พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 7)

  1. พวยน้ำ
    หมายถึง น. นํ้าที่พุ่งเป็นลำขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, นาคเล่นนํ้า ก็ว่า.
  2. พวยพุ่ง
    หมายถึง ว. ช่วงโชติ, พุ่งเป็นลำออกไปโดยเร็ว เช่น แสงพวยพุ่ง รัศมีพวยพุ่ง.
  3. พสก,พสก-
    หมายถึง [พะสก, พะสกกะ-] น. ชาวเมือง, พลเมือง. (ป. วส + ค; ส. วศ + ค ว่า ผู้อยู่ในอำนาจ).
  4. พสกนิกร
    หมายถึง [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม.
  5. พสนะ
    หมายถึง [พะสะนะ, พดสะนะ] น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส. วสน).
  6. พสุ
    หมายถึง [พะ-] น. ชื่อเรียกเทวดาจำพวกหนึ่ง; ทรัพย์, สมบัติ, ความมั่งมี. ว. ดี, เลิศ, ประเสริฐ; ใจดี, กรุณา. (ป., ส. วสุ).
  7. พสุธา
    หมายถึง น. “ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์” คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
  8. พสุธากันแสง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, ธรณีกันแสง หรือ ธรณีร้องไห้ ก็ว่า.
  9. พสุธาดล
    หมายถึง น. พื้นแผ่นดิน. (ป., ส. วสุธาตล).
  10. พสุนธรา
    หมายถึง [พะสุนทะ-] น. แผ่นดิน. (ป. วสุนฺธรา; ส. ).
  11. พสุมดี
    หมายถึง [พะสุมะดี] น. แผ่นดิน. (ส.).
  12. พสุสงกรานต์
    หมายถึง (ดารา) น. พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึงจุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ใต้ (aphelion).
  13. พหล
    หมายถึง [พะหน] ว. มาก, ใหญ่, หนา, ทึบ. น. กองทัพใหญ่. (ป., ส.).
  14. พหุ
    หมายถึง ว. มาก, เขียนเป็น พหู ก็มี. (ป., ส.).
  15. พหุคูณ
    หมายถึง ว. หลายเท่า, หลายทบ. (ส.).
  16. พหุพจน์,พหูพจน์
    หมายถึง น. คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง. (ป., ส. พหุวจน).
  17. พหุภาคี
    หมายถึง (การทูต) ว. หลายฝ่าย. น. เรียกสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่ายว่า สนธิสัญญาพหุภาคี. (อ. multilateral).
  18. พหุล
    หมายถึง [พะหุน] ว. หนา, มาก. (ป., ส.).
  19. พหู
    หมายถึง ว. พหุ.
  20. พหูพจน์
    หมายถึง น. คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง.
  21. พหูสูต
    หมายถึง น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก. (ป. พหุสฺสุต).
  22. พอ
    หมายถึง ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทำได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  23. พอก
    หมายถึง ก. หุ้ม เช่น พอกไข่, พูน, โปะให้หนา เช่น พอกแป้ง. ว. โป่งออกมา เช่น คอพอก.
  24. พอก
    หมายถึง (กลอน) ก. โพกผ้า. น. ผ้าโพกคล้ายหมวก.
  25. พอก
    หมายถึง น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Perigrypta วงศ์ Veneridae รูปร่างและเปลือกหนาคล้ายหอยตลับ แต่ผิวเปลือกนอกสาก สีครีม เช่น ชนิด P. puerpera.
  26. พอกพูน
    หมายถึง ก. เพิ่มขึ้นโดยลำดับ เช่น ทรัพย์สินพอกพูน พอกพูนความรู้.
  27. พอกัน,พอ ๆ กัน
    หมายถึง ว. เสมอกัน, ทัดเทียมกัน, เทียบเท่ากัน, เช่น เก่งพอกัน ฝีมือพอกัน ร้ายพอ ๆ กัน.
  28. พอกันที
    หมายถึง (ปาก) ก. บอกเลิกกัน, ยุติกัน, ไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป.
  29. พอการ
    หมายถึง (ปาก) ว. สมควรแก่งาน, บางทีใช้หมายความว่า มาก.
  30. พอก้าวขาก็ลาโรง
    หมายถึง (สำ) ก. ชักช้าทำให้เสียการ, พอยกขาก็ลาโรง ก็ว่า.
  31. พอควร
    หมายถึง ว. พอสมควร.
  32. พอง
    หมายถึง ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่าปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้น เช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
  33. พอดิบพอดี
    หมายถึง ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคาของพอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.
  34. พอดี
    หมายถึง ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึงที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.
  35. พอดีกัน
    หมายถึง ว. เสมอกัน (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มันก็พอดีกันนั่นแหละ.
  36. พอดีพอร้าย
    หมายถึง ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  37. พอดู
    หมายถึง ว. เอาการ, ค่อนข้างมากทีเดียว, เช่น เก่งพอดู.
  38. พอดูได้
    หมายถึง ว. ไม่ถึงกับน่าเกลียด, พอใช้ได้.
  39. พอตัว
    หมายถึง ว. พอเหมาะสมแก่ตน เช่น มีความสามารถพอตัว.
  40. พอทำพอกิน
    หมายถึง ว. พอกินไปวันหนึ่ง ๆ.
  41. พอทำเนา
    หมายถึง ว. พอสมควร, พอสถานประมาณ, เช่น เจ็บไข้ก็พอทำเนา ยังแถมถูกออกจากงานเสียอีก.
  42. พอที
    หมายถึง คำห้ามเพื่อขอยับยั้ง.
  43. พอที่
    หมายถึง ว. เหมาะ, ควร, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่พอที่ เช่น ไม่พอที่จะเข้าไปยุ่งกับเขาเลย.
  44. พอที่จะ
    หมายถึง ว. ควรที่จะ เช่น พอที่จะได้ เลยไม่ได้.
  45. พอน
    หมายถึง น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยายออกไปรอบ ๆ เพื่อพยุงลำต้น เช่น พอนตะเคียน พอนมะค่า, พูพอน ก็เรียก.
  46. พอน
    หมายถึง ว. สีเหลืองนวล, เรียกชันชนิดหนึ่งที่มีสีอย่างนั้น สำหรับใช้พอนเรือเป็นต้นว่า ชันพอน หรือ ลาพอน. ก. ยาด้วยชันเป็นต้นให้เรียบ เช่น พอนครุ พอนกะโล่.
  47. พอนเรือ
    หมายถึง ก. เอาน้ำมันยางชโลมเรือหลังจากตอกหมันแล้ว.
  48. พอประมาณ
    หมายถึง ว. เพียงปานกลาง เช่น มีฐานะดีพอประมาณ.
  49. พอฟัด,พอฟัดพอเหวี่ยง
    หมายถึง ก. พอสู้กันได้ เช่น เขามีฝีมือพอฟัดพอเหวี่ยงกัน, พอวัดพอเหวี่ยง ก็ว่า.
  50. พอมีพอกิน
    หมายถึง ว. มีฐานะปานกลาง เช่น เขาเป็นคนมีฐานะพอมีพอกิน.
  51. พอมีอันจะกิน
    หมายถึง ว. ค่อนข้างรวย, มีฐานะค่อนข้างดี, เช่น เขาเป็นคนพอมีอันจะกิน.
  52. พอยกขาก็ลาโรง
    หมายถึง (สำ) ก. ชักช้าทำให้เสียการ, พอก้าวขาก็ลาโรง ก็ว่า.
  53. พอวัดพอเหวี่ยง
    หมายถึง ก. พอสู้กันได้, พอฟัด หรือ พอฟัดพอเหวี่ยง ก็ว่า.
  54. พอสถานประมาณ
    หมายถึง ว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอสถานประมาณ, พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.
  55. พอสมควร
    หมายถึง ว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า.
  56. พอสัณฐานประมาณ
    หมายถึง ว. เพียงระดับปานกลาง, พอสถานประมาณ ก็ว่า.
  57. พอหอมปากหอมคอ
    หมายถึง (ปาก) ว. พอสมควร, พอดี ๆ, นิด ๆ หน่อย ๆ, เช่น กินพอหอมปากหอมคอ พูดพอหอมปากหอมคอ.
  58. พออาศัย
    หมายถึง ว. พออยู่ได้, พอไปได้.
  59. พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่
    หมายถึง (สำ) รู้ทันกัน, พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน ก็ว่า.
  60. พอเพียง
    หมายถึง ก. ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอเพียงแล้ว.
  61. พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
    หมายถึง (สำ) ก. พอมีกินมีใช้, พอเลี้ยงตัวได้.
  62. พอเหมาะ
    หมายถึง ก. เหมาะเจาะ เช่น เขามาพอเหมาะกับเวลา รองเท้านี้ใส่ได้พอเหมาะ, พอเหมาะพอเจาะ ก็ว่า.
  63. พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน
    หมายถึง (สำ) รู้ทันกัน, พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ก็ว่า.
  64. พอแรง
    หมายถึง ว. เต็มแรง, มาก, เช่น ถูกด่าเสียพอแรง ว่าเสียพอแรง.
  65. พอโลเนียม
    หมายถึง น. ธาตุลำดับที่ ๘๔ สัญลักษณ์ Po เป็นธาตุกัมมันตรังสี ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๕๔ °ซ. (อ. polonium).
  66. พอใจ
    หมายถึง ก. สมใจ, ชอบใจ. ว. เหมาะ.
  67. พอใช้
    หมายถึง ว. ใช้ได้ เช่น คะแนนพอใช้; ปานกลาง, พอสมควร, เช่น มีฐานะดี พอใช้ รวยพอใช้ เก่งพอใช้; เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่น มีเงินพอใช้ทั้งเดือน, พอใช้พอสอย ก็ว่า.
  68. พอใช้พอสอย
    หมายถึง ว. เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่น มีเงินพอใช้พอสอยไปเดือนหนึ่ง ๆ, พอใช้ ก็ว่า.
  69. พอใช้ได้
    หมายถึง ว. นับว่าใช้ได้.
  70. พอได้
    หมายถึง ว. พอใช้ได้บ้าง.
  71. พอไปวัดไปวาได้
    หมายถึง ว. มีหน้าตาสวยพออวดได้ (ใช้แก่ผู้หญิง).
  72. พอไปได้
    หมายถึง ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้.
  73. พะ
    หมายถึง น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
  74. พะ
    หมายถึง ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว พ มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น พะพรั่ง พะพรั่น พะพราย.
  75. พะงา
    หมายถึง น. นางงาม. ว. สวย, งาม.
  76. พะงาบ,พะงาบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า.
  77. พะจง
    หมายถึง ดู บ่าง.
  78. พะทำมะรง
    หมายถึง น. ผู้ควบคุมนักโทษ.
  79. พะนอ
    หมายถึง ก. เอาอกเอาใจเกินสมควร.
  80. พะพาน
    หมายถึง ก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.
  81. พะพิง
    หมายถึง ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย, พะ ก็ว่า.
  82. พะยอม
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea roxburghii G. Don ในวงศ์ Dipterocarpaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง.
  83. พะยุพยุง
    หมายถึง [-พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับหิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  84. พะยูง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cochinchinensis Pierre ex Laness. ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้สีแดงคลํ้า ใช้ทำเครื่องเรือน.
  85. พะยูน
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่มีหางแผ่เป็นแฉกกว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หรือ หมูนํ้า ก็เรียก.
  86. พะรุงพะรัง
    หมายถึง ว. ปะปนกันจนรุงรัง เช่น หอบข้าวของพะรุงพะรัง, นุงนัง เช่น มีหนี้สินพะรุงพะรัง.
  87. พะวง
    หมายถึง ก. กังวล, ห่วงใย.
  88. พะวักพะวน
    หมายถึง ก. ห่วงเรื่องต่าง ๆ จนวุ่นวายใจ.
  89. พะวา
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Garcinia speciosa Wall. ในวงศ์ Guttiferae เปลือกมียางสีเหลือง ผลคล้ายมังคุดขนาดย่อม, ขวาด สารภีป่า มะดะขี้นก หรือ มะป่อง ก็เรียก.
  90. พะว้าพะวัง
    หมายถึง ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ห่วงหน้าพะวงหลัง.
  91. พะอง
    หมายถึง น. ไม้ไผ่ป่าตัดแขนงให้ยาวพอที่เท้าจะเหยียบขึ้นลงได้ สำหรับผูกพาดขึ้นต้นไม้ต่างบันได ถ้าต้นไม้สูงมากก็อาจใช้ไม้ไผ่หลายลำผูกต่อ ๆ กันขึ้นไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  92. พะอากพะอำ
    หมายถึง ก. อึดอัด, คับแคบใจ.
  93. พะอืดพะอม
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกคลื่นไส้; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จะตัดสินใจอย่างไรดี, ไม่กล้าที่จะตัดสินใจเด็ดขาดลงไป, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็ว่า.
  94. พะเนิน
    หมายถึง น. ค้อนขนาดใหญ่สำหรับตีเหล็กหรือทุบหิน เป็นต้น; ของกองสุมกันขึ้นไปจนสูง, พะเนินเทินทึก ก็ว่า.
  95. พะเนินเทินทึก
    หมายถึง (ปาก) ว. มากมายก่ายกอง, พะเนิน ก็ว่า.
  96. พะเนียง
    หมายถึง น. ชื่อหม้อนํ้าชนิดหนึ่ง รูปอย่างหม้อคะนน.
  97. พะเนียง
    หมายถึง น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินดำ ใช้ตั้งจุดไฟให้ลุกเป็นช่องาม เรียกว่า ไฟพะเนียง.
  98. พะเนียง
    หมายถึง ดู เนียง ๒.
  99. พะเน้าพะนอ
    หมายถึง ก. พรํ่าเอาอกเอาใจเกินสมควร.
  100. พะเน้าพะนึง
    หมายถึง ก. ทำอิด ๆ เอื้อน ๆ; เซ้าซี้.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 7)"