พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 3)

  1. พรรษากาล
    หมายถึง น. ฤดูฝน. (ส.).
  2. พรรษาคม
    หมายถึง น. การเริ่มฤดูฝน. (ส.).
  3. พรรษายุต
    หมายถึง น. หมื่นปี. (ส.).
  4. พรรเหา
    หมายถึง [พัน-] ว. มาก, ยิ่ง, พันเหา ก็ใช้ เช่น คือ เทพเพียงพันเหา. (สมุทรโฆษ).
  5. พรรเอิญ
    หมายถึง [พัน-] (โบ) ว. เผอิญ, ใช้ว่า เพอิญ ก็มี.
  6. พรรโษทก
    หมายถึง น. นํ้าฝน.
  7. พรรโษบล
    หมายถึง น. ลูกเห็บ. (ส.).
  8. พรวงเพรียง
    หมายถึง [พฺรวงเพฺรียง] ก. พูดยกยอ.
  9. พรวด
    หมายถึง [พฺรวด] ดู กระทุ.
  10. พรวด
    หมายถึง [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด; เสียงดังเช่นนั้น.
  11. พรวด
    หมายถึง [พฺรวด] (ถิ่น-ปักษ์ใต้, ตะวันออก) น. ชื่อผึ้งโพรง (Apis cerana) ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลำตัวยาว ๐.๙-๑ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๓.๕ มิลลิเมตร เมื่อกางปีกวัดจากปลายปีกยาวประมาณ ๑.๗๕ เซนติเมตร รวมตัวอยู่เป็นกลุ่ม ทำรังอยู่ในโพรงหรือตามซอกหิน ซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด, ผึ้งรวง ก็เรียก.
  12. พรวดพราด
    หมายถึง [-พฺราด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น วิ่งพรวดพราด เปิดประตูพรวดพราดเข้ามา.
  13. พรวน
    หมายถึง [พฺรวน] น. (๑) (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ต้นเงาะ.(ดู เงาะ ๒). (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L..
  14. พรวน
    หมายถึง [พฺรวน] น. โลหะทำเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น เรียกว่า ลูกพรวน, กระพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  15. พรวน
    หมายถึง [พฺรวน] น. กระจุก, กลุ่ม, พวง, เช่น วิ่งตามเป็นพรวน.
  16. พรวน
    หมายถึง [พฺรวน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo pruol ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์ ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน. (ข.).
  17. พรวน
    หมายถึง [พฺรวน] ก. คุ้ยดินให้เป็นกลุ่มล้อมต้นไม้, ใช้จอบหรือเสียมเป็นต้นทำดินให้โปร่งหรือร่วน, เรียกว่า พรวนดิน.
  18. พรสวรรค์
    หมายถึง น. ความสามารถพิเศษหรือคุณสมบัติเด่นของบุคคลที่มีมาแต่กำเนิด.
  19. พรหม,พรหม-
    หมายถึง [พฺรม, พฺรมมะ-] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหารทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  20. พรหมกาย
    หมายถึง น. พระกาย (คือ รูปกาย นามกาย) ประเสริฐ, พระนามของพระพุทธเจ้า.
  21. พรหมจรรย์
    หมายถึง น. การศึกษาปรมัตถ์, การศึกษาพระเวท; การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, การบวชซึ่งเว้นเมถุนเป็นต้น. (ส.).
  22. พรหมจักร
    หมายถึง น. จักรวาล; คำสอนของพระพุทธเจ้า. (ส.; ป. พฺรหฺมจกฺก).
  23. พรหมจาริณี
    หมายถึง น. หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.).
  24. พรหมจารี
    หมายถึง น. ผู้ศึกษาปรมัตถ์, นักเรียนพระเวท; ผู้ถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น, ในพระพุทธศาสนาหมายเอาผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีเว้นจากเมถุนเป็นต้น เช่นภิกษุ; หญิงที่ยังบริสุทธิ์. (ป.; ส. พฺรหฺมจารินฺ).
  25. พรหมชาติ
    หมายถึง น. ชื่อตำราหมอดู.
  26. พรหมทัณฑ์
    หมายถึง น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า “ไม้พระพรหม” ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง; การสาปแห่งพราหมณ์; โทษอย่างสูง คือห้ามไม่ให้ใคร ๆ พูดด้วยในหมู่สงฆ์ด้วยกัน. (ส., ป.).
  27. พรหมธาดา
    หมายถึง น. พระพรหมผู้สร้าง.
  28. พรหมบถ
    หมายถึง น. ทางไปสู่พระพรหม, ทางไปสู่ความดีสูงสุด. (ส.).
  29. พรหมบท
    หมายถึง น. ที่อยู่ของพระพรหม; ตำแหน่งพราหมณ์. (ส.).
  30. พรหมบริษัท
    หมายถึง น. ชุมนุมพระพรหม, ชุมนุมพราหมณ์. (ส.).
  31. พรหมบุตร
    หมายถึง น. พราหมณ์, ลูกพราหมณ์. (ส.).
  32. พรหมปุโรหิต
    หมายถึง น. พราหมณ์ชั้นสูง; ชื่อพรหมหมู่หนึ่งอยู่ในสวรรค์อันสูงกว่าชั้นพรหมปาริสัช; ชื่อคัมภีร์แพทย์ว่าด้วยต้นเหตุที่มนุษย์เกิด. (ส.).
  33. พรหมพักตร์
    หมายถึง น. ยอดเครื่องสูงหรือยอดสิ่งก่อสร้างที่เป็นหน้าพรหม ๔ ด้าน.
  34. พรหมพันธุ์
    หมายถึง น. “วงศ์พรหม” คือพราหมณ์โดยตระกูล คือ พราหมณ์เลว. (ส.).
  35. พรหมภูติ
    หมายถึง [พฺรมมะพูติ] น. เวลาสนธยา, เวลาขมุกขมัว, โพล้เพล้. (ส.).
  36. พรหมยาน
    หมายถึง น. ยานที่นำไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอันยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
  37. พรหมฤษี
    หมายถึง น. ฤษีที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด.
  38. พรหมลิขิต
    หมายถึง [พฺรม-] น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
  39. พรหมวิหาร
    หมายถึง [พฺรมมะ-, พฺรม-] น. ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
  40. พรหมศร
    หมายถึง น. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่ง ที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร เรียกว่า กาบพรหมศร.
  41. พรหมสี่หน้า
    หมายถึง [พฺรม-] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรำท่าหนึ่ง.
  42. พรหมสูตร
    หมายถึง น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของพราหมณ์, สายธุรำของพราหมณ์. (ส.).
  43. พรหมหัวเหม็น
    หมายถึง ดู ขี้ขม.
  44. พรหมัญตา
    หมายถึง [พฺรมมันยะ-] น. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์. (ป.).
  45. พรหมา
    หมายถึง [พฺรมมา] น. พรหม.
  46. พรหมาณฑ์
    หมายถึง [พฺรมมาน] น. จักรวาล, โลก. (ส.).
  47. พรหมาสตร์
    หมายถึง [พฺรมมาด] น. ชื่อศรเล่มหนึ่งของพระราม. (ส.).
  48. พรหมินทร์
    หมายถึง [พฺรมมิน] น. พรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).
  49. พรหมเรขา
    หมายถึง [พฺรมมะ-] น. อำนาจที่กำหนดความเป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่งเกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
  50. พรหมโคละ
    หมายถึง [พฺรมมะโคละ] น. จักรวาล. (ส.).
  51. พรหมโลก
    หมายถึง [พฺรมมะ-] น. โลกของพระพรหม; ภูมิเป็นที่สถิตของพระพรหม.
  52. พรหมโองการ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ทำรูปเหมือนใบมะตูมติดที่โรงพิธี.
  53. พรหมไทย
    หมายถึง น. ที่ดินซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พราหมณ์และยกเว้นภาษีอากร; ของที่บิดามารดาให้.
  54. พรหเมนทร์,พรหเมศวร
    หมายถึง [พฺรมเมน, พฺรมเมสวน] น. พระพรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).
  55. พรอก
    หมายถึง [พฺรอก] ก. บอก, พูด, เช่น บัดบอกพรอกพราง.
  56. พรอด,พรอด ๆ
    หมายถึง [พฺรอด] ว. เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่องเล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม. น. เรียกดินเลนที่ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น พรอดปลาไหล คือดินที่โป่งขึ้นมาซึ่งเป็นที่มีปลาไหล, ฟอด ก็ว่า.
  57. พระ
    หมายถึง [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  58. พระกรน้อย
    หมายถึง (ราชา) น. ชื่อเสื้อชั้นในที่แขนต่อแถบรัดคู่กับฉลองพระองค์ทรงประพาส, ฉลองพระกรน้อย ก็ว่า.
  59. พระครู
    หมายถึง น. ฐานันดรประเภทหนึ่งแห่งพระภิกษุ ตํ่ากว่าพระราชาคณะ เช่น พระครูสรวุฒิพิศาล พระครูสรภาณพิสุทธิ; บรรดาศักดิ์พราหมณ์ เช่น พระครูวามเทพมุนี.
  60. พระคะแนน
    หมายถึง น. พระเครื่องขนาดเล็ก ใช้เป็นสิ่งกำหนดนับจำนวนพระเครื่องที่สร้างขึ้น เช่น เมื่อสร้างพระเครื่องครบ ๑๐๐ องค์ ก็มีพระคะแนน ๑ องค์.
  61. พระคุณ
    หมายถึง น. บุญคุณ เช่น รำลึกถึงพระคุณครูอาจารย์.
  62. พระคุณเจ้า
    หมายถึง ส. คำเรียกพระภิกษุที่นับถือ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  63. พระจันทร์ครึ่งซีก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lobelia chinensis Lour. ในวงศ์ Campanulaceae ดอกสีขาวอมชมพูหรือม่วง ใช้ทำยาได้.
  64. พระจันทร์ครึ่งซีก
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  65. พระชายา
    หมายถึง (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
  66. พระทอง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง; (กลอน) คำแทนชื่อเจ้านาย.
  67. พระทัย
    หมายถึง (ราชา) น. ใจ.
  68. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ.
  69. พระธรรมศาสตร์
    หมายถึง ดู ธรรมศาสตร์.
  70. พระนม
    หมายถึง (ราชา) น. แม่นม.
  71. พระนอม,พระน้อม
    หมายถึง (กลอน) น. จอมเขาหรือที่มีพุ่มไม้, พนอม ก็ว่า.
  72. พระนาง
    หมายถึง น. พระธิดาหรือพระมเหสีของพระมหากษัตริย์.
  73. พระนางเจ้า
    หมายถึง น. ตำแหน่งพระมเหสี สูงกว่าพระนางเธอขึ้นไป.
  74. พระนางเธอ
    หมายถึง น. ตำแหน่งพระมเหสี ตํ่ากว่าพระนางเจ้า.
  75. พระนาด
    หมายถึง น. เบาะสำหรับปูบนหลังช้างเพื่อออกป่า, พนาด ก็ว่า.
  76. พระนาย
    หมายถึง น. คำเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.
  77. พระบฏ
    หมายถึง น. ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา.
  78. พระบท
    หมายถึง น. ตำราหมอดูโบราณสำหรับใช้เสี่ยงทายโดยวิธีเอาไม้แทง.
  79. พระบาลี
    หมายถึง ดู บาลี.
  80. พระประธาน
    หมายถึง น. พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือวิหารเป็นต้น.
  81. พระผู้เป็นเจ้า
    หมายถึง น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร; พระภิกษุที่นับถือ.
  82. พระพันปี
    หมายถึง (ราชา) น. คำเรียกพระราชชนนี.
  83. พระพิมพ์
    หมายถึง น. พระเครื่องที่สร้างขึ้นตามแบบแม่พิมพ์.
  84. พระพุทธองค์
    หมายถึง ส. คำเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  85. พระพุทธเจ้า
    หมายถึง น. คำเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
  86. พระพุทธเจ้าข้า
    หมายถึง น. คำขานรับพระเจ้าแผ่นดิน.
  87. พระพุทธเจ้าข้าขอรับ
    หมายถึง น. คำขานรับพระเจ้าแผ่นดิน.
  88. พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
    หมายถึง น. คำขานรับพระเจ้าแผ่นดิน.
  89. พระพุทธเจ้าหลวง
    หมายถึง น. คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตแล้ว.
  90. พระพุทธเจ้าอยู่หัว
    หมายถึง น. คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินด้วยความนับถือ.
  91. พระภูมิ
    หมายถึง น. เทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
  92. พระมาลัยมาโปรด
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กำลังตกทุกข์ได้ยากได้ทันท่วงที.
  93. พระยา
    หมายถึง น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่สูงกว่าพระ ตํ่ากว่าเจ้าพระยา เช่น พระยาอนุมานราชธน.
  94. พระยาพานทอง
    หมายถึง น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้นทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
  95. พระยาวัน
    หมายถึง น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน.
  96. พระยาเทครัว
    หมายถึง (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง.
  97. พระยาโต๊ะทอง
    หมายถึง น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับโต๊ะทอง.
  98. พระรอง
    หมายถึง น. ตัวรองฝ่ายชายในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  99. พระราชกฤษฎีกา
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.
  100. พระราชกำหนด
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 3)"