พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 2)

  1. พนาศรม
    หมายถึง [พะนาสม] น. อาศรมในป่า. (ส. วนาศฺรม).
  2. พนาศรัย
    หมายถึง น. ผู้อยู่ป่า. (ส. วนาศฺรย).
  3. พนาสณฑ์,พนาสัณฑ์
    หมายถึง น. ราวป่า, แนวป่า, ทิวไม้, ป่าสูง, ป่าดง, วนาสณฑ์ หรือ วนาสัณฑ์ ก็ว่า.
  4. พนาเวศ
    หมายถึง น. ป่า.
  5. พนิด,พนิดา
    หมายถึง น. วนิดา, หญิง, หญิงสาว. (ส. วนิตา).
  6. พนิต
    หมายถึง ว. เป็นที่รัก, ที่ชอบพอ. (ส. วนิต).
  7. พนียก
    หมายถึง [พะนียก] น. วนิพก, คนขอทานโดยร้องเพลงขอ. (ส. วนียก).
  8. พนโคจร
    หมายถึง [พะนะโคจอน] น. ชาวป่า, พรานป่า. (ส. วนโคจร).
  9. พบ
    หมายถึง ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
  10. พบปะ
    หมายถึง ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย.
  11. พบพาน
    หมายถึง ก. ปะกัน, เจอกัน, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ประสบพบพาน.
  12. พบู
    หมายถึง (กลอน) น. กาย, ตัว. (ป., ส. วปุ).
  13. พบู
    หมายถึง (กลอน) น. หน้า; ดอกไม้ เช่น พบูบานประสานสี. ว. งาม; ขาว, ด่อน.
  14. พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น
    หมายถึง (สำ) ก. พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่, ใช้ว่า พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น ก็มี.
  15. พม่า
    หมายถึง [พะม่า] น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า พม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากำชับ พม่าห้าท่อน.
  16. พม่า
    หมายถึง [พะม่า] น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย.
  17. พม่ารำขวาน
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  18. พม่าแทงกบ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  19. พยชน์
    หมายถึง [พะยด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
  20. พยชะ
    หมายถึง [พะยดชะ] ก. ขับ, ขี่; พัด. (ส. วฺยช).
  21. พยติเรก
    หมายถึง [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
  22. พยนต์
    หมายถึง [พะยน] น. สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น เช่น หุ่นพยนต์. (ป. วยนฺต; ส. วฺยนฺต).
  23. พยศ
    หมายถึง [พะยด] ก. แสดงอาการดื้อหรือถือตัวไม่ยอมทำตาม.
  24. พยัก
    หมายถึง [พะยัก] ก. อาการที่ก้มหน้าลงเล็กน้อยแล้วเงยหน้าขึ้นโดยเร็วเป็นการแสดงความรับรู้ เรียกว่า พยักหน้า.
  25. พยักพเยิด
    หมายถึง [-พะเยิด] ก. แสดงกิริยาหน้าตาพลอยรับรู้เห็นกับเขาด้วย, ไม่แสดงอาการให้ชัดเจนเป็นแต่พยักหน้า หรือทำบุ้ยใบ้ไม้มือเพื่อให้รู้.
  26. พยักยิ้ม
    หมายถึง ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิงเย้ยหยัน.
  27. พยัคฆ,พยัคฆ-,พยัคฆ์
    หมายถึง [พะยักคะ-] น. เสือโคร่ง. (ป. พฺยคฺฆ, วฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).
  28. พยัคฆา,พยัคฆิน,พยัคฆี
    หมายถึง (กลอน) น. เสือโคร่ง.
  29. พยัคฆินทร์,พยัคเฆนทร์
    หมายถึง น. พญาเสือโคร่ง.
  30. พยัชน์
    หมายถึง [พะยัด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
  31. พยัญชนะ
    หมายถึง [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
  32. พยัต
    หมายถึง [พะยัด] น. ผู้เรียน, ผู้รู้. ว. ฉลาด, เฉียบแหลม. (ป. พฺยตฺต, วฺยตฺต; ส. วฺยกฺต).
  33. พยับ
    หมายถึง [พะยับ] ว. ครึ้ม, มืดมัว, (ใช้แก่อากาศ) เช่น พยับฟ้า พยับฝน พยับเมฆ.
  34. พยับฝน
    หมายถึง น. ครึ้มฝน.
  35. พยับหมอก
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Plumbago auriculata Lam. ในวงศ์ Plumbaginaceae ดอกเป็นช่อสีฟ้าอ่อน, เจตมูลเพลิงฝรั่ง ก็เรียก.
  36. พยับหมอก
    หมายถึง น. หมอกมืดครึ้ม.
  37. พยับเมฆ
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Orthosiphon aristatus Miq. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็กสีขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อยาว เกสรเพศผู้ยาว ใบใช้ทำยาได้, หญ้าหนวดแมว ก็เรียก.
  38. พยับเมฆ
    หมายถึง น. เมฆฝนตั้งเค้า.
  39. พยับแดด
    หมายถึง น. เงาแดด, แสงแดดกล้าที่ปรากฏในระยะไกลเป็นระยิบระยับลวงตา ทำให้เห็นเป็นนํ้าเป็นต้น.
  40. พยากรณ์
    หมายถึง [พะยากอน] ก. ทำนายหรือคาดการณ์โดยอาศัยหลักวิชา. น. ชื่อคัมภีร์โหราศาสตร์ว่าด้วยการทำนาย. (ป., ส. วฺยากรณ).
  41. พยาฆร์
    หมายถึง [พะยาก] น. พยัคฆ์. (ส. วฺยาฆฺร; ป. พฺยคฺฆ).
  42. พยางค์
    หมายถึง [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
  43. พยาธิ
    หมายถึง [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
  44. พยาธิ
    หมายถึง [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.
  45. พยาน
    หมายถึง [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่งให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็น ได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. (อ. witness).
  46. พยานบอกเล่า
    หมายถึง (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
  47. พยานบุคคล
    หมายถึง (กฎ) ดู พยาน.
  48. พยานวัตถุ
    หมายถึง (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
  49. พยานหลักฐาน
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
  50. พยานเอกสาร
    หมายถึง (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
  51. พยาบาท
    หมายถึง [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า ผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไปพยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).
  52. พยาบาล
    หมายถึง [พะยาบาน] ก. ดูแลคนไข้, ปรนนิบัติคนไข้; (โบ) เอื้อเฟื้อเลี้ยงดู. น. ผู้ดูแลคนไข้.
  53. พยาม,พยามะ
    หมายถึง [พะยาม, พะยามะ] น. วา คือ ระยะวาหนึ่ง. (ป. พฺยาม, วฺยาม; ส. วฺยาม).
  54. พยายาม
    หมายถึง [พะยา-] ก. ทำโดยมานะบากบั่น. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).
  55. พยาล,พยาล-
    หมายถึง [พะยาน, พะยาละ-] น. สัตว์ที่กินเนื้อสัตว์. (ส. วฺยาล; ป. วาล, วาฬ).
  56. พยาลมฤค
    หมายถึง [พะยาละมะรึก] น. สัตว์ร้าย. (ส. วฺยาลมฺฤค; ป. วาฬมิค).
  57. พยุ
    หมายถึง [พะยุ] น. ลมแรง. (ข. พฺยุะ; ป., ส. วายุ).
  58. พยุง
    หมายถึง [พะยุง] ก. ประคองให้ทรงตัวอยู่, ประคองให้อยู่ในสภาพปรกติ, เช่น พยุงตัวลุกขึ้น พยุงตัวไม่ให้จมน้ำ, ระวังไม่ให้ล้มไม่ให้ซวนเซเป็นต้น เช่น พยุงลุก พยุงนั่ง พยุงคนไข้ พยุงฐานะ, (ปาก) พยุพยุง ก็ว่า.
  59. พยุงปีก
    หมายถึง ก. ประคองแขนพยุงไปด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งโอบรอบหลังไปสอดใต้รักแร้ของผู้ถูกพยุง.
  60. พยุพยุง
    หมายถึง [พะยุพะยุง] (ปาก) ก. พยุง.
  61. พยุห,พยุห-,พยุหะ
    หมายถึง [พะยุหะ-] น. กระบวน, หมู่, กองทัพ, พยู่ห์ ก็ว่า; ชื่อวิธีนับในปักษคณนา. (ป. พฺยูห, วฺยูห; ส. วฺยูห).
  62. พยุหบาตร,พยุหบาตรา
    หมายถึง [-บาด, -บาดตฺรา] (กลอน) น. กระบวนทัพ.
  63. พยุหยาตรา
    หมายถึง [-ยาดตฺรา] น. กระบวนทัพ, การเดินทัพ, เช่น ยกพยุหยาตรา. ก. ไปเป็นกระบวนทัพใหญ่.
  64. พยุหร
    หมายถึง [พะยุหอน] น. เกณฑ์เลขผลหารของวิธีฉวาง. (ศัพท์ใช้ในตำราเลขโบราณ).
  65. พยุหเสนา
    หมายถึง น. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย, วฺยูห + ไสนฺย + อากร).
  66. พยุหแสนยา
    หมายถึง น. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย, วฺยูห + ไสนฺย + อากร).
  67. พยุหแสนยากร
    หมายถึง น. หมู่เสนา. (ป. พฺยูห + เสนา; ส. วฺยูห + ไสนฺย, วฺยูห + ไสนฺย + อากร).
  68. พยุหโยธา
    หมายถึง น. หมู่พลรบ, กระบวนพลรบ. (ป.).
  69. พยู่ห์
    หมายถึง [พะยู่] น. พยุหะ, กระบวน, หมู่, กองทัพ.
  70. พร
    หมายถึง [พอน] น. คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
  71. พรต
    หมายถึง [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจำศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภคอาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บำเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บำเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
  72. พรม
    หมายถึง [พฺรม] ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำประโปรยให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น เอาน้ำพรมผ้า พรมน้ำมนต์.
  73. พรม
    หมายถึง ดู นางเกล็ด.
  74. พรม
    หมายถึง ดู หนามพรม.
  75. พรม
    หมายถึง [พฺรม] น. เครื่องลาดทำด้วยขนสัตว์, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นบางชนิดที่ใช้ปูลาดว่า พรม เช่น พรมนํ้ามัน พรมกาบมะพร้าว; เรียกด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ไหมพรม; ตุ้มสำหรับหยั่งนํ้าตื้นลึกเมื่อเรือเดินใกล้ฝั่ง; ไม้สำหรับยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น.
  76. พรมคด
    หมายถึง [พฺรมมะ-] น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Heliciopsis terminalis (Kurz) Sleumer ในวงศ์ Proteaceae ช่อดอกสีขาว กลิ่นหอม. (๒) ดู กระโดงแดง (๑).
  77. พรมคดตีนเต่า
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในวงศ์ Malvaceae ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเป็น ๓ แฉก ดอกสีเหลือง.
  78. พรมทาง
    หมายถึง น. พรมเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ใช้ปูเป็นลาดพระบาทหรือทางเดิน.
  79. พรมนิ้ว
    หมายถึง ก. ประนิ้วรัวที่เครื่องดนตรีบางชนิด มีซอและขลุ่ยเป็นต้น.
  80. พรมน้ำมัน
    หมายถึง น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทำด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามันลินสีด สี และสารเคมีที่ทำให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้เป็นแผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้วจึงอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนำมาตกแต่งอีกด้านหนึ่งให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
  81. พรมมิ
    หมายถึง [พฺรม-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Bacopa monniera (L.) Weltst. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ใช้ทำยาได้.
  82. พรมแดน
    หมายถึง [พฺรม-] น. ขีดขั้นเขตแดน, แดนต่อแดน. (ข. พฺรํแฎน).
  83. พรรค,พรรค-,พรรค์
    หมายถึง [พัก, พักคะ-, พัน] น. หมู่คนที่เข้ารวมกันเป็นพวกเป็นฝ่าย เช่น พรรคการเมือง, พวก เช่น คนพรรค์นั้น. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  84. พรรคกลิน
    หมายถึง [พักกะลิน] น. เหล่าทหารเรือที่เป็นช่างกลประจำท้องเรือ.
  85. พรรคการเมือง
    หมายถึง น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
  86. พรรคนาวิกโยธิน
    หมายถึง [พักนาวิกกะ-] น. เหล่าทหารเรือที่ประจำการพลรบฝ่ายบก.
  87. พรรคนาวิน
    หมายถึง [พัก-] น. เหล่าทหารเรือที่ประจำการพลรบ.
  88. พรรคพวก
    หมายถึง น. พวกเดียวกัน.
  89. พรรคานต์
    หมายถึง [พักคาน] น. ตัวอักษรที่สุดวรรค คือ ง ญ ณ น ม.
  90. พรรณ
    หมายถึง [พัน] น. สีของผิว; ชนิด เช่น พรรณพืช พรรณไม้ พรรณสัตว์. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  91. พรรณนา
    หมายถึง [พันนะ-] ก. กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
  92. พรรณนาโวหาร
    หมายถึง น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
  93. พรรณราย
    หมายถึง [พันนะ-] น. สีพราย ๆ, สีเลื่อมระยับ, งามผุดผ่อง.
  94. พรรดึก
    หมายถึง [พันระ-] น. อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม.
  95. พรรลาย
    หมายถึง [พันลาย] ก. มากมาย, เกลื่อนกลาด; เซ็งแซ่ เช่น ร้องก้องเสียงพรรลาย. (ตะเลงพ่าย).
  96. พรรษ,พรรษ-
    หมายถึง [พัด, พันสะ-] น. ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส).
  97. พรรษประเวศ
    หมายถึง [พันสะปฺระเวด] น. การเข้าสู่ปีใหม่, เถลิงศก. (ส.).
  98. พรรษฤดู
    หมายถึง [พันสะรึดู] น. หน้าฝน. (ส.).
  99. พรรษวุฒิ
    หมายถึง [พันสะวุดทิ] น. การเจริญแห่งปี; วันเกิด.
  100. พรรษา
    หมายถึง [พันสา] น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จำพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, (ราชา) มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 2)"