พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 5)

  1. วางมวย
    หมายถึง ก. ชกต่อยวิวาทกัน.
  2. วางมาด
    หมายถึง ก. แสดงท่าทางให้เห็นว่าใหญ่โตหรือมีอำนาจเป็นต้น เช่น วางมาดเป็นดารา.
  3. วางมือ
    หมายถึง ก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทำอยู่ชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู.
  4. วางยา
    หมายถึง ก. ให้กินยาเพื่อรักษาโรค เช่น หมอวางยาคนไข้ได้ถูกกับโรค, ลอบเอายาพิษให้กิน เช่น โดนวางยาในอาหาร; โดยปริยายหมายความว่า พูดให้เสียหาย.
  5. วางราง
    หมายถึง ก. ติดตั้งรางเพื่อให้รถไฟเป็นต้นเคลื่อนไป.
  6. วางวาย
    หมายถึง ก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์. (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.
  7. วางสาย
    หมายถึง ก. ติดตั้งสายไฟฟ้าสายโทรศัพท์เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า จัดคนเข้าไปสืบความลับของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น วางสายเข้าไปปล้นธนาคาร.
  8. วางหน้า
    หมายถึง ก. ตีหน้า เช่น วางหน้าไม่สนิท วางหน้าเก้อ ๆ.
  9. วางหมาก
    หมายถึง ก. กำหนดตัวบุคคลให้เหมาะแก่งานเพื่อให้ได้ผลตามแผนการที่กำหนดไว้.
  10. วางอาวุธ
    หมายถึง ก. ยอมแพ้.
  11. วางอำนาจ
    หมายถึง ก. แสดงอำนาจ, อวดอำนาจ.
  12. วางเงิน
    หมายถึง ก. ชำระเงินตามเงื่อนไขที่มีต่อกัน เช่น วางเงินมัดจำ.
  13. วางเบ็ด,วางเบ็ดราว
    หมายถึง ก. นำเบ็ดราวที่เกี่ยวเหยื่อแล้วไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
  14. วางเพลิง
    หมายถึง [-เพฺลิง] ก. จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ; โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น.
  15. วางแผน
    หมายถึง ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป, วางแผนการ ก็ว่า; ทำท่าทีใหญ่โต เช่น ทำวางแผนเป็นขุนนางชั้นสูง.
  16. วางแผนการ
    หมายถึง ก. กะกำหนดแผนหรือโครงการที่จะดำเนินการต่อไป; วางแผน ก็ว่า.
  17. วางโต
    หมายถึง ก. ทำท่าใหญ่โต, ทำท่าเป็นนักเลงโต, วางก้าม ก็ว่า.
  18. วางใจ
    หมายถึง ก. เชื่อใจ, ไว้ใจ, เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
  19. วางไข่
    หมายถึง ก. ออกไข่ (ใช้แก่เต่าและปลา).
  20. วาจก
    หมายถึง น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นผู้ทำ ผู้ใช้ ผู้ถูกทำ หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจก และการิตวาจก. (ป., ส.).
  21. วาจา
    หมายถึง น. ถ้อยคำ, คำกล่าว, คำพูด, เช่น วาจาสุภาพ วาจาอ่อนหวาน วาจาสัตย์. (ป., ส.).
  22. วาจาล
    หมายถึง (แบบ) ว. ช่างพูด. (ป., ส.).
  23. วาจาไปยะ
    หมายถึง (แบบ) น. คำอ่อนหวาน. (ป. วาจาเปยฺย, วาชเปยฺย).
  24. วาชเปยะ
    หมายถึง [วาชะ-] น. การดื่มเพื่อพลัง; ชื่อพิธีบูชาอย่างหนึ่งในอินเดียโบราณที่จัดทำสำหรับบุคคลในวรรณะกษัตริย์และวรรณะพราหมณ์. (ส.).
  25. วาฏกะ
    หมายถึง [วาตะ-] (แบบ) น. วงกลม, สังเวียน. (ป.).
  26. วาณิช,วาณิชกะ
    หมายถึง [วานิด, วานิดชะ-] น. พ่อค้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ พ่อค้า เป็น พ่อค้าวาณิช. (ป., ส.).
  27. วาณิชย์
    หมายถึง น. การค้าขาย. (ส.).
  28. วาณี
    หมายถึง น. ถ้อยคำ, ภาษา. (ป., ส.); เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ส.).
  29. วาด
    หมายถึง ก. เขียนหรือลากเส้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพ เช่น วาดภาพดอกไม้ วาดภาพทิวทัศน์, เขียนเป็นลายเส้น เช่น วาดภาพลายไทย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วาดวิมานในอากาศเสียสวยหรู วาดโครงการในอนาคต; ทอดแขนหรือกรายแขนอย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรำ.
  30. วาด
    หมายถึง ก. พายเรือโดยกวาดพายเป็นแนวโค้งเข้าหาตัว, ตรงข้ามกับ คัด.
  31. วาดปาก
    หมายถึง ก. เอานิ้วมือป้ายสีผึ้งหรือใช้ลิปสติกลูบไล้ไปตามริมฝีปากให้ทั่ว.
  32. วาดภาพ
    หมายถึง ก. วาดเป็นภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วาดภาพคน วาดภาพทิวทัศน์.
  33. วาดลวดลาย
    หมายถึง ก. แสดงท่ารำหรือเต้นรำเป็นต้นได้งดงามไปตามจังหวะดนตรี; (ปาก) แสดงชั้นเชิง เช่น วาดลวดลายในการโฆษณา.
  34. วาดเขียน
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยการเขียนรูปภาพต่าง ๆ.
  35. วาต,วาต-,วาตะ
    หมายถึง [วาตะ-] น. ลม. (ป., ส.).
  36. วาตปานะ
    หมายถึง น. หน้าต่าง, ช่องลมที่มีบานเปิดปิดได้อย่างบานหน้าต่าง. (ป.).
  37. วาตภัย
    หมายถึง [วาตะ-] น. ภัยอันตรายที่เกิดจากพายุ.
  38. วาตารางเหลี่ยม
    หมายถึง (เลิก) น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว๒.
  39. วาท,วาท-
    หมายถึง [วาด, วาทะ-] น. คำพูด, ถ้อยคำ; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).
  40. วาทกะ
    หมายถึง [วาทะกะ] น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. (ส.).
  41. วาทนะ
    หมายถึง [วาทะนะ] น. การประโคม, การบรรเลงดนตรี. (ส.).
  42. วาทย,วาทย-,วาทย์
    หมายถึง [วาทะยะ-, วาดทะยะ-] น. เครื่องประโคม, เครื่องบรรเลง, เครื่องเป่า. (ส.).
  43. วาทยกร
    หมายถึง [วาทะยะกอน, วาดทะยะกอน] น. ผู้อำนวยการให้จังหวะดนตรี, ผู้อำนวยเพลง ก็เรียก.
  44. วาทศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
  45. วาทศิลป์
    หมายถึง น. ศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ประทับใจ. (อ. rhetoric).
  46. วาทิต
    หมายถึง น. สังคีต, ดนตรี; ผู้บรรเลงดนตรี. (ป. วาทิต, วาทิตฺต; ส. วาทิต, วาทิตฺร).
  47. วาทิน
    หมายถึง น. คนเล่นดนตรี. (ดู วาที).
  48. วาที
    หมายถึง น. ผู้พูด, ผู้กล่าว, ผู้ชี้แจง, ผู้โต้แย้ง; คนเล่นดนตรี. (ป., ส.).
  49. วาน
    หมายถึง น. กงเรือ. (ดู กงวาน); ช่องที่เจาะบากกงเรือเพื่อให้นํ้าเดิน เรียกว่า ช่องวาน.
  50. วาน
    หมายถึง น. วันก่อนวันนี้วันหนึ่ง, มักใช้ว่า เมื่อวาน หรือ เมื่อวานนี้.
  51. วาน
    หมายถึง ก. ขอให้ช่วยทำแทนตัว เช่น วานเขียนหนังสือให้หน่อย วานไปซื้อตั๋วรถไฟ.
  52. วานซืน
    หมายถึง น. วันก่อนเมื่อวานนี้วันหนึ่ง, วันก่อนวันนี้ไป ๒ วัน, มักใช้ว่า เมื่อวานซืน.
  53. วานร
    หมายถึง [วานอน] น. ลิง; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฆา มี ๕ ดวง, ดาวงอนไถ ดาวงูผู้ ดาวโคมูตร ดาวมฆะ หรือ ดาวมาฆะ ก็เรียก. (ป., ส.).
  54. วานรินทร์
    หมายถึง [วานะ-] น. พญาลิง.
  55. วาบ
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกร้อน เย็น กลัว ตกใจ เสียวใจ เป็นต้น ขึ้นทันทีแล้วหายไปดับไป เช่น เย็นวาบ ใจหายวาบ เสียววาบ; วับ.
  56. วาบหวาม
    หมายถึง ว. รู้สึกเสียวซ่านในใจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น พอเห็นหน้าคนรักก็รู้สึกวาบหวามใจ.
  57. วาปะ
    หมายถึง น. การหว่านพืช. (ป., ส.).
  58. วาปิตะ
    หมายถึง ก. หว่านแล้ว. (ป., ส.).
  59. วาปี
    หมายถึง น. หนองนํ้า, บึง. (ป., ส.).
  60. วาม,วาม-,วาม-,วามะ,วามะ
    หมายถึง [วามะ-] ว. ซ้าย, ข้างซ้าย. (ป., ส.).
  61. วาม,วาม,วาม ๆ
    หมายถึง ว. เป็นแสงเรือง ๆ อย่างแสงหิ่งห้อย เช่น น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ ลิงว่าผลลูกหว้า โดดดิ้นโดยตาม. (โลกนิติ).
  62. วามน,วามน-
    หมายถึง [วามะนะ-] น. คนเตี้ย, คนค่อม; ชื่อช้างประจำทิศใต้. ว. เตี้ย, สั้น, ค่อม. (ป., ส.).
  63. วามนาวตาร
    หมายถึง น. อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์. (ส. วามน + อวตาร).
  64. วามะ
    หมายถึง ว. งาม. (ส.).
  65. วามาจาร
    หมายถึง น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติในลัทธินี้ว่า วามาจาริน. (ส.).
  66. วาย
    หมายถึง ก. ตี เช่น วายทรวง. (ข.).
  67. วาย
    หมายถึง ก. ค่อยสิ้นไปตามคราวหรือกำหนดอายุเวลา เช่น มะม่วงวาย ตลาดวาย หัวใจวาย.
  68. วายชนม์
    หมายถึง ก. ตาย
  69. วายชีวิต
    หมายถึง ก. ตาย
  70. วายปราณ
    หมายถึง ก. ตาย
  71. วายร้าย
    หมายถึง ว. เหลือร้าย, ชั่วช้านัก.
  72. วายวอด
    หมายถึง ก. หมดสิ้นไม่เหลือหลอ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ฉิบหาย เป็น ฉิบหายวายวอด.
  73. วายวาง
    หมายถึง ก. ตาย
  74. วายสะ
    หมายถึง [-ยะ-] น. กา. (ป., ส.).
  75. วายสังขาร
    หมายถึง ก. ตาย
  76. วายะ
    หมายถึง น. ลม. (ป. วายุ, วาโย; ส. วายุ).
  77. วายามะ
    หมายถึง น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. (ป.; ส. วฺยายาม).
  78. วายุ
    หมายถึง น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
  79. วายุกูล
    หมายถึง น. ไวกูณฐ์.
  80. วายุบุตรยาตรา
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  81. วายุภักษ์
    หมายถึง น. ชื่อนกในวรรณคดี แปลว่า นกกินลม. (ส.).
  82. วาร
    หมายถึง [วาน] น. วันหนึ่ง ๆ ในสัปดาห์ เช่น อาทิตยวาร. (ป., ส.).
  83. วาร,วาร-,วาร-,วาระ
    หมายถึง [วาระ-] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ในตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
  84. วารณ,วารณ-
    หมายถึง [วาระนะ-] น. ช้าง. (ป., ส.).
  85. วารณกร
    หมายถึง น. งวงช้าง. (ส.).
  86. วารวาริ
    หมายถึง [วาระ-] น. ดอกชบา. (ช.).
  87. วารสาร
    หมายถึง น. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสารราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์.
  88. วารสารศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยการทำหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และการพิมพ์ประเภทอื่น ๆ.
  89. วาระจร
    หมายถึง น. เรื่องที่มิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระ แต่ได้นำเข้ามาพิจารณาเป็นพิเศษในการประชุมคราวนั้น.
  90. วาริ,วารี
    หมายถึง น. นํ้า. (ป., ส.).
  91. วาริจร
    หมายถึง น. สัตว์นํ้า. (ส.; ป. วาริโคจร).
  92. วาริช,วารีช
    หมายถึง น. เกิดแต่นํ้า คือ บัว ปลา. (ป., ส.).
  93. วาริท,วาริธร
    หมายถึง น. เมฆ. (ป., ส.).
  94. วาริพินทุ
    หมายถึง น. หยาดนํ้า. (ป., ส.).
  95. วารุณ
    หมายถึง น. นํ้าดอกไม้. (ช.).
  96. วารุณี
    หมายถึง น. เทวีแห่งเหล้า; เหล้า. (ป., ส.).
  97. วาล,วาล-
    หมายถึง [วาน, วาละ-] น. หาง; ขนสัตว์, ขนหางสัตว์. (บางทีเขียน พาล). (ป., ส.).
  98. วาลกัมพล
    หมายถึง [วาละ-] น. ผ้าห่มทำด้วยขนสัตว์. (ป.).
  99. วาลธิ
    หมายถึง [วาละ-] น. หาง, ขนหาง. (ป.).
  100. วาลวีชนี
    หมายถึง [วาละวีชะนี] น. พัดกับแส้ขนจามรีถือเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่งในเบญจราชกกุธภัณฑ์, วาลวิชนี ก็ว่า. (ป., ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 5)"