พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 5)

  1. ยิ้มแต้
    หมายถึง ก. ยิ้มอย่างเปิดเผยด้วยความยินดีหรือดีใจมาก.
  2. ยิ้มแป้น
    หมายถึง ก. ยิ้มทำแก้มแป้น.
  3. ยิ้มแย้ม,ยิ้มแย้มแจ่มใส
    หมายถึง ก. ยิ้มอย่างชื่นบาน, แย้มยิ้ม ก็ว่า.
  4. ยิ้มแสยะ
    หมายถึง ก. ยิ้มแบะปากแยกเขี้ยวเป็นการขู่ขวัญให้เกรงกลัวหรือขู่ว่าจะทำร้าย.
  5. ยิ้มแหย
    หมายถึง [-แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย.
  6. ยิ้มแห้ง
    หมายถึง ก. จำใจยิ้ม.
  7. ยิ้มในหน้า
    หมายถึง ว. อมยิ้ม.
  8. ยี
    หมายถึง ก. ขยี้ เช่น ยีลูกตาล, ขยี้ให้ฟู เช่น ยีแป้งขนมขี้หนู, ทำให้ฟู เช่น ยีผม, ละเลง เช่น ตักอาหารมามาก ๆ กินไม่หมดจะเอายีหัว.
  9. ยีน
    หมายถึง น. ผ้าฝ้ายเนื้อหนาหยาบ มักย้อมสีน้ำเงิน. (อ. jean).
  10. ยียวน
    หมายถึง ก. เคล้าคลึงชวนให้กำเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดโทสะ, ยวนยี ก็ว่า.
  11. ยีราฟ
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง คอยาวมาก มีเขา ๑ คู่ ตัวสีน้ำตาลอมเหลืองมีลายสีน้ำตาลเข้มลักษณะเป็นดอกหรือเป็นตาราง อยู่รวมกันเป็นฝูง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Giraffa camelopardalis.
  12. ยี่
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ปีขาล.
  13. ยี่
    หมายถึง ว. สอง ในคำว่า ยี่สิบ, ที่สอง เช่น เดือนยี่ (คือ เดือนที่ ๒ นับทางจันทรคติ), โบราณใช้ว่า ญี่ ก็มี.
  14. ยี่ก่า
    หมายถึง น. ขนนกที่ปักหมวก.
  15. ยี่ภู่
    หมายถึง น. ที่นอน, ฟูก, (ราชาศัพท์ใช้ว่า พระยี่ภู่).
  16. ยี่สก
    หมายถึง น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Probarbus jullieni ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้าง มีหนวดสั้นที่มุมปากข้างละ ๑ เส้น มีแถบสีดำเด่นพาดตามยาวเฉพาะบนลำตัว ๗-๘ แถบ ขนาดยาวกว่า ๙๐ เซนติเมตร, ยี่สกทอง ก็เรียก.
  17. ยี่สกทอง
    หมายถึง ดู ยี่สก.
  18. ยี่สง
    หมายถึง น. ถั่วยี่สง. (ดู ถั่วลิสง).
  19. ยี่สน
    หมายถึง น. ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑-๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้านหลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก.
  20. ยี่สาน,ยี่ส่าน
    หมายถึง น. ตลาดของแห้ง, ที่ขายของแห้ง. (เทียบเปอร์เซีย bazaar).
  21. ยี่สิบ
    หมายถึง ว. จำนวน ๑๐ สองหนรวมกัน.
  22. ยี่สุ่น
    หมายถึง ดู กุหลาบ (๑).
  23. ยี่หระ
    หมายถึง (ปาก) ก. สะทกสะท้าน, ไยดี, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เห็นยี่หระ.
  24. ยี่หร่า
    หมายถึง [-หฺร่า] ดู เทียนขาว. (เทียบ ส. ชีรก; ทมิฬ ชีรา; ฮินดูสตานี zira).
  25. ยี่หร่าหวาน
    หมายถึง ดู เทียนข้าวเปลือก.
  26. ยี่หุบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Magnolia coco DC. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาว ลักษณะคล้ายดอกมณฑาแต่เล็กกว่า.
  27. ยี่ห้อ
    หมายถึง น. เครื่องหมายสำหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอกยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  28. ยี่เก
    หมายถึง (ปาก) น. ลิเก.
  29. ยี่เข่ง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lagerstroemia indica L. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดง ชมพู หรือขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง.
  30. ยี่โถ
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Nerium oleander L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีชมพู ขาว แดง หรือเหลือง มีทั้งกลิ่นหอมและไม่มีกลิ่นหอม ยางเป็นพิษ.
  31. ยี่โถฝรั่ง
    หมายถึง ดู รำเพย ๒.
  32. ยี่โป้
    หมายถึง น. ผ้าสำหรับพาดไหล่ หรือคาดพุง.
  33. ยี้
    หมายถึง อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น ยี้! เสื้อสกปรกอย่างนี้ยังจะเอามาให้อีก, อี๊ ก็ว่า.
  34. ยึกยัก
    หมายถึง ก. ขยุกขยิก, ยักไปยักมา, เช่น นั่งทำตัวยึกยัก. ว. อาการที่ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ, กระยึกกระยัก ก็ว่า.
  35. ยึกยือ
    หมายถึง ว. หยิกไปหยิกมา, ไม่ตรง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เขียนหนังสือเป็นตัวยึกยือ, กระยึกกระยือ ก็ว่า.
  36. ยึด
    หมายถึง ก. ถือเอาไว้ เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น หนุมานยึดรถพระอาทิตย์; เข้าครอบครอง เช่น ยึดพื้นที่, ใช้อำนาจกฎหมายรับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมา เช่น ยึดใบขับขี่ ยึดทรัพย์.
  37. ยึดครอง
    หมายถึง ก. เข้าถือสิทธิครอบครอง.
  38. ยึดถือ
    หมายถึง ก. จับถือ, เอามารักษา, นับถือ เช่น ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  39. ยึดทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) ก. การที่เจ้าพนักงานเอาทรัพย์สินไปจากการครอบครองของบุคคล เพราะเหตุที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายหรือเพื่อบังคับคดี.
  40. ยึดมั่น
    หมายถึง ก. ยึดถืออย่างมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย ๆ เช่น ยึดมั่นในหลักการ ยึดมั่นในตัวบุคคล.
  41. ยึดหัวหาด
    หมายถึง ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อสะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.
  42. ยึดอำนาจ
    หมายถึง ก. ใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจในการบริหารบ้านเมือง.
  43. ยึดเหนี่ยว
    หมายถึง ก. อาศัยเป็นที่พึ่ง.
  44. ยืด
    หมายถึง ก. ขยายตัวให้ยาวออกไปได้ เช่น ยางยืด ผ้ายืดออกไป, ขยายเวลาให้นานออกไป เช่น ยืดเวลา. ว. เรียกสิ่งที่ขยายตัวให้ยาวหรือกว้างออกไปเช่นนั้น เช่น เสื้อยืด กางเกงยืด; ยาว เช่น น้ำลายไหลยืด; นาน, ยืนนาน, เช่น อยู่กันยืด.
  45. ยืดตัว
    หมายถึง ก. เจริญเติบโต (ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ) เช่น เด็กกำลังยืดตัว.
  46. ยืดยาด
    หมายถึง ว. เสียเวลานาน, ชักช้า, เช่น ทำงานยืดยาด แต่งตัวยืดยาด.
  47. ยืดยาว
    หมายถึง ว. ยาวมาก เช่น พูดเสียยืดยาว พรรณนาสรรพคุณเสียยืดยาว.
  48. ยืดหยุ่น
    หมายถึง (วิทยา) ว. ลักษณะที่วัตถุสามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้หลังจากแรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้นหยุดกระทำ; โดยปริยายหมายความว่า รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว, ไม่ตายตัว, อะลุ่มอล่วย, เปลี่ยนแปลงได้.
  49. ยืดอก
    หมายถึง ก. เบ่งอกแสดงให้เห็นความสง่าผ่าเผยเป็นต้น.
  50. ยืดเยื้อ
    หมายถึง ว. ยาวนาน, ไม่ใคร่จะจบสิ้นง่าย ๆ, เช่น คดียืดเยื้อ.
  51. ยืดแข้งยืดขา,ยืดเส้นยืดสาย
    หมายถึง ก. อาการที่ออกกำลังโดยเดินหรือวิ่งเป็นต้นเพื่อให้หายเมื่อยขบ.
  52. ยืน
    หมายถึง ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรงขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคำ; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็นแนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น.
  53. ยืนกระต่ายสามขา
    หมายถึง (สำ) ก. พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.
  54. ยืนกราน
    หมายถึง ก. ยืนคำอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็นเป็นอื่น).
  55. ยืนคำ
    หมายถึง ก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง.
  56. ยืนค้ำหัว
    หมายถึง ก. ยืนชิดอยู่ข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เช่น อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่.
  57. ยืนชิงช้า
    หมายถึง (โบ) น. เรียกข้าราชการที่เป็นประธานในพิธีโล้ชิงช้าแทนพระเจ้าแผ่นดินว่า พระยายืนชิงช้า.
  58. ยืนต้น
    หมายถึง น. เรียกต้นไม้ใหญ่ที่มีผลและมีอายุยืนนาน.
  59. ยืนต้นตาย
    หมายถึง ก. อาการที่ต้นไม้บางชนิดเช่นต้นตาล ต้นลาน ตายแล้วแต่ยังไม่ล้ม, อาการที่ไม้ยืนต้นเช่นต้นสัก ต้นยาง ตายเองหรือถูกกานคือ ควั่นเปลือกและกระพี้โดยรอบออกแล้วตาย แต่ยังไม่ล้ม.
  60. ยืนพื้น
    หมายถึง ก. คงที่อยู่เสมอ, คงยึดหลักหรือแบบเสมอ, เช่น กับข้าวไทยมีน้ำพริกยืนพื้น.
  61. ยืนยง
    หมายถึง ก. คงอยู่นาน.
  62. ยืนยัน
    หมายถึง ก. พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คำเดียวก็มี.
  63. ยืนยาม
    หมายถึง ก. ยืนเฝ้ายาม.
  64. ยืนหยัด
    หมายถึง ก. สู้ไม่ยอมถอย เช่น เขายืนหยัดสู้ได้ตลอด ๕ ยก.
  65. ยืนเครื่อง
    หมายถึง น. ตัวพระนางที่แต่งเครื่องกษัตริย์.
  66. ยืนแท่น
    หมายถึง น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธีว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่นว่า เทวดายืนแท่น.
  67. ยืนโรง
    หมายถึง น. เรียกผู้แสดงเป็นตัวละครหรือลิเกเป็นต้นตัวใดตัวหนึ่งประจำ เช่น พระเอกยืนโรง ตัวตลกยืนโรง, เรียกผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาเป็นตัวยืนโรงในการประชุม; เรียกช้างหรือสัตว์เลี้ยงที่ปรนปรือเป็นพิเศษอยู่ประจำโรง เช่น ช้างยืนโรง ม้ายืนโรง. ก. ทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งเป็นประจำ เช่น เขาต้องยืนโรงตอบปัญหาตลอดรายการ; (โบ) ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง).
  68. ยืม
    หมายถึง ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.
  69. ยืมจมูกคนอื่นหายใจ
    หมายถึง (สำ) ก. อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
  70. ยืมชื่อ
    หมายถึง ก. อาศัยชื่อผู้อื่นไปเป็นประโยชน์ตน เช่น ยืมชื่อคนมีชื่อเสียงไปอ้างเพื่อให้คนเชื่อถือ.
  71. ยืมปาก
    หมายถึง ก. อาศัยผู้อื่นพูดแทน เช่น ยืมปากครูขออนุญาตพ่อแม่ไปทัศนาจร.
  72. ยืมมือ
    หมายถึง ก. อาศัยผู้อื่นทำการแทน เช่น ยืมมือเขาไปล้างแค้น.
  73. ยืมเมจ
    หมายถึง ขออนุญาตยืมรูปภาพ ไปทำการอะไรก็แล้วแต่ โดยที่ไม่บอกเจ้าของหรอกเดี๋ยวจะโดนทวงเครดิต
  74. ยื่น
    หมายถึง ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุขยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการให้พูดให้ทำว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  75. ยื่นจมูก
    หมายถึง (สำ) ก. เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก.
  76. ยื่นมือ
    หมายถึง ก. เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย, เข้าไปเพื่อช่วยเหลือเป็นต้น.
  77. ยื่นหมูยื่นแมว
    หมายถึง (สำ) ก. แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน.
  78. ยื่นแก้วให้วานร
    หมายถึง (สำ) ก. เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น.
  79. ยื้อ
    หมายถึง ก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน.
  80. ยื้อยุด
    หมายถึง ก. ฉุดรั้งไว้.
  81. ยุ
    หมายถึง ก. กล่าวชักชวน ส่งเสริม หนุน หรือเป็นใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (มักใช้ในทางที่ไม่สมควร) เช่น ยุให้เขาทะเลาะกัน ยุให้โกรธ ยุให้กำเริบ.
  82. ยุกกระบัตร
    หมายถึง น. ยกกระบัตร.
  83. ยุกดิ,ยุกติ
    หมายถึง (แบบ; กลอน) ก. ชอบ เช่น รุ่งนั้นธก็เสด็จโดยอุตราภิมุข ดำเนอรยุกติยูรยาตร. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ส. ยุกฺติ; ป. ยุตฺติ).
  84. ยุกติธรรม
    หมายถึง น. ยุติธรรม.
  85. ยุกต์
    หมายถึง ว. ชอบ, ถูกต้อง, ประกอบ. (ส.; ป. ยุตฺต).
  86. ยุขึ้น
    หมายถึง ก. หนุนให้ทำอะไรก็ทำตาม.
  87. ยุค
    หมายถึง น. คู่, ทั้งสอง. (ป., ส.).
  88. ยุค
    หมายถึง น. แอก. (ป., ส.).
  89. ยุค
    หมายถึง น. คราว, สมัย, เช่น ยุคมืด ยุคหิน; กำหนดเวลาของโลก มี ๔ ยุค. (ดู จตุรยุค). (ป., ส.).
  90. ยุคทมิฬ
    หมายถึง น. ยุคที่เต็มไปด้วยความเหี้ยมโหดดุร้าย.
  91. ยุคทอง
    หมายถึง น. ช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรือง เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยยุคหนึ่ง.
  92. ยุคนธร
    หมายถึง [-คนทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นชั้นในที่สุดในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ, ใช้ ยุคันธร หรือ ยุคุนธร ก็มี. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  93. ยุคมืด
    หมายถึง น. ช่วงแรกของสมัยกลางในประวัติศาสตร์ยุโรป ประมาณ ๖๐๐ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๕๐-๑๖๕๐ เป็นยุคที่ประชาชนมีแต่ความมืดมนหมดหวังในชีวิต เพราะถูกพวกตาดมองโกลทำลายล้าง และไม่มีความเจริญทางสติปัญญาเพราะศาสนาไม่เปิดโอกาสให้คิดอย่างเสรี, โดยปริยายหมายถึงยุคที่ประชาชนหมดหวังในชีวิต.
  94. ยุคล
    หมายถึง ว. คู่, ทั้งสอง. (ป., ส.).
  95. ยุคลบาท
    หมายถึง [ยุคนละบาด] น. เท้าทั้งคู่. (ป., ส.).
  96. ยุคันต,ยุคันต-,ยุคันต์
    หมายถึง น. ที่สุดแห่งยุค. (ป.).
  97. ยุคันตวาต
    หมายถึง [ยุคันตะ-] น. ลมในที่สุดยุค หมายความว่า ลมที่มาทำลายโลกเมื่อสิ้นยุค. (ป.).
  98. ยุคันธร
    หมายถึง น. ยุคนธร. (ป.). (ดู ยุคนธร).
  99. ยุคุนธร
    หมายถึง น. ยุคนธร. (ดู ยุคนธร).
  100. ยุคเข็ญ
    หมายถึง น. คราวที่มีความเดือดร้อนลำเค็ญอย่างใหญ่หลวง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 5)"