พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 9)

  1. แยง
    หมายถึง ก. เยง, กลัว, เกรง.
  2. แยง
    หมายถึง ก. แหย่เข้าไปในช่องหรือในรู เช่น เอาขนไก่แยงหู, สอดดู, แลดู.
  3. แยงตา
    หมายถึง ก. อาการที่แสงส่องสวนตรงมายังนัยน์ตา เช่น แสงอาทิตย์แยงตา.
  4. แยงยล
    หมายถึง ก. มองดู.
  5. แยงแย่
    หมายถึง ว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืนแบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่.
  6. แยงแย้
    หมายถึง น. ไม้จำพวกเฟินเลื้อย ต้นเป็นเถาสั้น รากกระด้าง สีดำแดง เกาะตามหลืบหิน ใบคล้ายใบมะคำไก่. (พจน. ๒๔๙๓).
  7. แยบ
    หมายถึง น. อุบาย, เล่ห์, ท่าทาง.
  8. แยบคาย
    หมายถึง ว. เข้าที, เหมาะกับเหตุผล, เช่น ความคิดแยบคาย พูดจาแยบคาย.
  9. แยบยล
    หมายถึง น. กล, อุบาย. ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธีแยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล.
  10. แยม
    หมายถึง น. อาหารมีรสหวาน ทำโดยการเคี่ยวผลไม้กับนํ้าตาลจนข้น มักใช้ทาขนมปัง. (อ. jam).
  11. แยะ
    หมายถึง ก. แยก, แบะออก, แตกออก. ว. มากมาย เช่น ข้าวของมีแยะไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ เยอะ เป็น เยอะแยะ.
  12. แยแส
    หมายถึง ก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.
  13. แย็บ
    หมายถึง ก. ชกออกไปตรง ๆ และชักหมัดกลับโดยเร็ว; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ลองเชิง, หยั่งดูท่าที. (อ. jab).
  14. แย่
    หมายถึง ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. ว. เต็มที, หนัก, เช่น ปลายเดือนการเงินแย่ อาการไข้แย่ เพียบลงทุกวัน.
  15. แย่ง
    หมายถึง ก. ยื้อเอาไป เช่น ถูกแย่งของไปจากมือ, รีบฉวยหรือรีบทำเสียก่อน เช่น แย่งทาน.
  16. แย่งกันเป็นศพมอญ
    หมายถึง (สำ) ก. ยื้อแย่งกัน (ใช้ในความเปรียบเทียบ).
  17. แย่งชิง
    หมายถึง ก. ยึดถือเอาทรัพย์หรือประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่น.
  18. แย่แต้
    หมายถึง ว. หนักจนต้องย่อลง.
  19. แย้
    หมายถึง ก. ถ่วงหนักลง เช่น ก้นแย้ ท้องแย้.
  20. แย้
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Agamidae ลำตัวแบนราบ ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ แย้เส้น (Leiolepis belliana belliana) และ แย้จุด (L. b. rubritaeniata).
  21. แย้ง
    หมายถึง ก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน; ต้านไว้, ทานไว้.
  22. แย้ม
    หมายถึง ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
  23. แย้มพราย
    หมายถึง ก. เผยให้เห็นวี่แวว เช่น เขาแย้มพรายเรื่องของเขาให้ทราบ, แย้ม ก็ว่า.
  24. แย้มยิ้ม
    หมายถึง ก. ยิ้มอย่างชื่นบาน, ยิ้มแย้ม หรือ ยิ้มแย้มแจ่มใส ก็ว่า.
  25. แย้มสรวล
    หมายถึง ก. ยิ้มแย้ม ร่าเริง.
  26. โย
    หมายถึง (โบ) ว. เรียกทุเรียนที่มีเม็ดห่าง ๆ ว่า ทุเรียนโย. (ปรัดเล).
  27. โย
    หมายถึง (ปาก) ก. พูดแขวะ, พูดชวนวิวาท.
  28. โยก
    หมายถึง ก. คลอน เช่น ฟันโยก เก้าอี้โยก, เคลื่อนไหว เช่น กิ่งไม้โยก, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น โยกฟัน โยกกิ่งไม้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่พูดหรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้ พูดโยกอยู่นาน, โยกโย้ ก็ว่า.
  29. โยกตร์
    หมายถึง [โยก] น. เชือก, สายทาม. (ส. โยกฺตฺร; ป. โยตฺต).
  30. โยกย้าย
    หมายถึง ก. ย้ายตำแหน่ง เช่น โยกย้ายข้าราชการ, ขยับขยายไปอยู่ที่อื่น เช่น โยกย้ายไปอยู่ต่างเมือง.
  31. โยกเยก
    หมายถึง ก. เคลื่อนไหวไปมา, โอนไปเอนมา, เช่น อย่านั่งโยกเยก เสาโยกเยกเพราะปักไม่แน่น.
  32. โยกโคลง
    หมายถึง ก. โยนไปมาไม่มั่นคง.
  33. โยกโย้
    หมายถึง ก. อาการที่พูดหรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้พูดโยกโย้อยู่นาน, โยก ก็ว่า.
  34. โยค,โยค-,โยคะ
    หมายถึง [โยคะ-] น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
  35. โยคจักษุ
    หมายถึง น. ตาทิพย์. (ส.).
  36. โยคนิทรา
    หมายถึง น. การเข้าฌานแล้วไม่รู้สึกถึงสิ่งภายนอก, อาการที่แสร้งทำเช่นนั้น. (ส. โยคนิทฺรา).
  37. โยคยะ
    หมายถึง [โยกคะยะ] ว. สมควร, เหมาะ. (ส. โยคฺย).
  38. โยคะ
    หมายถึง น. การทำจิตใจให้สงบ, การที่จิตไม่รับรู้อารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่าง ๆ, วิธีการควบคุมร่างกายและจิตใจได้อย่างสมบูรณ์โดยการทำจิตให้เป็นสมาธิ.
  39. โยคาพจร,โยคาวจร
    หมายถึง [โยคาพะจอน, -วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
  40. โยคิน
    หมายถึง (กลอน) น. โยคี. (ส. โยคินฺ; ป. โยคี).
  41. โยคี
    หมายถึง น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. (ป.; ส. โยคินฺ ว่า ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ).
  42. โยคเกณฑ์
    หมายถึง [โยกเกน] น. การกำหนดดิถีกับฤกษ์ให้ต้องกัน คือได้ทั้งโยค หมายถึง ฤกษ์ และเกณฑ์ หมายถึง ดิถี คือ ขึ้น แรม.
  43. โยง
    หมายถึง ก. เอาไม้แซะข้าวให้สุกทั่วกัน, ทำให้โหย่ง, คุ้ย, ในคำว่า โยงข้าว.
  44. โยง
    หมายถึง ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การโยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้าพ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจำแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสำหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และเรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  45. โยงโย่
    หมายถึง ก. ยงโย่.
  46. โยชกะ
    หมายถึง [โยชะกะ] ก. ผู้ทำการประกอบ, ผู้ใช้, ผู้ผูก, ผู้จัด, ผู้เตรียม. (ส.).
  47. โยชนา
    หมายถึง [โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).
  48. โยชน์
    หมายถึง [โยด] น. ชื่อมาตราวัด ๔๐๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์; การผูก. (ป., ส.).
  49. โยด
    หมายถึง ก. ย้ายจากที่เดิมเพื่อล่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยิง (ใช้ในการเล่นลูกหิน).
  50. โยต
    หมายถึง น. เชือก, สายทาม. (ป. โยตฺต; ส. โยกฺตฺร).
  51. โยถิกะ
    หมายถึง น. ยูถิกา, ต้นพุทธชาด.
  52. โยทะกา
    หมายถึง น. ตาขอเหล็กชนิดหนึ่ง มี ๓-๔ ขา สำหรับเกี่ยวหรือสับ.
  53. โยทะกา
    หมายถึง น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae ปลายใบเว้าลึกเป็น ๒ แฉก คือ ชนิด Bauhinia monandra Kurz เป็นไม้ต้น ดอกสีขาวนวล มีลายสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ และชนิด B. tomentosa L. เป็นไม้พุ่ม ดอกสีเหลือง ห้อยลง.
  54. โยธ
    หมายถึง [-ทะ-] น. พลรบ, ทหาร. (ป., ส.).
  55. โยธ-
    หมายถึง [-ทะ-] น. พลรบ, ทหาร. (ป., ส.).
  56. โยธวาทิต
    หมายถึง น. แตรวงทหารและตำรวจ.
  57. โยธา
    หมายถึง น. งานที่ต้องใช้กำลังกายเกี่ยวกับการก่อสร้างมีแบก หาม ทำความสะอาดเป็นต้น เรียกว่า งานโยธา.
  58. โยธา
    หมายถึง [โยทา] น. พลรบ, ทหาร. (ป., ส.).
  59. โยธิน
    หมายถึง น. นักรบ, ทหาร. (ส.).
  60. โยน
    หมายถึง ก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทำให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.
  61. โยน
    หมายถึง น. เรียกขวานชนิดที่หัวเป็นบ้อง บิดเปลี่ยนทางเพื่อใช้ในการตัดหรือถากได้ ว่า ขวานโยน, ขวานปุลู หรือ ขวานปูลู ก็เรียก.
  62. โยน,โยน,โยนก
    หมายถึง น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคำ Ionia; ชื่อเรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน หรือ เยาวนะ ก็เรียก. (ป.).
  63. โยนกลอง
    หมายถึง ก. ปัดภาระหรือความรับผิดชอบไปให้คนอื่น.
  64. โยนกลอน
    หมายถึง ก. ขึ้นต้นกลอนแล้วโยนให้คนอื่นแต่งต่อ.
  65. โยนยาว
    หมายถึง น. จังหวะร้องเพลงขณะพายเรือจังหวะช้า.
  66. โยนหลุม
    หมายถึง น. ชื่อการเล่นพนันชนิดหนึ่งใช้สตางค์หรือสิ่งอื่นโยนให้ลงหลุม.
  67. โยนหัวโยนก้อย
    หมายถึง ก. โยนสตางค์หรือสิ่งอื่นขึ้นไปแล้วทายว่าตกลงมาจะหงายด้านหัวหรือก้อย.
  68. โยนห่วง
    หมายถึง น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งใช้ห่วงโยนลงไปคล้องหลักที่ปักอยู่บนแป้น.
  69. โยนิโส
    หมายถึง ว. โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้; ตั้งแต่ต้น; โดยตลอด. (ป.).
  70. โยนิโสมนสิการ
    หมายถึง [-มะนะสิกาน] น. การพิจารณาโดยแยบคาย. ก. เข้าใจตั้งแต่ต้น, เข้าใจโดยตลอด. (ป.).
  71. โยนี
    หมายถึง น. อวัยวะสืบพันธุ์ของหญิง. (ป., ส. โยนิ ว่า มดลูก; ที่เกิด, ต้นกำเนิด; ปัญญา).
  72. โยพนมัท
    หมายถึง [โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
  73. โยพนะ
    หมายถึง [โยบพะนะ] น. ความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพน).
  74. โยม
    หมายถึง น. คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราวเดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดยเจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณรในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.
  75. โยเย
    หมายถึง ว. เกเร, เกะกะ; ร้องไห้งอแง, ขี้อ้อน, (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ). ก. พูดรวนเร.
  76. โยโส
    หมายถึง ว. โหยกเหยก, อวดดี, หยิ่งจองหอง.
  77. โย่ง
    หมายถึง ว. ลักษณะที่สูงกว่าปรกติ เมื่อเคลื่อนไหวดูประหนึ่งว่าโยกเยกไปมา เช่น สูงโย่ง.
  78. โย่ง ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่คนผอมสูงเดินก้าวยาว ๆ เรียกว่า เดินโย่ง ๆ.
  79. โย่งเย่ง
    หมายถึง ว. อาการที่คนสูงโย่งเดินโยกเยกไปมา; ไม่รัดกุม.
  80. โย้
    หมายถึง ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียนหนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
  81. โย้เย้
    หมายถึง ว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือนโย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.
  82. ใย
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ๆ เช่น ใยบัว ใยแมงมุม. ว. นวลบาง, บาง ๆ, ละเอียดอ่อน เช่น นวลใย.
  83. ใยฟ้า
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นเส้นละเอียดอ่อนอย่างใยแมงมุมที่ลอยอยู่ในอากาศ.
  84. ใยยอง
    หมายถึง ว. งามผุดผ่อง, งามสุกใส.
  85. ใยหิน
    หมายถึง น. แร่ประเภทซิลิเกต โดยมากเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียมซิลิเกต ลักษณะเป็นเส้นใย ทนไฟ ใช้ประโยชน์นำไปทำวัสดุทนไฟ และฉนวนความร้อน.
  86. ไย
    หมายถึง ว. ไฉน, อะไร, ทำไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา.
  87. ไยดี
    หมายถึง ก. พอใจ, ยินดี, เอื้อ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ไยดี อย่าไปไยดี.
  88. ไยไพ
    หมายถึง ก. เยาะเย้ย, พูดให้เขาอาย.
  89. ไยไย,ไย่ไย่
    หมายถึง ว. เป็นแถวเป็นแนว.
  90. ไย่
    หมายถึง ว. ฟางตา.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 9)"