พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 3)

  1. ยั่ว
    หมายถึง (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคำ ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทำให้เกิดอารมณ์ในทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
  2. ยั่วยวน
    หมายถึง ก. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกำเริบรักหรือเกิดความใคร่.
  3. ยั่วยุ
    หมายถึง ก. ยุให้เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  4. ยั่วเย้า
    หมายถึง ก. พูดหยอกล้อ, กระเซ้า.
  5. ยั้ง
    หมายถึง ก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.
  6. ยั้ว,ยั้วเยี้ย
    หมายถึง ว. อาการที่คนหรือสัตว์จำนวนมากเคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา เช่น ลูกเต้ายั้วเยี้ยไปหมด หนอนไต่กันยั้วเยี้ย ฝูงลิงไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนยอดไม้.
  7. ยา
    หมายถึง น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  8. ยาก
    หมายถึง น. ความลำบาก. ว. ลำบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; (โบ) ขายตัวเป็นทาส.
  9. ยากจน
    หมายถึง ว. เข็ญใจ, ไร้ทรัพย์.
  10. ยากนาน
    หมายถึง ก. ลำบากมาก.
  11. ยากวาด
    หมายถึง น. ยาที่ใช้ป้ายในลำคอเด็กเล็ก ๆ แก้หละ ละออง ซาง.
  12. ยากันยุง
    หมายถึง น. ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด.
  13. ยากเย็น
    หมายถึง ว. ลำบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น.
  14. ยากแค้น
    หมายถึง ว. อัตคัดขัดสน.
  15. ยากไร้
    หมายถึง ว. ยากจน, ขาดแคลนไปทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น คนยากไร้.
  16. ยาขัด
    หมายถึง น. สิ่งที่ใช้ขัดโลหะ หนัง หรือกระเบื้อง เป็นต้น.
  17. ยาขับเลือด
    หมายถึง น. ยากินเพื่อขับระดู.
  18. ยาขี้ผึ้ง
    หมายถึง น. ยาที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งหรือครีม ใช้ทาแก้โรคผิวหนังเป็นต้น.
  19. ยาคะ
    หมายถึง น. ยัญพิธี. (ป., ส.).
  20. ยาคุ,ยาคู
    หมายถึง น. ข้าวต้ม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวอ่อนว่า ข้าวยาคุ หรือ ข้าวยาคู. (ป.).
  21. ยาง
    หมายถึง น. ชนชาติกะเหรี่ยง.
  22. ยาง
    หมายถึง น. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทำจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง.
  23. ยาง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb.) ยางแดง (D. turbinatus C.E. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลำต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า นํ้ามันยาง.
  24. ยาง
    หมายถึง น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดำ นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยางควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว ๒-๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.
  25. ยางกราด
    หมายถึง ดู กราด ๔.
  26. ยางตัน
    หมายถึง น. ยางที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีลักษณะตัน ไม่ต้องใช้ลม.
  27. ยางนอก
    หมายถึง น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอกหล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน.
  28. ยางน่อง
    หมายถึง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ยิงสัตว์.
  29. ยางบอน
    หมายถึง น. เรียกเลือดที่ออกซึม ๆ ที่ผิวหนังตรงที่ถูกของมีคม.
  30. ยางพารา
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลำต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทำผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า.
  31. ยางมะตอย
    หมายถึง น. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดำ หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดำ เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทำผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทำพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก.
  32. ยางมะตูม
    หมายถึง น. เรียกไข่ที่ต้มหรือทอดยังไม่สุกดี ไข่แดงมีลักษณะเป็นยางเหนียว ๆ คล้ายยางมะตูม (ยางที่หล่อเม็ด).
  33. ยางรัด
    หมายถึง น. ยางเส้นเล็ก ๆ เป็นวง ยืดหดได้ ใช้รัดถุงพลาสติกเป็นต้น.
  34. ยางลบ
    หมายถึง น. ยางไม้หรือพลาสติกบางประเภทที่ทำเป็นแท่งหรือเป็นก้อน ใช้ลบรอยดินสอรอยหมึกเป็นต้น.
  35. ยางสน
    หมายถึง น. ยางไม้ที่ได้จากต้นสนเขาในสกุล Pinus วงศ์ Pinaceae เป็นของแข็งมีลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน, ชันสน ก็เรียก.
  36. ยางหนังสติ๊ก
    หมายถึง น. แถบยางยาว ๆ มักทำจากยางในรถจักรยาน เวลานำมาผูกกับง่ามหนังสติ๊กจะใช้ยางเพียง ๒ เส้น โดยผูกปลายด้านหนึ่งของแต่ละเส้นกับปลายสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ แล้วเอาปลายอีกด้านหนึ่งของแต่ละเส้นผูกกับแผ่นหนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชิ้นเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงกลางสำหรับรองรับลูกกระสุนที่ใช้ยิง.
  37. ยางหัวล้าน
    หมายถึง น. ยางนอกที่สึกจนไม่มีดอก.
  38. ยางอาย
    หมายถึง น. ความกระดาก, ความละอายใจ, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่มียางอาย.
  39. ยางใน
    หมายถึง น. ยางที่อยู่ชั้นในของยางนอกรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น ผิวเรียบมีลักษณะเป็นหลอดกลวง กลม มีจุ๊บสำหรับสูบลมให้พอง.
  40. ยาจก,ยาจนก
    หมายถึง [-จก, -จะนก] น. คนขอทาน. (ป., ส.).
  41. ยาจนะ,ยาจนา
    หมายถึง [ยาจะนะ, ยาจะนา] น. การขอ, การขอร้อง, การวิงวอน. (ป., ส.).
  42. ยาจืด
    หมายถึง น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นละเอียด มีรสจืด สีเหลืองนวล ใช้เช็ดปากเช็ดฟันในเวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อนเล็ก ๆ จุกไว้ที่มุมปาก, ยาฝอย ก็เรียก.
  43. ยาฉุน
    หมายถึง น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง เป็นเส้นหยาบ ๆ มีรสฉุน สีนํ้าตาลแก่ ใช้ใบตองหรือใบจากเป็นต้นมวนสูบ.
  44. ยาชกะ
    หมายถึง [-ชะกะ] น. ผู้ที่ทำพิธีบูชาหรือพิธีบวงสรวงแทนผู้อื่น. (ป., ส.).
  45. ยาชา
    หมายถึง น. ยาที่ทาหรือฉีดให้ประสาทชา มักใช้ในการผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นต้น.
  46. ยาซัด
    หมายถึง น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
  47. ยาซับ
    หมายถึง น. สิ่งที่รองในกระเปาะหัวแหวนหรือเครื่องประดับเพื่อหนุนเพชรพลอยให้มีสีสันงามขึ้น.
  48. ยาด
    หมายถึง ดู เวียน ๒.
  49. ยาดอง
    หมายถึง น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกายหรือแก้โรค.
  50. ยาดา
    หมายถึง น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตรก็ดี. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  51. ยาดำ
    หมายถึง น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตามขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นำไปเคี่ยวให้งวดแล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยายหมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
  52. ยาตนา
    หมายถึง [-ตะนา] น. ความเจ็บปวด, การทรมาน. (ป., ส.).
  53. ยาตร,ยาตรา
    หมายถึง [ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน. (ป., ส.).
  54. ยาตั้ง
    หมายถึง น. ยาเส้นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ที่ทำเป็นตั้ง.
  55. ยาถ่าย
    หมายถึง น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ.
  56. ยาธาตุ
    หมายถึง น. ยาคุมให้ท้องเป็นปรกติ.
  57. ยาน
    หมายถึง น. เครื่องนำไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.).
  58. ยาน
    หมายถึง ว. อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ.
  59. ยานกะ
    หมายถึง [-นะกะ] น. ยานพาหนะเล็ก ๆ. (ป., ส.).
  60. ยานคาง
    หมายถึง ว. อาการที่พูดลากเสียง.
  61. ยานพาหนะ
    หมายถึง น. ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น.
  62. ยานมาศ,ยานุมาศ
    หมายถึง [ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสำหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.
  63. ยานอวกาศ
    หมายถึง น. ยานที่ส่งขึ้นไปเดินทางในอวกาศ.
  64. ยานัตถุ์
    หมายถึง น. ผงละเอียดที่ปรุงขึ้นจากใบยาสูบหรือวัตถุใด ๆ สำหรับนัดโดยเป่าหรือสูดเข้าจมูก, เรียกกิริยาเช่นนั้นว่า นัดยานัตถุ์.
  65. ยานี
    หมายถึง น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คำ จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ; ชื่อเพลงหน้าพาทย์.
  66. ยานเกราะ
    หมายถึง น. พาหนะล้อหรือสายพานที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุที่สามารถป้องกันตนเองจากอาวุธยิงเล็งตรงหรืออาวุธยิงเล็งจำลอง และป้องกันอันตรายจากวัตถุระเบิดหรือป้องกันอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ในระดับหนึ่ง.
  67. ยาบ
    หมายถึง น. เส้นปอ, เปลือกของต้นไม้บางชนิดที่มีปอหรือเส้นใย ใช้ปูรองขากูบกันไม่ให้กัดหนังช้างเป็นต้น.
  68. ยาบ,ยาบ,ยาบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ, อาการที่สูงขึ้นและยุบลงช้า ๆ, ใช้ว่า เยิบยาบ ก็มี.
  69. ยาบำรุงเลือด
    หมายถึง น. ยาบำรุงให้เลือดงาม.
  70. ยาปน,ยาปน-
    หมายถึง [-ปะนะ-] น. การยังชีวิตให้เป็นไป. (ป., ส. ยาปน ว่า การยัง...ให้เป็นไป).
  71. ยาปนมัต
    หมายถึง น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดำรงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิตให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
  72. ยาประสะ
    หมายถึง น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่องยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  73. ยาประสะน้ำนม
    หมายถึง น. ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก.
  74. ยาฝอย
    หมายถึง ดู ยาจืด.
  75. ยาฝิ่น
    หมายถึง น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งทำจากยางฝิ่น.
  76. ยาพิษ
    หมายถึง น. สิ่งที่มีพิษมาก กินหรือฉีดเข้าร่างกายเป็นต้นแล้วอาจทำให้ถึงตายได้.
  77. ยาม,ยาม-
    หมายถึง [ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  78. ยามกาลิก
    หมายถึง [ยามะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก).
  79. ยามตูดชาย
    หมายถึง (ถิ่น) น. เวลาบ่าย.
  80. ยามพาด
    หมายถึง (ถิ่น) น. เวลาเช้า.
  81. ยามสามตา
    หมายถึง น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร.
  82. ยามะ
    หมายถึง น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓, เทวดาในชั้นนี้เรียกว่า ยามเทวบุตร. (ป.).
  83. ยามักการ
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.
  84. ยามา
    หมายถึง น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
  85. ยามิก
    หมายถึง น. คนเฝ้ายาม, คนเฝ้ายามเวลากลางคืน. (ส.).
  86. ยามเกา
    หมายถึง น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ปุนัพสุ มี ๓ ดวง, ดาวตาเรือชัย ดาวหัวสำเภา ดาวสะเภา ดาวสำเภาทอง หรือ ดาวปุนัพพสู ก็เรียก.
  87. ยามโยค
    หมายถึง น. เวลาที่ประกอบด้วยฤกษ์.
  88. ยาย
    หมายถึง น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คำเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
  89. ยายทวด
    หมายถึง น. แม่ของตาหรือของยาย.
  90. ยายี
    หมายถึง ก. เบียดเบียน, รบกวน.
  91. ยาระบาย
    หมายถึง น. ยาถ่ายอย่างอ่อน.
  92. ยารุ
    หมายถึง น. ยาถ่ายอย่างแรง.
  93. ยาลูกกลอน
    หมายถึง น. ยาที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  94. ยาว
    หมายถึง ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยายออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน.
  95. ยาวกาลิก
    หมายถึง [ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). (ป.).
  96. ยาวความ
    หมายถึง ว. ต่อความให้ยืดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าพูดให้ยาวความ.
  97. ยาวชีวิก
    หมายถึง [ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).
  98. ยาวบั่น สั้นต่อ
    หมายถึง (สำ) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ก็ว่า.
  99. ยาวยืด
    หมายถึง ว. อาการที่ของเหลวและเหนียวไหลย้อยยาวลงมา, ยาวมากไม่รู้จักจบ (มักใช้แก่ข้อความหรือเรื่องราวที่ยาวเกินไป) เช่น เรื่องนี้ยาวยืดเล่าไม่รู้จักจบ.
  100. ยาวรี
    หมายถึง ว. กลมยาวเรียวและมีหัวท้ายเหมือนเมล็ดข้าวสาร, ยาวเรียวไปอย่างใบข้าว คือ โคนโตปลายเรียวเล็ก.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 3)"