พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 2)

  1. วยาฆร์
    หมายถึง น. เสือ. (ส. วฺยาฆฺร; ป. วฺยคฺฆ, พฺยคฺฆ).
  2. วยาธิ
    หมายถึง [วะยาทิ] น. พยาธิ. (ป. วฺยาธิ, พฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
  3. วยามะ
    หมายถึง น. มาตราวัด ยาวเท่ากับ ๑ วา. (ป. วฺยาม, พฺยาม; ส. วฺยาม).
  4. วยายาม
    หมายถึง น. พยายาม. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
  5. วร
    หมายถึง [วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).
  6. วร-
    หมายถึง [วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.).
  7. วรงค์
    หมายถึง [วะรง] น. “ส่วนสำคัญของร่างกาย” คือ หัว. (ส. วร + องฺค).
  8. วรณะ
    หมายถึง [วะระนะ] น. ป้อม, กำแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.).
  9. วรดนู
    หมายถึง [วะระดะ-, วอระดะ-] น. หญิงงาม. (ส. วรตนุ).
  10. วรทะ
    หมายถึง [วะระทะ, วอระทะ] น. การให้พร. (ป.).
  11. วรทาน
    หมายถึง [วะระทาน, วอระทาน] น. การให้พร. (ป.); การให้ของขวัญแก่เจ้าบ่าว. (ส.).
  12. วรมหาวิหาร
    หมายถึง [วอระ-] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง.
  13. วรรค
    หมายถึง [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมายวรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคำหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะหนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตราปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  14. วรรคย์
    หมายถึง [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย).
  15. วรรช
    หมายถึง [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช).
  16. วรรชย์
    หมายถึง [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย).
  17. วรรณ,วรรณ-,วรรณะ
    หมายถึง [วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  18. วรรณกรรม
    หมายถึง น. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย.
  19. วรรณคดี
    หมายถึง น. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  20. วรรณนา
    หมายถึง [วันนะ-] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
  21. วรรณพฤติ
    หมายถึง [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.
  22. วรรณยุกต์,วรรณยุต
    หมายถึง น. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).
  23. วรรณศิลป์
    หมายถึง น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี.
  24. วรรณึก
    หมายถึง น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก).
  25. วรรธกะ
    หมายถึง [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทำให้เจริญ; ป. วฑฺฒก).
  26. วรรธนะ
    หมายถึง [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน).
  27. วรรษ
    หมายถึง [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส).
  28. วรรษา
    หมายถึง [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.).
  29. วรวิหาร
    หมายถึง [วอระ-] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา.
  30. วรัญญู
    หมายถึง [วะรันยู] น. “ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ” คือ พระพุทธเจ้า. (ป.).
  31. วรากะ
    หมายถึง (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.).
  32. วรางคณา
    หมายถึง น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.).
  33. วราห์,วราหะ
    หมายถึง น. หมู. (ป., ส.).
  34. วรุณ
    หมายถึง น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.).
  35. วรุตดม,วรุตมะ,วโรดม,วโรตมะ
    หมายถึง [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม).
  36. วรูถะ
    หมายถึง [วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก; เครื่องป้องกัน; เกราะ, โล่. (ส.).
  37. วฤก
    หมายถึง [วฺรึก] (แบบ) น. หมาป่า. (ส. วฺฤก; ป. วก).
  38. วฤษภ
    หมายถึง [วฺรึสบ] (แบบ) น. พฤษภ. (ส. วฺฤษภ; ป. วสภ).
  39. วฤษละ
    หมายถึง [วฺรึสะละ] (แบบ) น. คนชั่ว. (ส. วฺฤษล; ป. วสล).
  40. วลัช
    หมายถึง (แบบ) น. ปลาชนิดหนึ่ง. (ป.).
  41. วลัญชน์
    หมายถึง น. การใช้สอย. (ป.).
  42. วลัญช์
    หมายถึง [วะลัน] (แบบ) น. รอย, เครื่องหมาย; ทาง; การใช้สอย. (ป.).
  43. วลัย
    หมายถึง [วะไล] น. กำไลมือ, ทองกร; ของที่เป็นวงกลม, วงกลม. (ป., ส.).
  44. วลาหก
    หมายถึง [วะลาหก] น. เมฆ. (ป.).
  45. วลี
    หมายถึง [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
  46. วศค
    หมายถึง [วะสก] (แบบ) น. ผู้อยู่ในอำนาจ, ผู้อยู่ในบังคับ, ผู้เชื่อฟัง. (ส.; ป. วสค).
  47. วศะ
    หมายถึง น. อำนาจ, การบังคับบัญชา. (ส.; ป. วส).
  48. วศิน
    หมายถึง (แบบ) น. ผู้ชำนะตนเอง, ผู้สำรวมอินทรีย์. (ส.).
  49. วสนะ
    หมายถึง [วะสะ-] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน; การอยู่. (ป.).
  50. วสนะ
    หมายถึง [วะสะ-] (แบบ) น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).
  51. วสภะ
    หมายถึง [วะสะ-] (แบบ) น. วัวตัวผู้. (ป.; ส. วฺฤษภ).
  52. วสละ
    หมายถึง [วะสะ-] น. คนชั่ว, คนถ่อย, คนตํ่าช้า, คนชั้นตํ่า. (ป.; ส. วฺฤษล).
  53. วสลี
    หมายถึง [วะสะ-] น. หญิงชั่ว, หญิงตํ่าช้า. (ป.; ส. วฺฤษลิ).
  54. วสวัดดี,วสวัตตี
    หมายถึง [วะสะ-] น. ผู้ยังสัตว์ให้อยู่ในอำนาจ; ชื่อของเทวบุตรมาร. (ป.).
  55. วสะ
    หมายถึง น. อำนาจ, กำลัง; ความตั้งใจ, ความปรารถนา. (ป.; ส. วศ).
  56. วสันต,วสันต-,วสันต์
    หมายถึง [วะสันตะ-, วะสัน] น. ฤดูใบไม้ผลิในคำว่า ฤดูวสันต์, วสันตฤดู ก็ว่า. (ป., ส.).
  57. วสันตดิลก
    หมายถึง [วะสันตะดิหฺลก] น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๔ คำ เช่น ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นภศูลสล้างลอย. (อิลราช). (ป., ส. วสนฺตติลก).
  58. วสันตฤดู
    หมายถึง น. ฤดูใบไม้ผลิ, ฤดูวสันต์ ก็ว่า.
  59. วสันตวิษุวัต
    หมายถึง (ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค ที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๑ มีนาคม, คู่กับ ศารทวิษุวัต. (อ. vernal equinox).
  60. วสา
    หมายถึง น. มันเหลว; ไข, นํ้ามัน. (ป., ส.).
  61. วสี
    หมายถึง น. ผู้ชำนะตนเอง, ผู้สำรวมอินทรีย์, ผู้ตัดกิเลสได้ดังใจ; ผู้ชำนาญ. (ป.).
  62. วสุ
    หมายถึง น. ทรัพย์, สมบัติ; ชื่อเทวดาหมู่หนึ่งมี ๘ องค์ด้วยกัน เป็นบริวารของพระอินทร์. (ป., ส.).
  63. วสุธา
    หมายถึง น. แผ่นดิน, พื้นดิน. (ป., ส.).
  64. วสุนธรา
    หมายถึง [-สุนทะ-] น. แผ่นดิน, พื้นดิน. (ป., ส.).
  65. วสุมดี
    หมายถึง [-สุมะ-] น. โลก, แผ่นดิน. (ป., ส. วสุมตี).
  66. วหะ
    หมายถึง ก. นำไป, พาไป. (ป., ส.).
  67. วหา
    หมายถึง น. แม่นํ้า. (ส.).
  68. วอ
    หมายถึง น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สำหรับเจ้านายหรือข้าราชการฝ่ายในนั่ง มีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียกรถยนต์ที่มีวอสำหรับเชิญศพตั้งอยู่บนกระบะรถว่า รถวอ.
  69. วอก
    หมายถึง น. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก) ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไปว่า หน้าวอก.
  70. วอกแวก
    หมายถึง ว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟังครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.
  71. วอด
    หมายถึง ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น ไฟไหม้เสียวอดเลย, วอดวาย ก็ว่า.
  72. วอดวาย
    หมายถึง ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ) ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  73. วอน
    หมายถึง (ปาก) ก. รนหาที่ เช่น วอนตาย; (วรรณ) ร่ำขอ, ขอด้วยอาการออด, เฝ้าร้องขอให้ทำตามประสงค์, เช่น คำนึงนุชนาฎเนื้อ นวลสมร แม้นแม่มาจักวอน พี่ชี้. (ตะเลงพ่าย).
  74. วอพระประเทียบ
    หมายถึง น. วอสำหรับเจ้านายฝ่ายใน.
  75. วอมแวม,วอม ๆ แวม ๆ,ว็อมแว็ม,ว็อม ๆ แว็ม ๆ
    หมายถึง ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  76. วอลเลย์บอล
    หมายถึง น. กีฬาอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๖ คน แต่ละฝ่ายต้องใช้มือตีหรือตบลูกบอลข้ามตาข่ายโต้กันไปมา. (อ. volley ball).
  77. วอแว
    หมายถึง ก. รบกวน, เซ้าซี้, เช่น เขากำลังอารมณ์เสีย อย่าเข้าไปวอแว; เกาะแกะ เช่น อย่าไปวอแวลูกสาวเขา.
  78. วะ
    หมายถึง ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคยเป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.
  79. วะ
    หมายถึง คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.
  80. วัก
    หมายถึง ก. เซ่น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น เซ่นวัก.
  81. วัก
    หมายถึง ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำกิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วักควัน.
  82. วักกะ
    หมายถึง ว. คด, ไม่ตรง, โกง, งอ. (ป.; ส. วกฺร).
  83. วักกะ
    หมายถึง น. ไต. (โบราณแปลว่า ม้าม). (ป.; ส. วฺฤกฺก).
  84. วัค
    หมายถึง น. วรรค. (ป. วคฺค; ส. วรฺค).
  85. วัคคิยะ,วัคคีย์
    หมายถึง [วักคิยะ] ว. อยู่ในพวก, อยู่ในหมู่, เช่น เบญจวัคคีย์ ว่า อยู่ในพวก ๕. (ป.).
  86. วัคคุ
    หมายถึง ว. ไพเราะ, เสนาะ; งาม. (ป.; ส. วลฺคุ).
  87. วัคคุวัท
    หมายถึง ว. ผู้กล่าวไพเราะ. (ป. วคฺคุ + วท ว่า ผู้กล่าว).
  88. วัคซีน
    หมายถึง น. ผลิตผลที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่าหรือทำให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่เป็นอันตราย สำหรับฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเกิดจากเชื้อนั้น ๆ. (อ. vaccine).
  89. วัง
    หมายถึง น. ที่อยู่ของเจ้านาย, ถ้าเป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียก พระราชวัง หรือ พระบรมมหาราชวัง; ห้วงนํ้าลึก เช่น วังจระเข้. ก. ล้อม, ห้อมล้อม.
  90. วัง
    หมายถึง (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่รักษาพระราชวัง จัดการพระราชพิธีและมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของราษฎร.
  91. วังก์
    หมายถึง น. วงก์. (ป.).
  92. วังชา
    หมายถึง คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
  93. วังช้าง
    หมายถึง น. วิธีจับช้างเถื่อนโดยต้อนช้างเข้ามาอยู่ในวงล้อมทั้งโขลง.
  94. วังวน
    หมายถึง น. ห้วงนํ้าที่หมุนวน.
  95. วังศะ,วังสะ
    หมายถึง น. วงศ์. (ส. วํศ; ป. วํส).
  96. วังหน้า
    หมายถึง น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกในราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียกพระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
  97. วังหลวง
    หมายถึง น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.
  98. วังหลัง
    หมายถึง น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข มักตั้งอยู่ทางด้านหลังของพระราชวังหลวง.
  99. วังเวง
    หมายถึง ก. ลักษณะบรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทำให้เกิดความรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยวใจ เช่น เข้าไปในบ้านร้างรู้สึกวังเวง.
  100. วัจ,วัจ-,วัจจะ
    หมายถึง [วัดจะ-] น. อุจจาระ. (ป.; ส. วรฺจสฺ).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ว (หน้าที่ 2)"