พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 3)

  1. วัจกุฎี
    หมายถึง น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
  2. วัจฉละ
    หมายถึง [วัดฉะละ] (แบบ) ว. มีใจกรุณา, เอ็นดู, อ่อนโยน, มีความรักใคร่. (ป.; ส. วตฺสล).
  3. วัจฉ์,วัจฉก
    หมายถึง [วัด, -ฉก] (แบบ) น. ลูกวัว. (ป.; ส. วตฺส, วตฺสก).
  4. วัจน์
    หมายถึง (แบบ) น. วจนะ, ถ้อยคำ. (ป., ส.).
  5. วัจมรรค
    หมายถึง น. ทวารหนัก, เวจมรรค ก็เรียก. (ป. วจฺจมคฺค).
  6. วัช
    หมายถึง (แบบ) น. วชะ, คอกสัตว์. (ป. วช).
  7. วัช,วัช,วัช-,วัชชะ,วัชชะ
    หมายถึง [วัดชะ-] น. สิ่งที่ควรละทิ้ง; โทษ, ความผิด. (ป. วชฺช; ส. วรฺชฺย, วรฺชฺช).
  8. วัช,วัช,วัชชะ,วัชชะ
    หมายถึง น. การพูด, ถ้อยคำ. ว. ควรพูดติ, ควรกล่าวติ. (ป. วชฺช; ส. วทฺย).
  9. วัชฌ์
    หมายถึง ก. ฆ่า, ทำให้ตาย. (ป.).
  10. วัชพืช
    หมายถึง [วัดชะพืด] น. พืชที่ไม่ต้องการ เช่นหญ้าคาในแปลงข้าว. (ป. วชฺช + พีช).
  11. วัชร
    หมายถึง [วัดชะระ-] น. ดู วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  12. วัชร-
    หมายถึง [วัดชะระ-] น. ดู วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  13. วัชรชิต
    หมายถึง ครุฑ, ผู้พิชิตสายฟ้า
  14. วัชรธาตุมณฑล
    หมายถึง [-ทาตุมนทน, -ทาดมนทน] น. สัญลักษณ์ในทางปัญญาอันคมกล้าที่สามารถตัดอวิชชาได้.
  15. วัชรปาณี
    หมายถึง น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. (ส. วชฺรปาณิ).
  16. วัชรยาน
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งถือว่ามีหลักปรัชญาสูงเหนือธรรมชาติ มีความแข็งเหมือนเพชร ใสเหมือนอากาศ ไม่มีใครต้านทานได้เหมือนสายฟ้า จึงเรียกหลักปรัชญานั้นว่า วัชระ และเรียกลัทธิว่า วัชรยาน. (ส.).
  17. วัชรอาสน์
    หมายถึง น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. (ส. วชฺราสน).
  18. วัชระ
    หมายถึง [วัดชะระ-] น. ดู วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  19. วัชราสน์
    หมายถึง น. ท่านั่งขัดสมาธิเพชร. (ส.).
  20. วัชรินทร์
    หมายถึง น. พระอินทร์. (ส. วชฺรินฺ, วชฺร + อินฺทฺร).
  21. วัชรี
    หมายถึง น. พระอินทร์. (ส.).
  22. วัชเรนทร์
    หมายถึง น. พระอินทร์. (ส. วชฺร + อินฺทฺร).
  23. วัญจก
    หมายถึง [วันจก] (แบบ) น. ผู้ลวง, คนคดโกง. (ป., ส.).
  24. วัญจนะ
    หมายถึง [วันจะนะ] (แบบ) น. การหลอกลวง, การปลอม, การคดโกง; เครื่องลวง, เครื่องหลอก, ของไม่จริง. (ป., ส.).
  25. วัญฌ์
    หมายถึง (แบบ) ว. หมัน (ใช้แก่คนหรือสัตว์), ไม่มีลูก (ใช้แก่ต้นไม้), ไม่มีผล (ใช้แก่การงานทั่วไป). (ป.; ส.วนฺธฺย).
  26. วัฏ,วัฏ-,วัฏฏะ
    หมายถึง [วัดตะ-] (แบบ) น. วงกลม; การหมุน, การเวียนไป, รอบแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย. ว. กลม, เป็นวง. (ป.; ส. วฺฤตฺต).
  27. วัฏกะ
    หมายถึง [วัดตะกะ] น. นกกระจาบ. (ป. วฏฺฏก; ส. วรฺตก).
  28. วัฏจักร
    หมายถึง น. ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์หรือกิจกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นและดำเนินติดต่อกันไปอย่างมีระเบียบจนจบลง ณ จุดเริ่มต้นนั้นอีก เช่น วัฏจักรแห่งฤดูกาล วัฏจักรแห่งพืช.
  29. วัฏฏิ
    หมายถึง น. ของกลมยาว, ไส้เทียน, เส้น, สาย. (ป.; ส. วรฺติ).
  30. วัฏทุกข์
    หมายถึง น. ทุกข์คือการเวียนเกิดเวียนตาย. (ป.).
  31. วัฏสงสาร
    หมายถึง น. การเวียนว่ายตายเกิด, สงสารวัฏ หรือ สังสารวัฏ ก็ว่า. (ป.).
  32. วัฒกะ
    หมายถึง [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. ว. งอกงาม, เจริญ. (ป. วฑฺฒก; ส. วรฺธก).
  33. วัฒกี
    หมายถึง [วัดทะกี] น. ช่างไม้. (ป. วฑฺฒกี).
  34. วัฒน,วัฒน-,วัฒนะ
    หมายถึง [วัดทะนะ-] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ป. วฑฺฒน).
  35. วัฒนธรรม
    หมายถึง น. สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา.
  36. วัฒนา
    หมายถึง น. ความเจริญ, ความงอกงาม. ก. เจริญ, งอกงาม.
  37. วัณ,วัณ-
    หมายถึง [วัน, วันนะ-] น. วณะ, แผล, ฝี. (ป.).
  38. วัณฏ์
    หมายถึง น. ขั้ว, ก้าน. (ป.; ส. วฺฤนฺต).
  39. วัณณะ
    หมายถึง (แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ-, วรรณะ).
  40. วัณนา
    หมายถึง [วันนะ-] น. คำชี้แจง, คำอธิบาย. (ป. วณฺณนา; ส. วรฺณนา). (ดู พรรณนา).
  41. วัณโรค
    หมายถึง น. โรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น ทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมไปตามลำดับ, โบราณเรียกวัณโรคปอดว่า ฝีในท้อง.
  42. วัด
    หมายถึง น. สถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์หรือนักบวชเป็นต้น.
  43. วัด
    หมายถึง ก. ตวัดขึ้น เช่น วัดเบ็ด, เหวี่ยงแขนหรือขาไปโดยแรง เช่น นอนดิ้นวัดแขนวัดขา.
  44. วัด
    หมายถึง ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.
  45. วัดผล
    หมายถึง ก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
  46. วัดพื้น
    หมายถึง (ปาก) ก. หกล้มเหยียดยาวลงบนพื้น.
  47. วัดรอยตีน,วัดรอยเท้า
    หมายถึง (สำ) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
  48. วัดราษฎร์
    หมายถึง น. วัดที่ได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา แต่มิได้เข้าบัญชีเป็นพระอารามหลวง.
  49. วัดวา
    หมายถึง ก. พอเท่า ๆ กัน, พอเสมอกัน เช่น พี่น้องสองคนนี้สวยพอวัดวากันได้.
  50. วัดวา,วัดวา,วัดวาอาราม
    หมายถึง น. วัด.
  51. วัดหลวง
    หมายถึง (ปาก) น. พระอารามหลวง, วัดที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง.
  52. วัดเหวี่ยง
    หมายถึง ก. พอสู้กันได้, ปานกัน.
  53. วัดแดด
    หมายถึง ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่นพอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.
  54. วัต
    หมายถึง น. วตะ, พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  55. วัตตา
    หมายถึง น. ผู้กล่าว, ผู้พูด. (ป.; ส. วกฺตฺฤ).
  56. วัตต์
    หมายถึง น. หน่วยวัดกำลัง ๑ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ จูลต่อวินาที หรือ ๑๐๗ เอิร์กต่อวินาที, ๗๔๕.๗ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ กำลังม้า. (อ. watt).
  57. วัตถาภรณ์,วัตถาลังการ
    หมายถึง น. เครื่องประดับคือผ้า. (ป. วตฺถ + อาภรณ, วตฺถ + อลงฺการ).
  58. วัตถุ
    หมายถึง สิ่งของ. (ป. วตฺถุ; ส. วสฺตุ)
  59. วัตถุดิบ
    หมายถึง น. สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อผลิตหรือประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูป; โดยปริยายหมายถึงเรื่องราว ประสบการณ์ เป็นต้น ที่นักเขียนเสาะหาหรือตระเตรียมสะสมไว้เพื่อแต่งหนังสือ.
  60. วัตถุนิยม
    หมายถึง น. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.
  61. วัตถุประสงค์
    หมายถึง น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น วัตถุประสงค์ของมัธยมศึกษาก็เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และมีคุณธรรม, จุดประสงค์ ก็ว่า.
  62. วัตถุวิสัย
    หมายถึง ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบตายตัว ว่าการสอบแบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
  63. วัตถ์
    หมายถึง น. ผ้า, เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป.; ส. วสฺตฺร).
  64. วัตนะ
    หมายถึง [วัดตะนะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่. (ป. วตฺตน; ส. วรฺตน).
  65. วัตร,วัตร-
    หมายถึง [วัด, วัดตฺระ-] น. กิจพึงกระทำ เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตร อุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  66. วัตรปฏิบัติ
    หมายถึง [วัดตฺระ-] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.
  67. วัตสดร
    หมายถึง [วัดสะดอน] (แบบ) น. โคหนุ่ม, โคถึก. (ส. วตฺสตร).
  68. วัตสะ
    หมายถึง (แบบ) น. ลูกวัว; เด็กเล็ก. (ส. วตฺส).
  69. วัติ
    หมายถึง [วัด, วัดติ] น. วดี, รั้ว. (ป. วติ).
  70. วัทน์
    หมายถึง (แบบ) น. วทนะ. (ป., ส. วทน).
  71. วัน
    หมายถึง น. แมลงวัน. (ดู แมลงวัน).
  72. วัน
    หมายถึง น. ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).
  73. วัน
    หมายถึง น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม).
  74. วัน ๆ
    หมายถึง ว. แต่ละวัน เช่น ได้รายได้เป็นวัน ๆ; บางวัน เช่น เขามาทำงานที่นี่เป็นวัน ๆ; ปล่อยให้เวลาล่วงไปอย่างซังกะตาย เช่น อยู่ไปวัน ๆ ไม่มีความหวัง.
  75. วันครู
    หมายถึง (โหร) น. วันพฤหัสบดี; วันที่ระลึกถึงครู ปัจจุบันกำหนดวันที่ ๑๖ มกราคมของปีเป็นวันครู.
  76. วันจม
    หมายถึง (โหร) น. วันเคราะห์ร้ายในเดือนทางจันทรคติ เป็นวันห้ามทำกิจการใด ๆ ทั้งสิ้น, คู่กับ วันฟู หรือ วันลอย.
  77. วันจักรี
    หมายถึง น. วันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน.
  78. วันฉัตรมงคล
    หมายถึง น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม.
  79. วันดับ
    หมายถึง น. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันแรม ๑๔ คํ่าหรือแรม ๑๕ คํ่า.
  80. วันดีคืนดี
    หมายถึง (ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา.
  81. วันตรุษ
    หมายถึง น. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔.
  82. วันตัว
    หมายถึง น. วันใดวันหนึ่งในรอบสัปดาห์ซึ่งตรงกับวันเกิด.
  83. วันต์
    หมายถึง (แบบ) ก. คายแล้ว, ทิ้งหรือเลิกแล้ว. (ป.; ส. วานฺต).
  84. วันทน,วันทน-,วันทนา
    หมายถึง [วันทะนะ-, วันทะนา] น. การไหว้, การเคารพ. (ป., ส.).
  85. วันทนาการ
    หมายถึง น. การไหว้. (ป.).
  86. วันทนีย์
    หมายถึง ว. ควรไหว้, น่านับถือ. (ป., ส.).
  87. วันทย,วันทย-
    หมายถึง [วันทะยะ-] ว. ควรไหว้, ควรนอบนบ. (ส.).
  88. วันทยหัตถ์
    หมายถึง น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ.
  89. วันทยาวุธ
    หมายถึง น. ท่าเคารพด้วยอาวุธของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก และถืออาวุธอยู่กับที่.
  90. วันทา
    หมายถึง ก. ไหว้, แสดงอาการเคารพ. (ป. วนฺท).
  91. วันทาสีมา
    หมายถึง ก. ไหว้พัทธสีมาก่อนที่จะเข้าอุโบสถในพิธีอุปสมบท (ใช้แก่นาค).
  92. วันทิ
    หมายถึง (แบบ) น. เชลย. (ป., ส.).
  93. วันที่
    หมายถึง น. ลำดับวันในเดือนหนึ่ง ๆ ทางสุริยคติ เช่น วันที่ ๑ สิงหาคม วันที่ ๒ กันยายน.
  94. วันนิพก
    หมายถึง น. วนิพก.
  95. วันปวารณา,วันมหาปวารณา
    หมายถึง น. วันออกพรรษา.
  96. วันปิยมหาราช
    หมายถึง น. วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เสด็จสวรรคต ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม.
  97. วันพระ
    หมายถึง น. วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ คํ่า ขึ้น ๑๕ คํ่า แรม ๘ คํ่า และแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า.
  98. วันพระไม่มีหนเดียว
    หมายถึง (สำ) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
  99. วันฟู
    หมายถึง (โหร) น. วันที่ถือว่าเป็นมงคลในเดือนทางจันทรคติสำหรับเริ่มกิจการต่าง ๆ, คู่กับ วันจม.
  100. วันมหาสงกรานต์
    หมายถึง น. วันเริ่มต้นเทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 3)"