พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 5)

  1. พรุ
    หมายถึง น. ที่ลุ่มสนุ่น, บริเวณที่ลุ่มชื้นแฉะ มีสนุ่น คือ ซากผุพังของพืชพรรณทับถมอยู่มาก.
  2. พรุก
    หมายถึง น. วันพรุ่งนี้, รุ่งขึ้น.
  3. พรุน
    หมายถึง ว. ลักษณะที่เป็นรูเว้าหวำชอนไชไปทั่วแทบไม่มีชิ้นดี เช่น ผ้าถูกแมลงกัดกินพรุนไปหมด.
  4. พรุ่ง,พรุ่งนี้
    หมายถึง น. วันถัดจากวันนี้ไปวันหนึ่ง.
  5. พรู
    หมายถึง ว. อาการที่เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก เช่น วิ่งพรูกันเข้ามา, ร่วงลงมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ดอกพิกุลร่วงพรู.
  6. พรูด
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  7. พร่อง
    หมายถึง [พฺร่อง] ว. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป เช่น ตักแกงพร่อง ทำงานไม่พร่อง กินไม่รู้จักพร่อง. ก. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม เช่น น้ำในโอ่งพร่องไป ข้าวสารในกระสอบพร่องไป.
  8. พร่อมพร้อ
    หมายถึง [พฺร่อมพฺร้อ] ว. ซอมซ่อ, ไม่งดงาม.
  9. พร่อย
    หมายถึง [พฺร่อย] ว. ครํ่าคร่า, แก่ครํ่า.
  10. พร่า
    หมายถึง [พฺร่า] ก. ทำให้เสียหาย, ทำลาย, ทำให้ย่อยยับ, เช่น พร่าชื่อเสียง พร่าทรัพย์สมบัติ พร่าประโยชน์. ว. กระจัดกระจายจนเห็นหรือได้ยินไม่ถนัดชัดเจน เช่น ตาพร่า รูปพร่า เสียงพร่า.
  11. พร่าง
    หมายถึง [พฺร่าง] ว. แวววาวพร่าไปหมด.
  12. พร่างพราว
    หมายถึง [-พฺราว] ว. มีแสงประกายแวววาวระยิบระยับ เช่น แสงพร่างพราว.
  13. พร่ำ
    หมายถึง [พฺรํ่า] ว. รํ่าไป, ซํ้า ๆ ซาก ๆ, บ่อย ๆ, เช่น พร่ำบ่น พร่ำเพ้อรำพัน พร่ำสาธยายมนตร์.
  14. พร่ำพลอด
    หมายถึง ก. พูดออดอ้อนออเซาะ.
  15. พร่ำเพรื่อ
    หมายถึง ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูดพร่ำเพรื่อ, เพรื่อ ก็ว่า.
  16. พร่ำเพ้อ
    หมายถึง ก. รำพัน.
  17. พร้อง
    หมายถึง [พฺร้อง] ก. พูด, กล่าว, ร้อง.
  18. พร้องเพรียก
    หมายถึง [-เพฺรียก] ก. ร้องเรียก.
  19. พร้อม
    หมายถึง [พฺร้อม] ว. คำแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือพร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน, โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่น งามพร้อม ดีพร้อม เตรียมพร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว. ก. เตรียมครบถ้วน เช่น พร้อมแล้ว.
  20. พร้อมญาติ
    หมายถึง ว. มีญาติพี่น้องมากันมากมาย.
  21. พร้อมพรัก
    หมายถึง ว. พรักพร้อม.
  22. พร้อมพรั่ง
    หมายถึง ว. รวมอยู่มากหลาย เช่น มากันพร้อมพรั่ง, พรั่งพร้อม ก็ว่า.
  23. พร้อมมูล
    หมายถึง ว. บริบูรณ์, มีครบทุกอย่าง, เช่น มีหลักฐานพร้อมมูล.
  24. พร้อมสรรพ
    หมายถึง ว. พร้อมทุกอย่าง, มีครบทุกอย่าง, เช่น เตรียมให้พร้อมสรรพ.
  25. พร้อมส่ง
    หมายถึง แม่ค้าออนไลน์ที่มีสินค้าพร้อมส่งแต่ส่งตามรอบ คนละความหมายกับส่งทันที
  26. พร้อมหน้า,พร้อมหน้าพร้อมตา
    หมายถึง ว. รวมอยู่เป็นจำนวนมากอย่างพร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มีความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อมหน้า มากันพร้อมหน้าพร้อมตา.
  27. พร้อมเพรียง
    หมายถึง ว. ครบถ้วน, ร่วมใจกัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น ช่วยกันทำงานอย่างพร้อมเพรียง.
  28. พร้อมใจ
    หมายถึง ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขาพร้อมใจกันทำงาน.
  29. พร้อย
    หมายถึง [พฺร้อย] ว. ประไปทั่ว, ลายกระเป็นจุดประปราย, วาว, พราย, เช่น ลายพร้อย ด่างพร้อย.
  30. พร้า
    หมายถึง [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
  31. พร้างัดปากไม่ออก
    หมายถึง (สำ) ว. นิ่ง, ไม่ค่อยพูด, พร้าคัดปากไม่ออก ก็ว่า.
  32. พร้ำ
    หมายถึง [พฺรํ้า] ว. พร้อม.
  33. พฤกษ,พฤกษ-,พฤกษ์,พฤกษ์
    หมายถึง [พฺรึกสะ-, พฺรึก] น. ต้นไม้. (ส. วฺฤกฺษ; ป. รุกฺข).
  34. พฤกษชาติ
    หมายถึง น. ต้นไม้, จำพวกต้นไม้.
  35. พฤกษทล
    หมายถึง น. ใบไม้. (ส.).
  36. พฤกษราช
    หมายถึง น. ต้นปาริชาต. (ส.).
  37. พฤกษศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยต้นไม้.
  38. พฤกษา
    หมายถึง [พฺรึกสา] น. ต้นไม้.
  39. พฤกษเทวดา
    หมายถึง น. เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไม้. (ส.).
  40. พฤกษ์
    หมายถึง [พฺรึก] ดู จามจุรี ๒.
  41. พฤฒ,พฤฒา
    หมายถึง [พฺรึด, พฺรึดทา] ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, พฤทธ์ ก็ว่า. (ส.).
  42. พฤฒาจารย์
    หมายถึง น. อาจารย์ผู้เฒ่า, พราหมณ์ผู้เฒ่า.
  43. พฤฒิ,พฤฒิ-
    หมายถึง [พฺรึดทิ] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤทธิ์ ก็ว่า. (ส.).
  44. พฤฒิบาศ
    หมายถึง น. ชื่อพราหมณ์พวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำพิธีเกี่ยวกับช้างและปัดเสนียดจัญไร.
  45. พฤต
    หมายถึง [พฺรึด] น. คำฉันท์. ก. หมุน, เวียน; เกิดขึ้น. ว. กลม. (ส. วฺฤตฺต).
  46. พฤติ,พฤติ-
    หมายถึง [พฺรึด, พฺรึดติ-] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะความเป็นอยู่, อาชีวะ; คำฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
  47. พฤติกรรม
    หมายถึง น. การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
  48. พฤติการณ์
    หมายถึง น. เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไปในเวลากระทำการ เช่น พฤติการณ์ของเขาแสดงว่ามีเมตตากรุณา พฤติการณ์ของเขาแสดงถึงความทารุณโหดร้าย.
  49. พฤตินัย
    หมายถึง (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
  50. พฤทธิ์
    หมายถึง [พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).
  51. พฤทธ์
    หมายถึง [พฺรึด] น. ผู้ใหญ่. ว. เจริญ, แข็งแรง, ใหญ่; แก่, เฒ่า, (ตรงข้ามกับ ยุว); ฉลาด, ชำนาญ; เจนจบ, พฤฒ ก็ใช้. (ส. วฺฤทฺธ).
  52. พฤนต์
    หมายถึง [พฺรึน] น. ก้าน, ขั้ว. (ส. วฺฤนฺต; ป. วณฺฏ).
  53. พฤนท์
    หมายถึง [พฺรึน ถ้าสัมผัสกับ อิ อ่านเป็น พฺริน] น. กอง, หมู่, จำนวนมาก. (ส. วฺฤนฺท); สังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. (ส. วฺฤนฺท; ป. พินฺทุ).
  54. พฤภูษณะ
    หมายถึง [พฺรึพูสะนะ] น. วิภูษณะ.
  55. พฤภูษิต
    หมายถึง [พฺรึพูสิด] ก. วิภูษิต.
  56. พฤศจิก
    หมายถึง [พฺรึดสะจิก] น. แมงป่อง; ชื่อกลุ่มดาวรูปแมงป่อง เรียกว่า ราศีพฤศจิก เป็นราศีที่ ๗ ในจักรราศี, ราศีพิจิก ก็ว่า. (ส. วฺฤศฺจิก; ป. วิจฺฉิก).
  57. พฤศจิกายน
    หมายถึง น. ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๘ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. วฺฤศฺจิก + อายน).
  58. พฤษภ
    หมายถึง [พฺรึสบ, พฺรึดสบ] น. วัว; ชื่อกลุ่มดาวรูปวัวเรียกว่า ราศีพฤษภ เป็นราศีที่ ๑ ในจักรราศี. (ส.วฺฤษฺภ; ป. อุสภ).
  59. พฤษภาคม
    หมายถึง [พฺรึดสะพาคม] น. ชื่อเดือนที่ ๕ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. วฺฤษฺภ + อายน).
  60. พฤหัสบดี
    หมายถึง [พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี] น. (โหร) เทพที่เป็นครูของเทวดาทั้งหลาย; (ดารา) ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒,๘๐๐ กิโลเมตร; ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. (ส. วฺฤหสฺปติ; ป. วิหปฺปติ).
  61. พฤหัสบดีจักร
    หมายถึง น. ระยะเวลา ๖๐ ปี คือ เวลาที่ดาวพฤหัสบดีเดินรอบดวงอาทิตย์ ๕ รอบ, มหาจักร ก็ว่า. (ส.).
  62. พฤหัสปติวาร
    หมายถึง น. วันพฤหัสบดี, คุรุวาร หรือ ชีววาร ก็ว่า.
  63. พล,พล-
    หมายถึง [พน, พนละ-, พะละ-] น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตำรวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  64. พลกาย
    หมายถึง [พนละ-] (กลอน) น. กองทัพ. (ป., ส.).
  65. พลการ
    หมายถึง [พะละกาน] น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อำเภอใจ, เช่น ทำโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).
  66. พลขันธ์
    หมายถึง [พนละ-] น. กองทัพ.
  67. พลขับ
    หมายถึง [พนละ-] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
  68. พลความ
    หมายถึง [พนละ-] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ ใจความ.
  69. พลตระเวน
    หมายถึง [พน-] (โบ) น. พลตำรวจพระนครบาลผู้ตรวจตราเหตุการณ์.
  70. พลบ
    หมายถึง [พฺลบ] น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวันชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี.
  71. พลบค่ำ
    หมายถึง น. เวลาย่ำค่ำ, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, พลบ ก็ว่า.
  72. พลรบ
    หมายถึง [พนละ-] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
  73. พลร่ม
    หมายถึง [พน-] น. หน่วยทหารหรือตำรวจที่ได้รับการฝึกให้กระโดดร่มชูชีพจากเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์.
  74. พลว,พลว-
    หมายถึง [พะละวะ-] ว. มีกำลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกำลังกล้า. (ป.).
  75. พลวก
    หมายถึง [พฺลวก] ก. อาการที่ข้าวทะลักออกมาจากหม้อพร้อมกับน้ำข้าวในเวลาเช็ดหม้อข้าว เรียกว่า ข้าวพลวกจากหม้อ, อาการที่ดินยุบลงเพราะไม่แน่น เช่น ดินพลวกลง.
  76. พลวง
    หมายถึง [พฺลวง] น. ธาตุลำดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕ °ซ. มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. antimony).
  77. พลวง
    หมายถึง [พฺลวง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dipterocarpus tuberculatus Roxb. ในวงศ์ Dipterocarpaceae ใบใหญ่ ใช้ห่อยาสูบและมุงหลังคา, คลุ้ง ตองตึง หรือ ตึง ก็เรียก.
  78. พลวดกินลูก
    หมายถึง [พฺลวด-] ดู กระทุ.
  79. พลวดใหญ่
    หมายถึง [พฺลวด-] ดู กระทุ.
  80. พลวัต
    หมายถึง [พนละ-] ว. ซึ่งเกี่ยวข้องกับแรง, ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลของแรงเช่นการเคลื่อนที่. (อ. dynamic).
  81. พลศาสตร์
    หมายถึง [พนละ-] น. วิชากลศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง แบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ คือ จลนพลศาสตร์ และ จลนศาสตร์. (อ. dynamics).
  82. พลศึกษา
    หมายถึง [พะละ-] น. การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและพัฒนาการทางร่างกาย.
  83. พลสิงห์
    หมายถึง [พนละ-] น. พนักบันไดอิฐ.
  84. พลอ
    หมายถึง [พฺลอ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. ฝานเอาเปลือกแข็งออก.
  85. พลอง
    หมายถึง [พฺลอง] น. เรียกไม้ใช้เป็นอาวุธยาวประมาณ ๔ ศอกว่า ไม้พลอง.
  86. พลอง
    หมายถึง [พฺลอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Memecylon วงศ์ Melastomataceae เนื้อละเอียดและแข็ง เช่น พลองขี้นก (M. floribundum Blume) พลองเหมือด (M. edule Roxb.).
  87. พลอด
    หมายถึง [พฺลอด] ก. พูดเรื่อยอย่างอ่อนหวานน่าฟัง.
  88. พลอดรัก
    หมายถึง ก. พูดจาอ่อนหวานต่อกันในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ.
  89. พลอน
    หมายถึง [พฺลอน] ก. ปอกให้มีเปลือกติดอยู่บ้าง เช่น พลอนมะพร้าว, เรียกมะพร้าวที่ปอกแล้วเช่นนั้นว่า มะพร้าวพลอน, ปล้อน. ว. ชอนไป, พรุน, ย่อยยับ.
  90. พลอมแพลม
    หมายถึง [พฺลอมแพฺลม] ว. วาบแวบ, ผลุบโผล่, ประปราย, ไม่สมํ่าเสมอ, เช่น หญ้าขึ้นพลอมแพลม.
  91. พลอย
    หมายถึง [พฺลอย] ว. ร่วมด้วย, ประสมด้วย, ตามไปด้วย, ในลักษณะเช่นเห็นเขาเดินขบวนกันแล้วเดินตามเขาไป เห็นคนอื่นเขาทำกันแล้วก็ร่วมกับเขาด้วย.
  92. พลอย
    หมายถึง [พฺลอย] น. หินที่มีเนื้อใสสีต่าง ๆ ใช้ทำเป็นเครื่องประดับมีหัวแหวนเป็นต้น, เรียกสิ่งที่ทำเทียมพลอยว่า พลอยหุง.
  93. พลอยฟ้าพลอยฝน
    หมายถึง ว. ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ก็ร่วมรับเคราะห์ไปกับเขาด้วย.
  94. พลอยสามสี
    หมายถึง น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, เจ้าสามสี ก็เรียก.
  95. พละ
    หมายถึง [พะละ] น. กำลัง, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พละกำลัง.
  96. พละพลา
    หมายถึง [พฺละพฺลา] (โบ) น. พลับพลา.
  97. พลัง
    หมายถึง [พะ-] ว. กำลัง, มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า กำลังพลัง.
  98. พลังงาน
    หมายถึง (วิทยา) น. ความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้. (อ. energy).
  99. พลังงานจลน์
    หมายถึง น. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุนั้น. (อ. kinetic energy).
  100. พลังงานศักย์
    หมายถึง น. พลังงานที่มีในเทหวัตถุ เนื่องจากตำแหน่งที่อยู่ของเทหวัตถุนั้น. (อ. potential energy).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 5)"