พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 8)

  1. เยิ่น
    หมายถึง ว. มีระยะยาวหรือนานยืดออกไป; เนิบ เช่น อ่อนเยิ่น.
  2. เยิ่นเย้อ
    หมายถึง ว. ยืดยาด, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, (โดยมากใช้แก่คำพูดหรือข้อความ) เช่น พูดจาเยิ่นเย้อ ข้อความเยิ่นเย้อ.
  3. เยิ้ม
    หมายถึง ก. ซึมออกมาแทบหยด เช่น นํ้าเกลือเยิ้ม น้ำเหลืองเยิ้ม, ชุ่มมากแทบหยด เช่น ใส่นํ้ามันจนเยิ้ม, (โดยมากใช้แก่นํ้าหรือของเหลวที่มีลักษณะเหนียวเหนอะหนะ); โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เห็นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นัยน์ตาเยิ้ม.
  4. เยีย
    หมายถึง น. ยุ้งข้าว. (ไทยใหญ่).
  5. เยีย
    หมายถึง ว. งามยิ่ง, งามเพริศพริ้ง, เยียรยง.
  6. เยีย
    หมายถึง (ถิ่น) ก. ทำ.
  7. เยีย
    หมายถึง น. เรียกไก่ตัวผู้ที่มีรูปร่างคล้ายไก่ตัวเมียว่า ไก่เยีย. (เทียบ ข. ญี ว่า สัตว์ตัวเมีย).
  8. เยียงผา
    หมายถึง ดู เลียงผา ๑.
  9. เยียดยัด
    หมายถึง ก. ยัดเยียด.
  10. เยียน
    หมายถึง ก. ไปมาหาสู่, มักใช้ควบกับคำ เยี่ยม เป็น เยี่ยมเยียน, เยือน ก็ว่า.
  11. เยียบ
    หมายถึง ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับคำ เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ.
  12. เยียมั่ง
    หมายถึง ก. ทำเป็นคนมั่งมี.
  13. เยียรบับ
    หมายถึง [-ระบับ] น. ผ้าซึ่งทอด้วยทองแล่งกับไหมแต่มีไหมน้อยกว่า, ส้ารบับ ก็ว่า.
  14. เยียรยง
    หมายถึง [เยียระยง] (กลอน) ว. งามยิ่ง, งามเพริศพริ้ง, ใช้ว่า เยีย ก็มี.
  15. เยียว
    หมายถึง สัน. ผิว่า, แม้ว่า, ถ้า.
  16. เยียวยง
    หมายถึง (กลอน) ว. งามยิ่ง.
  17. เยียวยา
    หมายถึง ก. บำบัดโรค, แก้โรค, เช่น ไม่มีหมอจะมาเยียวยาได้; แก้ไข, ทำให้ดีขึ้น, เช่น เศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก ยากที่จะเยียวยาได้.
  18. เยียใด
    หมายถึง ก. ทำไฉน.
  19. เยียใหญ่
    หมายถึง ก. ทำเป็นคนใหญ่โต, มักใหญ่ใฝ่สูง.
  20. เยี่ยง
    หมายถึง น. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง. ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี.
  21. เยี่ยงอย่าง
    หมายถึง น. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง. ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี.
  22. เยี่ยม
    หมายถึง ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงกหน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
  23. เยี่ยม
    หมายถึง ว. ยิ่ง, เด่น, เลิศ, เช่น ดีเยี่ยม เขาเยี่ยมทางคำนวณ.
  24. เยี่ยม ๆ มอง ๆ
    หมายถึง ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรืออะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามาเยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  25. เยี่ยมกราย
    หมายถึง ก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย.
  26. เยี่ยมยอด
    หมายถึง ว. ดีที่สุด, เลิศที่สุด, ยอดเยี่ยม ก็ว่า.
  27. เยี่ยมวิมาน
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  28. เยี่ยมเยียน
    หมายถึง ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว.
  29. เยี่ยมเยือน
    หมายถึง ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว.
  30. เยี่ยว
    หมายถึง น. ของเหลวที่เสียซึ่งไตขับถ่ายออกจากโลหิต, นํ้าปัสสาวะ, (ปาก) น้ำเบา. ก. ถ่ายปัสสาวะ, (ปาก) เบา.
  31. เยี่ยวงัว
    หมายถึง (ถิ่น-อุดร) น. ต้นกะทกรก. [ดู กะทกรก (๑)].
  32. เยี่ยวอูฐ
    หมายถึง น. ยาดมชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นเม็ดแอมโมเนียมคาร์บอเนตผสมนํ้าแอมโมเนียและสารหอมบางอย่าง ใช้สูดดมแก้อาการวิงเวียน.
  33. เยือ
    หมายถึง (ถิ่น) ว. นาน.
  34. เยือก
    หมายถึง ว. อาการที่ไหวน้อย ๆ เช่น พายุพัดเรือนไหวเยือก.
  35. เยือก
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นยะเยือก หรือ เย็นเยือก ก็ว่า.
  36. เยือกเย็น
    หมายถึง ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคนเยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  37. เยือง
    หมายถึง ก. เยื้อง.
  38. เยือง
    หมายถึง ดู เลียงผา ๑.
  39. เยือน
    หมายถึง ก. เยี่ยม เช่น ลมหนาวมาเยือน ไปเยือนยุโรป.
  40. เยื่อ
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นแผ่นบางอยู่ตามผิวหรือภายในของร่างกายบางส่วนหรือของสิ่งต่าง ๆ เช่น เยื่อในกระดูก เยื่อหัวหอม เยื่อไม้ไผ่.
  41. เยื่อง
    หมายถึง ว. เยี่ยง.
  42. เยื่อเคย
    หมายถึง น. กุ้งเคย, กะปิ, กะปิที่ทำจากกุ้งเคย.
  43. เยื่อใย
    หมายถึง น. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย.
  44. เยื้อ
    หมายถึง ก. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้น, มักใช้ว่า ยืดเยื้อ.
  45. เยื้อง
    หมายถึง ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่างละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.
  46. เยื้องกราย
    หมายถึง ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  47. เยื้องยัก
    หมายถึง ก. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, ดัดแปลง, ยักเยื้อง ก็ว่า.
  48. เยื้องย่าง
    หมายถึง ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า.
  49. เยื้อน
    หมายถึง ก. เอื้อนกล่าวออกมาโดยมีอาการแช่มช้างดงาม.
  50. เย็ด
    หมายถึง (ปาก) ก. ร่วมประเวณี.
  51. เย็น
    หมายถึง ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
  52. เย็น
    หมายถึง น. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖-๑๘ นาฬิกา.
  53. เย็นฉ่ำ
    หมายถึง ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
  54. เย็นชา
    หมายถึง ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการเย็นชา, ชาเย็น ก็ว่า.
  55. เย็นชืด
    หมายถึง ว. เย็นอย่างสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เขานอนตายตัวเย็นชืด, เย็นจนหมดรสชาติ เช่น แกงเย็นชืด.
  56. เย็นชื่น
    หมายถึง ว. เย็นสบาย เช่น ฝนตกใหม่ ๆ อากาศเย็นชื่น.
  57. เย็นชื้น
    หมายถึง ว. เย็นอย่างมีไอน้ำซึมซาบอยู่ เช่น ฝนตกติดกันหลายวันอากาศเย็นชื้น.
  58. เย็นตา
    หมายถึง ว. ชื่นตา, สบายตา, ดูแล้วสบายใจ, เช่น สีเขียวอ่อนเย็นตา.
  59. เย็นตาโฟ
    หมายถึง น. อาหารแบบจีนอย่างหนึ่งคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใส่ผักบุ้ง ปลาหมึกแช่ด่าง เต้าหู้ เลือดหมู ลูกชิ้นปลา แมงกะพรุน และน้ำเต้าหู้ยี้หรือซอสมะเขือเทศ. (จ.).
  60. เย็นยะเยือก
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นเยือก หรือ เยือกเย็น ก็ว่า.
  61. เย็นวาบ
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัดกระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
  62. เย็นวูบ
    หมายถึง ว. อาการที่ความเย็นมากระทบตัวโดยฉับพลันแล้วก็หายไป เช่น เข้าไปในห้องปรับอากาศรู้สึกเย็นวูบ.
  63. เย็นหู
    หมายถึง ว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.
  64. เย็นเจี๊ยบ
    หมายถึง ว. เย็นมาก เช่น น้ำแข็งเย็นเจี๊ยบ.
  65. เย็นเฉียบ
    หมายถึง ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
  66. เย็นเฉื่อย
    หมายถึง ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มีอารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  67. เย็นเตาโฟ
    หมายถึง น. อาหารแบบจีนอย่างหนึ่งคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใส่ผักบุ้ง ปลาหมึกแช่ด่าง เต้าหู้ เลือดหมู ลูกชิ้นปลา แมงกะพรุน และน้ำเต้าหู้ยี้หรือซอสมะเขือเทศ. (จ.).
  68. เย็นเยียบ
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ, เยียบเย็น ก็ว่า.
  69. เย็นเยือก
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอยน้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  70. เย็นใจ
    หมายถึง ก. สบายใจ, ไม่ยุ่งใจ, ไม่ต้องกังวลใจ, ไม่ร้อนใจ, เช่น เรื่องนี้เย็นใจได้ สำเร็จแน่.
  71. เย็บ
    หมายถึง ก. ทำให้ติดกันโดยใช้เข็มร้อยด้ายหรือเชือกเป็นต้นแทงขึ้นแทงลง เช่น เย็บผ้า เย็บกระสอบ, ใช้ตอกหรือหวายเป็นต้นที่มีปลายแหลมแทงขึ้นลงเพื่อร้อยสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ติดกัน เช่น เย็บจาก, ใช้เครื่องอุปกรณ์กดทำให้กระดาษติดกันด้วยลวดเย็บ เช่น เย็บกระดาษ, กลัดให้ติดกันด้วยไม้กลัดเป็นต้น เช่น เย็บกระทง.
  72. เย็บกี่
    หมายถึง ก. ใช้ด้ายเย็บแผ่นกระดาษด้วยวิธีร้อยทีละปึกเล็ก ๆ เพื่อประกอบเข้าเป็นเล่มในลักษณะที่ทำให้เปิดเล่มได้เต็มที่.
  73. เย็บจักร
    หมายถึง ก. เย็บด้วยจักร.
  74. เย็บด้าย
    หมายถึง ก. ใช้ด้ายเย็บแผ่นกระดาษเพื่อประกอบเข้าเป็นเล่ม.
  75. เย็บปาก
    หมายถึง (ปาก) ก. ปิดปากเงียบไม่ยอมพูด.
  76. เย็บมือ
    หมายถึง ก. เย็บด้วยมือ.
  77. เย็บมุงหลังคา
    หมายถึง ก. เย็บอก.
  78. เย็บลวด
    หมายถึง ก. ใช้ลวดเย็บแผ่นกระดาษเพื่อประกอบเข้าเป็นเล่ม.
  79. เย็บล้มตะเข็บ
    หมายถึง ก. เรียกวิธีเย็บผ้าแบบหนึ่ง โดยเย็บ ๒ ครั้ง เมื่อเย็บครั้งหนึ่งแล้ว จับตะเข็บให้ราบลง แล้วเย็บลงไปบนตะเข็บนั้นอีกครั้งหนึ่ง.
  80. เย็บสวน
    หมายถึง ก. เย็บกลีบดอกไม้และใบไม้บนใบมะพร้าวหรือก้านกล้วยทำเป็นแถบยาวสำหรับประดับตกแต่งงานเครื่องสด.
  81. เย็บอก
    หมายถึง ก. ใช้ด้ายหรือลวดเย็บแผ่นกระดาษตามแนวกึ่งกลาง เพื่อพับประกอบเข้าเป็นเล่ม, เย็บมุงหลังคา ก็เรียก.
  82. เย็บเล่ม
    หมายถึง ก. ใช้ด้ายหรือลวดเย็บแผ่นกระดาษเพื่อประกอบเข้าเป็นเล่ม.
  83. เย็บแบบ
    หมายถึง ก. เย็บกลีบดอกไม้ติดบนใบตองเป็นรูปต่าง ๆ.
  84. เย็บแผล
    หมายถึง ก. ทำให้แผลติดกันโดยใช้เอ็นหรือไหมเย็บ หรือใช้ปลิงเกาะ.
  85. เย่อ
    หมายถึง ก. เอามาด้วยแรงบังคับโดยการฉุดรั้งแย่งกัน, ใช้แรงฉุดรั้งดึงกันไปมา.
  86. เย่อหยิ่ง
    หมายถึง ว. จองหองเกินฐานะ, แสดงอาการยโสโอ้อวด, ถือตัว, อวดดี.
  87. เย้
    หมายถึง ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทำท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวนจะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
  88. เย้ย
    หมายถึง ก. พูดหรือกระทำให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
  89. เย้ยหยัน
    หมายถึง ก. พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
  90. เย้า
    หมายถึง ก. หยอก, สัพยอก.
  91. เย้า
    หมายถึง น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้ว-เย้า.
  92. เย้าหยอก
    หมายถึง ก. สัพยอก, กระเซ้าเย้าแหย่, หยอกเย้า ก็ว่า.
  93. แยก
    หมายถึง ก. ทำให้สิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่ออกจากกัน เช่น แยกกลุ่มประชุม แยกกล้วยไม้, กิริยาของสิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แตกออกจากกัน เช่น แผ่นดินแยก, แตกหรือทำให้แตกออกเป็นทาง เช่น แม่นํ้าแยก ทางแยก, ไม่รวมกัน เช่น แยกกันอยู่.
  94. แยกตัว
    หมายถึง ก. ผละออก เช่น เขาแยกตัวออกจากพรรคพวก; ไม่ผสมกลมกลืนกัน เช่น น้ำกับน้ำมันแยกตัวกัน; แบ่งตัวเพื่อขยายจำนวน เช่น เซลล์แยกตัวออกจากกันเป็นทวีคูณ.
  95. แยกธาตุ
    หมายถึง ก. ทำให้ธาตุที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แยกออกจากกัน.
  96. แยกย้าย
    หมายถึง ก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกันกลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่.
  97. แยกสี
    หมายถึง ก. แยกแม่พิมพ์ออกตามแม่สี ๓ สี.
  98. แยกเขี้ยว
    หมายถึง ก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือแยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่.
  99. แยกแยะ
    หมายถึง ก. กระจายออกให้เห็นชัดเจน เช่น แยกแยะปัญหาให้เห็นเป็นประเด็น ๆ ไป.
  100. แยกแย้ง
    หมายถึง ก. แยกไปคนละทาง, ไม่ลงรอยกัน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 8)"