พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 4)

  1. วันมาฆบูชา
    หมายถึง น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  2. วันยังค่ำ
    หมายถึง (ปาก) ว. เสมอ, ทุกคราวไป, แน่ ๆ, เช่น แพ้วันยังคํ่า; ตลอดวัน เช่น ทำงานวันยังคํ่า.
  3. วันรัฐธรรมนูญ
    หมายถึง น. วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย ตรงกับวันที่ ๑๐ ธันวาคม.
  4. วันลอย
    หมายถึง (โหร) น. วันที่ถือว่าเป็นมงคลในเดือนทางจันทรคติสำหรับเริ่มกิจการต่าง ๆ, คู่กับ วันจม.
  5. วันวิสาขบูชา
    หมายถึง น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า.
  6. วันสงกรานต์
    หมายถึง น. วันเทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน.
  7. วันสหประชาชาติ
    หมายถึง น. วันสถาปนาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า องค์การสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม.
  8. วันสารท
    หมายถึง น. วันทำบุญสิ้นเดือน ๑๐.
  9. วันสืบพยาน
    หมายถึง (กฎ) น. วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน.
  10. วันสุกดิบ
    หมายถึง น. วันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดวันงานพิธี ๑ วัน.
  11. วันหน้า
    หมายถึง น.วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
  12. วันหน้าวันหลัง
    หมายถึง น. วันใดวันหนึ่งในอนาคต เช่น จะทำอะไรก็เผื่อวันหน้าวันหลังไว้บ้าง.
  13. วันหลัง
    หมายถึง น. วันหลังจากวันนี้ไป เช่น วันหลังจะมาเยี่ยมอีก, ใช้ว่า วันหน้า ก็มี.
  14. วันออกพรรษา
    หมายถึง น. วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.
  15. วันอัฐมี
    หมายถึง [-อัดถะ-] น. วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าในวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖.
  16. วันอาสาฬหบูชา
    หมายถึง [-สานหะ-, -สานละหะ-] น. วันเพ็ญเดือน ๘ ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา.
  17. วันอุโบสถ
    หมายถึง น. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.
  18. วันเข้าพรรษา
    หมายถึง น. วันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘.
  19. วันเฉลิมพระชนมพรรษา
    หมายถึง น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.
  20. วันเถลิงศก
    หมายถึง น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปรกติตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  21. วันเนา
    หมายถึง น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก ปรกติตรงกับวันที่ ๑๔ เมษายน.
  22. วันเพ็ญ
    หมายถึง น. วันกลางเดือนนับตามจันทรคติ คือวันที่พระจันทร์ขึ้นเต็มดวง.
  23. วันแข็ง
    หมายถึง (โหร) น. วันซึ่งถือว่าดาวมีพลังแรง ได้แก่ วันอาทิตย์ วันอังคาร วันเสาร์.
  24. วันแรกนา,วันแรกนาขวัญ
    หมายถึง น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา ทางราชการเรียกว่า วันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
  25. วันแรงงาน
    หมายถึง น. วันหยุดงานเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ใช้แรงงาน ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม, วันกรรมกร ก็เรียก.
  26. วันแล้ววันเล่า
    หมายถึง ว. เป็นเช่นนั้นติดต่อกันยาวนานไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ทำงานวันแล้ววันเล่าไม่รู้จักเสร็จ คอยวันแล้ววันเล่าก็ไม่มาสักที.
  27. วันโกน
    หมายถึง น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่ง เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
  28. วับ
    หมายถึง ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่างซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วในทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคำก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคำซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  29. วับ ๆ,วับวาบ,วับวาม,วับแวบ
    หมายถึง ว. ระยับตา เป็นอาการของแสงหรือเงาที่ปรากฏแล้วหายลับไปทันทีทันใดต่อเนื่องกัน เช่น แสงเพชรเป็นประกายวับ ๆ.
  30. วับ ๆ หวำ ๆ
    หมายถึง ว. รู้สึกวาบ ๆ ในใจด้วยความหวาดหวั่น เช่น ใจวับ ๆ หวำ ๆ เวลาจะเข้ารับการผ่าตัด.
  31. วับ ๆ แวม ๆ
    หมายถึง ว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แสงหิ่งห้อยดูวับ ๆ แวม ๆ, วับแวม ก็ว่า; อาการที่แต่งกายไม่มิดชิด เช่น ไม่ควรแต่งตัววับ ๆแวม ๆ ในสถานที่พึงเคารพ ดูไม่สุภาพ.
  32. วับแวม
    หมายถึง ว. มีแสงดับบ้างเรืองบ้างสลับกันไป เช่น แลเห็นแสงไฟจากกระโจมไฟวับแวม, วับ ๆ แวม ๆ ก็ว่า.
  33. วัปป,วัปป-,วัปปะ
    หมายถึง [วับปะ-] น. การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล; ฝั่งน้ำ. (ป. วป ว่า ผู้หว่านพืช; ส. วปฺร ว่า ฝั่งน้ำ ทุ่งที่หว่านพืชไว้ ทุ่ง).
  34. วัมมิกะ
    หมายถึง น. จอมปลวก. (ป. วมฺมีก; ส. วลฺมีก).
  35. วัย,วัย-
    หมายถึง [ไว, ไวยะ-] น. เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา. (ป., ส. วย).
  36. วัยกลางคน
    หมายถึง น. วัยที่มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาวแต่ยังไม่แก่ อายุประมาณ ๓๐-๕๐ ปี.
  37. วัยกำดัด
    หมายถึง น. วัยรุ่น.
  38. วัยขบเผาะ
    หมายถึง ว. วัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว.
  39. วัยคะนอง
    หมายถึง น. วัยหนุ่มสาวที่ชอบสนุกสนาน, วัยหนุ่มสาวที่กำลังฮึกห้าว.
  40. วัยงาม
    หมายถึง น. ลักษณะของหญิงที่ดูงามทุกวัย เป็นลักษณะอย่าง ๑ ในเบญจกัลยาณี.
  41. วัยจูง
    หมายถึง น. วัยของเด็กระหว่างวัยแล่นกับวัยอุ้ม.
  42. วัยฉกรรจ์
    หมายถึง น. วัยหนุ่มที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง.
  43. วัยชรา
    หมายถึง น. วัยที่ต่อจากวัยกลางคน อายุเกิน ๖๐ ปี.
  44. วัยทารก
    หมายถึง น. วัยเด็กเล็ก ๆ ที่ยังไม่เดียงสา.
  45. วัยรุ่น
    หมายถึง น. วัยที่มีอายุประมาณ ๑๓-๑๙ ปี, วัยกำดัด ก็ว่า.
  46. วัยวุฒิ
    หมายถึง [ไวยะวุดทิ, ไวยะวุด] น. ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ. (ป. วย + วุฑฺฒิ).
  47. วัยสาว
    หมายถึง น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี, ใช้แก่หญิง.
  48. วัยหนุ่ม
    หมายถึง น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี, ใช้แก่ชาย.
  49. วัยหนุ่มสาว
    หมายถึง น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี.
  50. วัยอุ้ม
    หมายถึง น. วัยของเด็กก่อนวัยจูง.
  51. วัยเด็ก
    หมายถึง น. วัยที่อายุยังน้อย.
  52. วัยแล่น
    หมายถึง น. วัยของเด็กถัดจากวัยจูง.
  53. วัลก์
    หมายถึง (แบบ) น. เปลือกไม้; เกล็ดปลา. (ส.).
  54. วัลคุ
    หมายถึง [วันละคุ] (แบบ) ว. งาม, สวย, น่ารัก; ไพเราะ. (ส. วลฺคุ; ป. วคฺคุ).
  55. วัลย์
    หมายถึง น. เถาวัลย์, เครือเขา, ไม้เถา. (ป., ส. วลฺลี).
  56. วัลลภ
    หมายถึง [วันลบ] น. คนสนิท, ผู้ชอบพอ, คนโปรด, คนรัก. (ป., ส.).
  57. วัลลี
    หมายถึง น. เถาวัลย์, เครือเขา, ไม้เถา. (ป., ส.).
  58. วัว
    หมายถึง ดู งัว ๕.
  59. วัว
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bos taurus ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ ลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นวล เขาโค้ง สั้น มีเหนียงห้อยอยู่ใต้คอถึงอก ขนปลายหางเป็นพู่, โค ก็เรียก, (ปาก) งัว.
  60. วัวตัวผู้
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์บุรพผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาวงูเมีย ดาวปุรพผลคุนี หรือ ดาวปุพพผลคุนี ก็เรียก.
  61. วัวตัวเมีย
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาวเพดาน หรือ ดาวอุตตรผลคุนี ก็เรียก.
  62. วัวทะเล
    หมายถึง ดู พะยูน.
  63. วัวพันหลัก
    หมายถึง (สำ) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.
  64. วัวลืมตีน
    หมายถึง (สำ) น. คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน.
  65. วัวสันหลังหวะ
    หมายถึง น. คนที่มีความผิดติดตัวทำให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า.
  66. วัวหายล้อมคอก
    หมายถึง (สำ) น. ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข.
  67. วัวเขาเกก
    หมายถึง น. วัวที่มีเขาเฉออกไม่เข้ารูปกัน; โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นอันธพาลเกะกะเกเร, ควายเขาเกก ก็ว่า.
  68. วัวเถลิง
    หมายถึง น. วัวเปลี่ยว, วัวหนุ่ม.
  69. วัวใครเข้าคอกคนนั้น
    หมายถึง (สำ) น. กรรมที่มีผู้ใดทำไว้ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง.
  70. วัส,วัส-,วัสสะ
    หมายถึง [วัดสะ-] น. ฝน, ฤดูฝน; ปี. (ป.; ส. วรฺษ).
  71. วัสคณนา
    หมายถึง [วัดสะคะนะนา] น. การนับปี. (ป. วสฺส + คณนา).
  72. วัสดุ
    หมายถึง [วัดสะดุ] น. วัตถุที่นำมาใช้ เช่น วัสดุก่อสร้าง; ของใช้ที่มีอายุการใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น กระดาษ ดินสอ (ใช้แก่การงบประมาณ). (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
  73. วัสตร์
    หมายถึง (แบบ) น. วัตถ์, ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
  74. วัสนะ
    หมายถึง [วัดสะนะ] (แบบ) น. ฝนตก. (ป. วสฺสน; ส. วรฺษณ).
  75. วัสน์
    หมายถึง (แบบ) น. วสนะ. (ป., ส.).
  76. วัสสาน,วัสสาน-,วัสสานะ
    หมายถึง [วัดสานะ-] น. ฤดูฝน, หน้าฝน. (ป. วสฺสาน ว่า ฤดูฝน).
  77. วัสสานฤดู
    หมายถึง [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
  78. วัสโสทก
    หมายถึง น. นํ้าฝน. (ป.).
  79. วา
    หมายถึง น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง.
  80. วา
    หมายถึง น. เพลงปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงก่อนตัวแสดงออกแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าการแสดงจะเริ่มแล้ว.
  81. วาก
    หมายถึง ว. เปล่า, หาย, ว้าเหว่, เช่น ใจวาก.
  82. วาก,วาก-,วาก-,วากะ
    หมายถึง [วากะ-] น. เปลือกไม้, ป่าน, ปอ. (ป.; ส. วลฺก).
  83. วากจิรพัสตร์
    หมายถึง น. ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้, ผ้าป่าน. (ป. วากจิร ว่า ที่ทำด้วยเปลือกไม้ + ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).
  84. วากย,วากย-,วากยะ
    หมายถึง [วากกะยะ] น. คำพูด, คำกล่าว, ถ้อยคำ, ประโยค. (ป., ส.).
  85. วากยสัมพันธ์
    หมายถึง น. ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็นประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคำในประโยค.
  86. วากรา
    หมายถึง [วากกะรา] (แบบ) น. ตาข่าย; บ่วง, เครื่องดักสัตว์. (ป.; ส. วาคุรา).
  87. วาง
    หมายถึง ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจำที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  88. วางก้าม
    หมายถึง ก. ทำท่าใหญ่โต, ทำท่าเป็นนักเลงโต, วางโต ก็ว่า.
  89. วางขรึม
    หมายถึง ก. ทำท่าขรึม.
  90. วางข้อ
    หมายถึง ก. แสดงท่าทางว่าเก่งกล้า, แสดงท่าทางอวดดี, เช่น ทำวางข้อเป็นลูกเศรษฐี.
  91. วางฎีกา
    หมายถึง ก. ยื่นใบแจ้งขอเบิกเงินจากคลัง; ยื่นฎีกาอาราธนาพระสงฆ์ (มักใช้เนื่องในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี).
  92. วางตลาด
    หมายถึง ก. นำสินค้าออกวางขายตามร้านทั่วไป.
  93. วางตัว
    หมายถึง ก. ประพฤติตน เช่น วางตัวไม่ดี คนอื่นจะดูถูกได้, ปฏิบัติตน เช่น วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร.
  94. วางตัวเป็นกลาง
    หมายถึง ก. ไม่เข้าข้างใคร เช่น พี่น้องทะเลาะกัน เขาเลยต้องวางตัวเป็นกลาง.
  95. วางตา
    หมายถึง ก. ละสายตา, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ดูไม่วางตา.
  96. วางทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) น. การที่บุคคลผู้ชำระหนี้นำทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ เพื่อให้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  97. วางท่า
    หมายถึง ก. ทำท่าไว้ยศ เช่น วางท่าเป็นอธิบดี, วางปุ่ม ก็ว่า.
  98. วางปึ่ง
    หมายถึง ก. ทำท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทำทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ.
  99. วางปุ่ม
    หมายถึง ก. ทำท่าไว้ยศ, วางท่า ก็ว่า.
  100. วางผังเมือง
    หมายถึง ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชนเป็นส่วนรวม.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 4)"