พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 4)

  1. ยาวัส
    หมายถึง น. ฟ่อนหญ้า, หญ้าหรืออาหารสำหรับสัตว์. (ส.).
  2. ยาวเฟื้อย
    หมายถึง ว. ยาวมาก (มักใช้แก่สิ่งที่เป็นเส้นอย่างผมหรือหางไก่เป็นต้น) เช่น ผมยาวเฟื้อย ไก่ฟ้าหางยาวเฟื้อย.
  3. ยาวเหยียด
    หมายถึง ว. ทอดตรงออกไปเต็มเหยียด เช่น นอนยาวเหยียด, ยาวเป็นแถวเป็นแนวไปไกล เช่น ขบวนยาวเหยียด, ยาวมากเกินไป เช่น พรรณนาสรรพคุณเสียยาวเหยียด.
  4. ยาสมุนไพร
    หมายถึง (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
  5. ยาสลบ
    หมายถึง น. สารเคมีที่ใช้ในการแพทย์เพื่อทำให้สลบ.
  6. ยาสั่ง
    หมายถึง น. ยาพิษจำพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กำหนดหรือตามเวลาที่กำหนดไว้.
  7. ยาสามัญประจำบ้าน
    หมายถึง (กฎ) น. ยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน.
  8. ยาสีฟัน
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นผงหรือครีมเป็นต้นใช้สีฟันเพื่อรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรง.
  9. ยาสุมหัว
    หมายถึง น. ยาที่ใช้สมุนไพร เช่น ว่านเปราะ หัวหอม โขลกพอกกระหม่อมเด็กแก้หวัด.
  10. ยาสูบ
    หมายถึง น. ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; (กฎ) บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย.
  11. ยาสูบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Nicotiana tabacum L. ในวงศ์ Solanaceae ใบหั่นเป็นเส้นใช้กินกับหมากหรือมวนสูบ ทำเป็นผงใช้เป่าหรือสูดดม.
  12. ยาสูบ
    หมายถึง น. ใบของต้นยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) ที่หั่นเป็นเส้นใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ.
  13. ยาหมู่
    หมายถึง น. ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง.
  14. ยาหม่อง
    หมายถึง น. ยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่ง ใช้ทา นวด เป็นต้น.
  15. ยาหม้อ
    หมายถึง น. ยาไทยที่ประกอบด้วยสมุนไพร กระดูกสัตว์ และเครื่องยาอื่น ๆ ใส่หม้อต้มแล้วกินน้ำที่เคี่ยวจนงวดเพื่อบำบัดโรค.
  16. ยาหม้อใหญ่
    หมายถึง (สำ) น. สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่.
  17. ยาหยัง
    หมายถึง [-หฺยัง] ก. ชนะศัตรู. (ช.).
  18. ยาหยี
    หมายถึง [-หฺยี] น. น้องรัก. (ช.).
  19. ยาหัด
    หมายถึง ว. ชั่ว, ไม่ดี, หยาบ, ไม่งาม. (ช.).
  20. ยาอัด
    หมายถึง (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยาสูบซึ่งได้ป่นหรือย่อยและทำเป็นแผ่นโดยมีวัตถุอื่นเจือปนด้วยหรือไม่ก็ตาม.
  21. ยาอุทัย
    หมายถึง น. ยาสำหรับหยดลงน้ำ มีสีชมพูทำให้น้ำมีกลิ่นหอมชื่นใจ.
  22. ยาเขียว
    หมายถึง ดู รางจืด (๑).
  23. ยาเขียว
    หมายถึง น. ยาแก้ไข้ ทำด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
  24. ยาเคี้ยว
    หมายถึง (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
  25. ยาเบื่อ
    หมายถึง น. ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย.
  26. ยาเป่า
    หมายถึง น. ยาผงใช้เป่าเข้าลำคอ แก้เจ็บคอ.
  27. ยาเยีย
    หมายถึง ก. รักษา, บำรุง.
  28. ยาเสพติด
    หมายถึง น. ยาหรือสารเคมีซึ่งเมื่อเสพหรือฉีดเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะติด ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทำให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรม เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน ยานอนหลับ สุรา.
  29. ยาเสพติดให้โทษ
    หมายถึง (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  30. ยาเส้น
    หมายถึง น. ยาสูบชนิดหนึ่งที่หั่นใบยาเป็นเส้น ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ สำหรับมวนสูบหรือใส่กล้องสูบ; (กฎ) ใบของต้นยาสูบหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว.
  31. ยาเส้นปรุง
    หมายถึง (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ.
  32. ยาเหน็บ
    หมายถึง น. ยาที่ใช้สอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก.
  33. ยาเหลือง
    หมายถึง น. ยาน้ำชนิดหนึ่งสีเหลือง สำหรับใส่แผลเรื้อรัง.
  34. ยาแดง
    หมายถึง น. ยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง; ยาผงชนิดหนึ่งสีแดงใช้ชงกินแก้ร้อนใน; ยาน้ำชนิดหนึ่งสีแดง สำหรับใส่แผลสด.
  35. ยาแผนปัจจุบัน
    หมายถึง (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
  36. ยาแผนโบราณ
    หมายถึง (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
  37. ยาแฝด
    หมายถึง น. ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว.
  38. ยาโป๊
    หมายถึง น. ยาชูกำลังให้กระชุ่มกระชวยเหมือนเป็นหนุ่มสาวขึ้น.
  39. ยาใจ
    หมายถึง ว. เป็นที่บำรุงหัวใจ, เป็นที่ชื่นใจ.
  40. ยาไฉน
    หมายถึง [-ฉะไหฺน] (กลอน) ก. อย่าได้สงสัย, ไม่ต้องสงสัย, เช่น พิศบ่พรรับโอ้อ้า เทพไสร้ยาไฉน. (ลอ).
  41. ยาไส้
    หมายถึง (ปาก) ก. ประทังความหิว.
  42. ยาไส้
    หมายถึง (ปาก) ก. ประทังความหิว เช่น หากินไม่พอยาไส้.
  43. ยำ
    หมายถึง ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อสัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.
  44. ยำ
    หมายถึง ก. เคารพ, นับถือ.
  45. ยำขโมย
    หมายถึง น. ยำเนื้อย่างใส่แตงกวา ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด.
  46. ยำทวาย
    หมายถึง น. ยำชนิดหนึ่ง มีผักลวกเช่นผักบุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิและน้ำพริกซึ่งปรุงรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว.
  47. ยำยาม
    หมายถึง ก. ชมเชย.
  48. ยำสลัด
    หมายถึง น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมีเนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.
  49. ยำเกรง
    หมายถึง ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยำเยง ก็ว่า.
  50. ยำเยง
    หมายถึง (แบบ) ก. ยำเกรง.
  51. ยำเยีย
    หมายถึง ก. ถูกกระทำในทางร้ายโดยวิธีใช้เวทมนตร์ต่าง ๆ, มักใช้ว่า ถูกกระทำยำเยีย.
  52. ยำใหญ่
    หมายถึง น. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้.
  53. ยิก,ยิก ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ทำติดต่อกันถี่ ๆ บ่อย ๆ เช่น ท้ายิกเลย เกาหัวยิก ๆ ชวนยิก ๆ, ขยิก ก็ใช้.
  54. ยิง
    หมายถึง ก. ทำให้อาวุธเช่นลูกศรหรือลูกปืนแล่นออกไปโดยแรงด้วยกำลังส่ง เช่น ยิงธนู ยิงปืน.
  55. ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
    หมายถึง (สำ) ก. ทำอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุนครั้งเดียวได้ผลกำไร ๒ ทาง.
  56. ยิงฟัน
    หมายถึง ก. แยกริมฝีปากให้เห็นฟันขบกัน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แยกเขี้ยว เป็น แยกเขี้ยวยิงฟัน.
  57. ยิงลม
    หมายถึง น. เรียกตัวไม้ประกอบเครื่องบนหลังคาเรือน ทำหน้าที่ยันอยู่ข้างหลังจั่ว ตั้งทแยงปลายข้างหนึ่งยันกับขื่อเพื่อเสริมให้จั่วมั่นคง.
  58. ยิงเป้า
    หมายถึง ก. ต้องโทษโดยยิงให้ตายเพราะความผิดร้ายแรง.
  59. ยิฏฐะ,ยิฐะ
    หมายถึง [ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ; ส. อิษฺฏ).
  60. ยิน
    หมายถึง น. ส่วนหนึ่งของขอช้างที่ยื่นออกจากตัวขออีกข้างหนึ่ง.
  61. ยิน
    หมายถึง ก. รู้เสียงด้วยหู (มักใช้ว่า ได้ยิน), ฟัง, ใช้ประกอบกับคำอื่นหมายความว่า รู้สึก, ชอบ, ยอม ก็มี.
  62. ยินดี
    หมายถึง ก. ชอบใจ, ดีใจ.
  63. ยินมลาก
    หมายถึง [-มะลาก] ก. ดีใจมาก, ชอบใจมาก.
  64. ยินยอม
    หมายถึง ก. ยอม, ไม่ขัด, ตกลง, ชอบใจ, ตาม.
  65. ยินยอมพร้อมใจ
    หมายถึง ก. เห็นด้วยร่วมกัน.
  66. ยินร้าย
    หมายถึง ก. ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ.
  67. ยินลากขากดี
    หมายถึง ก. พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. (ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า).
  68. ยินแคลน
    หมายถึง ก. รู้สึกลำบาก.
  69. ยินใจ
    หมายถึง ก. พอใจ, ตามใจ.
  70. ยิบ
    หมายถึง ว. ยิ่ง, มักใช้ประกอบคำ ถี่ หรือ ละเอียด เป็น ถี่ยิบ ละเอียดยิบ.
  71. ยิบ
    หมายถึง (ปาก) ก. ยักเอาไว้, ริบไว้, เช่น ไม่รู้ว่าใครเอาของมาลืมทิ้งไว้ เลยยิบเอาไปเสียเลย.
  72. ยิบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละอองเป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็นประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.
  73. ยิบหยี
    หมายถึง ว. ทำตาหยีพร้อมกับทำตายิบ ๆ ด้วย เช่น ทำตายิบหยี.
  74. ยิปซัม
    หมายถึง น. แร่ชนิดหนึ่ง ชื่อไฮเดรเตดแคลเซียมซัลเฟต (hydrated calcium sulphate) มีสูตร CaSO4·2H2O เมื่อนำมาเผาให้ร้อนถึง ๑๒๐ °-๑๓๐ °ซ. จะได้ผงสีขาว เรียกว่า ปูนปลาสเตอร์, หินฟองเต้าหู้ หรือ เกลือจืด ก็เรียก. (อ. gypsum).
  75. ยิปซี
    หมายถึง น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้าไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ดำรงชีพด้วยการเล่นดนตรี ค้าม้า ทำนายโชคชะตา เป็นต้น. (อ. gypsy, gipsy).
  76. ยิมนาสติก
    หมายถึง น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แข่งขันกันโดยผู้เล่นต้องแสดงท่าต่าง ๆ ที่มีทั้งท่าบังคับและท่าสมัครให้เข้ากับอุปกรณ์การเล่นแต่ละอย่าง เช่น บาร์เดี่ยว บาร์คู่ ห่วงนิ่ง. (อ. gymnastic).
  77. ยิหวา
    หมายถึง [-หฺวา] น. ดวงชีวิต, ดวงใจ. (ช.).
  78. ยิ่ง
    หมายถึง ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  79. ยิ่งกว่านั้น
    หมายถึง ว. มากกว่านั้น.
  80. ยิ่งนัก
    หมายถึง ว. อย่างยิ่ง.
  81. ยิ่งยวด
    หมายถึง ว. เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า.
  82. ยิ่งใหญ่
    หมายถึง ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความสามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่.
  83. ยิ้ม
    หมายถึง ก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปากและใบหน้า.
  84. ยิ้มกริ่ม
    หมายถึง ก. ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความกระหยิ่มใจหรือพอใจ, กระหยิ่มยิ้มย่อง.
  85. ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา
    หมายถึง (สำ) ก. เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง.
  86. ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่
    หมายถึง ก. ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ.
  87. ยิ้มมุมปาก
    หมายถึง ก. ยิ้มที่มุมปากข้างใดข้างหนึ่งโดยไม่เปิดปาก.
  88. ยิ้มยียวน
    หมายถึง ก. ยิ้มกวนให้เกิดโทสะหรือชวนให้หมั่นไส้.
  89. ยิ้มย่อง,ยิ้มย่องผ่องใส
    หมายถึง ก. ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, กระยิ้มกระย่อง ก็ว่า.
  90. ยิ้มละไม
    หมายถึง ก. ยิ้มน้อย ๆ อยู่ในหน้า.
  91. ยิ้มสู้
    หมายถึง ก. ยิ้มพร้อมที่จะสู้กับอุปสรรคอันตรายใด ๆ โดยไม่ยอมถอย.
  92. ยิ้มหัว
    หมายถึง ก. ยิ้มแกมหัวเราะ, ยิ้มแย้มหยอกล้อกัน.
  93. ยิ้มเก้อ,ยิ้มค้าง
    หมายถึง ก. อาการที่ยิ้มให้เขาแล้วเขาไม่ยิ้มตอบ ทำให้รู้สึกเก้อเขิน.
  94. ยิ้มเจื่อน
    หมายถึง ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิท.
  95. ยิ้มเผล่
    หมายถึง ก. ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ.
  96. ยิ้มเฝื่อน
    หมายถึง ก. ยิ้มวางหน้าไม่สนิทคล้ายกินของมีรสเฝื่อน.
  97. ยิ้มเยาะ
    หมายถึง ก. ยิ้มเป็นเชิงเย้ยหยัน.
  98. ยิ้มเหย
    หมายถึง [-เหฺย] ก. ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม.
  99. ยิ้มแก้เก้อ,ยิ้มแก้ขวย
    หมายถึง ก. อาการที่รู้สึกเก้อหรือขวยแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ฝืนยิ้มออกมา.
  100. ยิ้มแฉ่ง
    หมายถึง ก. ยิ้มอย่างร่าเริงเบิกบาน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 4)"