พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 2)

  1. ยอดเยี่ยม
    หมายถึง ว. ดีที่สุด, เลิศที่สุด, เยี่ยมยอด ก็ว่า.
  2. ยอน
    หมายถึง ก. แยง เช่น เอาขนไก่ยอนหู.
  3. ยอบ
    หมายถึง ก. ทรุดลง, ย่อลง, หมอบ, ฟุบ, เช่น ยอบกาย ยอบตัวลง. ว. พร่อง.
  4. ยอบแยบ
    หมายถึง ว. จวนหมด, เกือบจะไม่พอ, เช่น เงินทองยอบแยบ เสบียงอาหารยอบแยบ.
  5. ยอม
    หมายถึง ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอมตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทำได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.
  6. ยอมความ
    หมายถึง (กฎ) ก. ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด.
  7. ยอแสง
    หมายถึง ว. ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสีแดงเข้ม, มักใช้ว่า ตะวันยอแสง.
  8. ยะ
    หมายถึง ว. คำออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ.
  9. ยะ
    หมายถึง คำประกอบข้างหน้าคำที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  10. ยะงันจะคับ
    หมายถึง ว. พูดไม่ได้. (ช.).
  11. ยะยอบ
    หมายถึง (กลอน) ก. ยอบ, นอบ.
  12. ยะยัน
    หมายถึง (กลอน) ว. แวววาว.
  13. ยะยับ
    หมายถึง (กลอน) ว. ระยับ, ยิบ ๆ, วาบวับ.
  14. ยะยาน
    หมายถึง (กลอน) ว. ไหว ๆ.
  15. ยะย้าย
    หมายถึง (กลอน) ก. ยักย้าย, ย้ายไปมา.
  16. ยะย้าว
    หมายถึง (กลอน) ก. ร่าเริง, ยินดี.
  17. ยะวา
    หมายถึง (โบ) น. ชวา.
  18. ยะหิทา
    หมายถึง ก. เย็บ. (ช.).
  19. ยะแย้ง
    หมายถึง (กลอน) ก. ยื้อแย่ง.
  20. ยัก
    หมายถึง ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทำให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของบางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้างไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุกยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไปลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่งเรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  21. ยัก
    หมายถึง (ปาก) ว. คำประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.
  22. ยักกระสาย
    หมายถึง (ปาก) ก. เปลี่ยนน้ำกระสายยาไปตามอาการของโรค, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือวิธีอื่นแทน.
  23. ยักขินี
    หมายถึง น. นางยักษ์. (ป.; ส. ยกฺษิณี).
  24. ยักข์
    หมายถึง น. ยักษ์. (ป.; ส. ยกฺษ).
  25. ยักคอ
    หมายถึง ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการรำไทยอย่างหนึ่ง.
  26. ยักคิ้ว
    หมายถึง ก. ลักษณะของสิ่งซึ่ง ๒ ข้างไม่เท่ากันอย่างนุ่งผ้าโจงกระเบนสูงข้างต่ำข้าง เรียกว่า นุ่งผ้ายักคิ้ว.
  27. ยักท่า
    หมายถึง ก. ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง.
  28. ยักยอก
    หมายถึง ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ใช้เพียง ยัก คำเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก.
  29. ยักยิ้ม
    หมายถึง น. ลักยิ้ม.
  30. ยักยี่ยักยัน
    หมายถึง ว. ขะยิก ๆ, เขยก ๆ, ทำท่าขยับบ่อย ๆ.
  31. ยักยี่ยักเหยา
    หมายถึง [-เหฺยา] ก. พูดเซ้าซี้จะเอาให้ได้.
  32. ยักย้าย
    หมายถึง ก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนำไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คำเดียว ก็มี.
  33. ยักษา
    หมายถึง (กลอน) น. ยักษ์. (ส.).
  34. ยักษิณี
    หมายถึง น. นางยักษ์. (ส.; ป. ยกฺขินี).
  35. ยักษี
    หมายถึง (กลอน) น. ยักษ์. (ส.).
  36. ยักษ์
    หมายถึง น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดำอำมหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จำแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคำว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้ายักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  37. ยักษ์ปักหลั่น
    หมายถึง [-ปัก-] (สำ) น. ผู้มีรูปร่างใหญ่โต.
  38. ยักษ์มักกะสัน
    หมายถึง (สำ) น. ผู้มีใจคอดุร้าย.
  39. ยักหยาว
    หมายถึง ก. ยั่วเย้าให้โกรธ.
  40. ยักหล่ม
    หมายถึง น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสำหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  41. ยักเงี่ยง
    หมายถึง ก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือข้ามห้วย.
  42. ยักเพรีย
    หมายถึง ดู ครอบจักรวาล ๕.
  43. ยักเยื้อง
    หมายถึง ว. เลี่ยงไป, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น ถามเรื่องหนึ่ง แต่พูดยักเยื้องไปตอบอีกเรื่องหนึ่ง, ดัดแปลง เช่น ทำยักเยื้อง, เยื้องยัก ก็ว่า.
  44. ยักเอว
    หมายถึง ก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.
  45. ยักแย่ยักยัน
    หมายถึง ว. เขย้อแขย่ง, มีท่าทางเก้กัง.
  46. ยัง
    หมายถึง คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  47. ยังกับ
    หมายถึง ว. อย่างกับ, เหมือนกับ, ราวกับ, เช่น สวยยังกับนางสาวไทย เหมือนกันยังกับโขกมาจากพิมพ์เดียวกัน.
  48. ยังกาหลา
    หมายถึง น. ต้นมะตาด. (ช.).
  49. ยังก่อน
    หมายถึง คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน.
  50. ยังชั่ว
    หมายถึง ก. ค่อยดีขึ้น.
  51. ยังมี
    หมายถึง ว. มี (มักใช้ในบทนิทานหรือในวรรณคดี) เช่น แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์.
  52. ยังหยัง
    หมายถึง ว. รูปงาม. (ช.).
  53. ยังอยู่
    หมายถึง ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น พ่อยังอยู่ แม่ตายแล้ว.
  54. ยังอีก
    หมายถึง ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.
  55. ยังเป็นอยู่
    หมายถึง ว. ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ปลายังเป็นอยู่.
  56. ยังเลย
    หมายถึง ใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่านหรือยัง ตอบว่า ยังเลย.
  57. ยังแล้ว
    หมายถึง (กลอน) ว. อยู่แล้ว, ให้เสร็จไป.
  58. ยังไหว
    หมายถึง ว. ยังพอสู้ได้, ยังพอทำได้, เช่น ยังทำไหวไหม ถ้ายังไหวก็จะไม่พัก.
  59. ยัชนะ
    หมายถึง [ยัดชะนะ] น. พิธีจำพวกหนึ่งสำหรับบูชาเทวดาโดยสวดมนตร์และถวายเครื่องเซ่นสังเวย. (ป., ส.).
  60. ยัชมาน
    หมายถึง [ยัดชะ-] น. เจ้าภาพ. (ส.).
  61. ยัชโญปวีต
    หมายถึง [ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรำ หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).
  62. ยัญ,ยัญ-,ยัญญะ
    หมายถึง [ยันยะ-] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคนเป็นเครื่องบูชาเรียกว่า บูชายัญ. (ป. ยญฺ; ส. ยชฺ).
  63. ยัญกรรม
    หมายถึง น. การเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  64. ยัญญังค์
    หมายถึง น. มะเดื่อชุมพร. (ป.).
  65. ยัญพิธี
    หมายถึง น. พิธีเซ่นสรวงบูชาของพราหมณ์.
  66. ยัฐิ
    หมายถึง [ยัดถิ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ.
  67. ยัฐิ
    หมายถึง [ยัดถิ] น. ไม้เท้า. (ป. ยฏิ; ส. ยษฺฏิ).
  68. ยัฐิมธุกา
    หมายถึง [ยัดถิมะทุกา] น. ชะเอมเครือ. (ป. ยฏฺิมธุกา).
  69. ยัด
    หมายถึง ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้าห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้แทนคำว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  70. ยัดข้อหา
    หมายถึง ก. ยัดความผิดให้แล้วตั้งข้อหา.
  71. ยัดทะนาน
    หมายถึง ก. เบียดกันแน่น, อัดกันแน่น, เช่น คนแน่นเหมือนแป้งยัดทะนาน.
  72. ยัดปาก
    หมายถึง ก. อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่.
  73. ยัดพลุ
    หมายถึง ก. ใส่ดินพลุลงในกระบอกพลุแล้วตอกให้แน่น.
  74. ยัดเยียด
    หมายถึง ก. เบียดกันแน่น, แออัดกันแน่น, เช่น คนเบียดเสียดยัดเยียดกัน; ขืนหรือแค่นให้โดยผู้รับไม่เต็มใจรับ เช่น ยัดเยียดขายให้, เยียดยัด ก็ว่า, ใช้เพียง ยัด คำเดียวก็มี.
  75. ยัดไส้
    หมายถึง ว. ที่มีสิ่งอื่นบรรจุอยู่ข้างใน เช่น เป็ดยัดไส้. ก. สอดของปลอมไว้ข้างใน เช่น ธนบัตรยัดไส้.
  76. ยัติภังค์
    หมายถึง [ยัดติ-] ดู ยติภังค์.
  77. ยัน
    หมายถึง ก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.
  78. ยัน
    หมายถึง ก. เมา (ใช้แก่หมาก) เช่น ยันหมาก เอาหมากที่ยันไปแช่น้ำจะหายยัน. ว. ที่ทำให้เมา ในคำว่า หมากยัน.
  79. ยันกัน
    หมายถึง ก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.
  80. ยันตร,ยันตร-,ยันตร์
    หมายถึง [ยันตฺระ-, ยัน] น. ยนตร์. (ส.; ป. ยนฺต).
  81. ยันตรกรรม
    หมายถึง น. วิชาเครื่องกล.
  82. ยันต์
    หมายถึง น. ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือแกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้นที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์.
  83. ยันป้าย
    หมายถึง ก. ถึงที่สุด เช่น เที่ยวยันป้าย.
  84. ยันเย้า
    หมายถึง ก. ปลํ้า; หยอก.
  85. ยับ
    หมายถึง ก. เก็บ. น. เรียกผลหมากสุกที่เก็บไว้กินนาน ๆ โดยทำเป็นหมากหลุมหรือหมากไหว่า หมากยับ.
  86. ยับ
    หมายถึง ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหายมาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยำ ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
  87. ยับ
    หมายถึง ก. ขยํ้า.
  88. ยับ,ยับ,ยับ ๆ
    หมายถึง ว. มีแสงแวบ ๆ, ยิบ ๆ.
  89. ยับยง
    หมายถึง (โบ) ว. งามเป็นแสงวาววับ.
  90. ยับยั้ง
    หมายถึง ก. หยุดไว้, รั้งรอไว้, เช่น ยับยั้งใบลาไว้; พักอยู่.
  91. ยับยั้งชั่งใจ
    หมายถึง ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป.
  92. ยับยาน
    หมายถึง (โบ) ก. หวั่นไหว.
  93. ยับยาบ
    หมายถึง ก. โบกหรือกระพือขึ้นลงไปมาช้า ๆ, ยาบ ๆ ก็ใช้.
  94. ยับย่อย,ยับเยิน
    หมายถึง ว. ป่นปี้ เช่น เสียการพนันยับย่อย เสียหายยับเยิน, ย่อยยับ ก็ว่า. ก. ถูกทำลาย, เสียหาย, เช่น เขาเล่นการพนันจนทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ยับย่อยหมด หนังสือยับเยินหมดทั้งเล่ม, ย่อยยับ ก็ว่า.
  95. ยัวรยาตร
    หมายถึง [ยัวระยาด] (กลอน) ก. ยุรยาตร.
  96. ยัวะ
    หมายถึง (ปาก) ก. เดือดดาล เช่น ชักยัวะแล้วนะ. ว. ที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรุ่มร้อนใจ เช่น แต่งตัวยัวะ รูปร่างยัวะ.
  97. ยัษฏิ
    หมายถึง [ยัดสะติ] น. ไม้เท้า. (ส.; ป. ยฏฺิ).
  98. ยั่งยืน
    หมายถึง ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรังยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว.
  99. ยั่น
    หมายถึง ก. ครั่นคร้าม, ท้อถอย.
  100. ยั่นตะนี
    หมายถึง น. ผ้ามัสลินพิมพ์ดอก. (เทียบฮินดูสตานี jamdani).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ย (หน้าที่ 2)"