] ก. เที่ยวไป. (ป.).
  63. วิจล
    หมายถึง [วิจน] ว. อาการที่เคลื่อนไปมา, อาการที่หวั่นไหว, อาการที่ส่ายไปมา; วุ่นวาย, วุ่นใจ, เช่น ในสุรสถานดำหนักพน อย่ารู้วิจลสักอันเลย. (ม. คำหลวง จุลพน). (ส.).
  64. วิจักขณ์,วิจักษณ์
    หมายถึง ว. ที่รู้แจ้ง, ที่เห็นแจ้ง, ฉลาด, มีสติปัญญา, เชี่ยวชาญ, ชำนาญ. (ป. วิจกฺขณ; ส. วิจกฺษณ).
  65. วิจักษ์
    หมายถึง น. ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปกรรมและวรรณกรรม, ความนิยม, ความซาบซึ้ง, เช่น วรรณคดีวิจักษ์. (อ. appreciation).
  66. วิจัย
    หมายถึง น. การสะสม, การรวบรวม. (ป., ส.).
  67. วิจัย
    หมายถึง น. การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น วิจัยเรื่องปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร. ก. ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น เขากำลังวิจัยเรื่องมลพิษทางอากาศอยู่. ว. ที่ค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา เช่น งานวิจัย. (อ. research).
  68. วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์
    หมายถึง [วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  69. วิจารณญาณ
    หมายถึง [วิจาระนะยาน] น. ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องได้.
  70. วิจิ
    หมายถึง น. วีจิ, คลื่น, ลูกคลื่น. (ป., ส. วีจิ).
  71. วิจิกิจฉา
    หมายถึง [-กิดฉา] น. ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, ความไม่แน่ใจ. (ป.; ส. วิจิกิตฺสา).
  72. วิจิต
    หมายถึง ก. รวบรวม. (ส.); สังเกต, เห็นแจ้ง, รู้แจ้ง.
  73. วิจิตร
    หมายถึง [-จิด] ว. งามประณีต. (ส.; ป. วิจิตฺต).
  74. วิจิตรตระการตา
    หมายถึง [-จิดตฺระ-] ว. งามน่าตื่นตา เช่น ขบวนแห่รถบุปผชาติประดับประดาได้วิจิตรตระการตา.
  75. วิจิตรบรรจง
    หมายถึง [-จิดบันจง] ว. ลักษณะที่ตั้งอกตั้งใจทำอย่างประณีตงดงาม เช่น กวีนิพนธ์บทนี้แต่งอย่างวิจิตรบรรจง.
  76. วิจิตรพิศวง
    หมายถึง [-จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลายชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
  77. วิจิตรพิสดาร
    หมายถึง [-จิดพิดสะดาน] ว. ลักษณะที่ประดิษฐ์หรือตกแต่งจนบางทีเกินงาม เช่น ปราสาทจำลองในสวนสนุกตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร.
  78. วิจิตรรจนา
    หมายถึง [-จิดรดจะนา] ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา.
  79. วิจิตรศิลป์
    หมายถึง [-จิดตฺระสิน, -จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้านคุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
  80. วิจิน
    หมายถึง ก. เที่ยวหา, สืบเสาะ, ตรวจ; เก็บ, คัดเลือก. (ป.).
  81. วิจุณ
    หมายถึง ว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคำ จุณ หรือ จุรณ เป็น จุณวิจุณ หรือ จุรณวิจุณ, เขียนเป็น วิจุรณ ก็มี. (ป. วิจุณฺณ; ส. วิจูรฺณ).
  82. วิจุรณ
    หมายถึง [วิจุน] ว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคำ จุรณ เป็น จุรณวิจุรณ, เขียนเป็น วิจุณ ก็มี. (ส. วิจูรฺณ; ป. วิจุณฺณ).
  83. วิชชา
    หมายถึง [วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  84. วิชชุ,วิชชุดา,วิชชุตา
    หมายถึง [วิด-] น. แสงไฟฟ้า, สายฟ้า. (ป.; ส. วิทฺยุตฺ).
  85. วิชชุลดา
    หมายถึง [วิดชุละ-] น. สายหรือประกายไฟฟ้า, สายฟ้าแลบ. (ป. วิชฺชุลฺลตา; ส. วิทฺยุลฺลตา); ชื่อกาพย์ประเภทหนึ่ง, คู่กับ มหาวิชชุลดา.
  86. วิชญะ
    หมายถึง [วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
  87. วิชน
    หมายถึง [วิ-ชน] ว. ปราศจากคน, ร้าง. (ป., ส.).
  88. วิชนี
    หมายถึง [วิดชะ-] น. วีชนี. (ป. วีชนี; ส. วีชน).
  89. วิชย,วิชย-,วิชัย
    หมายถึง [วิชะยะ-, วิไช] น. ความชนะ, ชัยชนะ. (ป., ส.).
  90. วิชา
    หมายถึง น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  91. วิชาการ
    หมายถึง น. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา เช่น บทความวิชาการ สัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ.
  92. วิชาชีพ
    หมายถึง น. วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น วิชาแพทย์ วิชาช่างไม้ วิชาช่างยนต์.
  93. วิชาธร
    หมายถึง น. พิทยาธร.
  94. วิชานนะ
    หมายถึง น. ความรู้, ความเข้าใจ. (ป.; ส. วิชฺาน).
  95. วิชาบังคับ
    หมายถึง น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในหลักสูตรนั้นจะต้องเรียน. (อ. prescribed course).
  96. วิชาบังคับพื้นฐาน
    หมายถึง น. รายวิชาพื้นฐานที่บังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. basic requirement).
  97. วิชาบังคับเลือก
    หมายถึง น. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. elective prescribed course).
  98. วิชาพื้นฐาน
    หมายถึง น. รายวิชาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาในระดับที่สูง ๆ ขึ้นไป. (อ. basic course).
  99. วิชาอาคม
    หมายถึง น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชาอาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
  100. วิชาเลือก
    หมายถึง น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้. (อ. elective course).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 6)"