พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 10)

  1. พาหุ
    หมายถึง น. แขน. (ป., ส.).
  2. พาหุยุทธ์
    หมายถึง น. การต่อสู้ด้วยแขน, การชกมวย, การปลํ้า. (ป.).
  3. พาหุรัด
    หมายถึง น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, ทองต้นแขน ก็เรียก.
  4. พาหุสัจจะ
    หมายถึง น. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก. (ป.).
  5. พาฬ,พาฬ-
    หมายถึง [พาละ-] น. สัตว์ร้าย, ช้างร้าย, สิงโต, งู, เสือ. (ป. พาล, วาฬ; ส. วฺยาฑ, วฺยาล).
  6. พาฬมฤค
    หมายถึง น. สัตว์ร้าย, สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร. (ป. พาฬมิค; ส. วฺยาลมฺฤค).
  7. พาฬหะ
    หมายถึง [พานหะ] ว. หนัก, ยิ่ง. (ป.).
  8. พาเหียร
    หมายถึง ว. ภายนอก. (ป. พาหิร).
  9. พาโล
    หมายถึง ก. แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น, กล่าวหาความ, บางทีก็ใช้มีสร้อยว่า พาโลโสเก หรือ พาโลโฉเก. (ป., ส. พาล).
  10. พาไล
    หมายถึง น. พะไล.
  11. พำ
    หมายถึง ก. ปำ, คว่ำลง, คะมำลง, ปักลง.
  12. พำนัก
    หมายถึง ก. พัก, อาศัยอยู่, พะพิง.
  13. พำพวก
    หมายถึง (โบ) น. พวก.
  14. พำพึม,พำ ๆ,พึม ๆ
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงคนพูดหรือบ่นค่อย ๆ, พึมพำ ก็ว่า.
  15. พำลา
    หมายถึง น. เรียกช้างซึ่งมีลักษณะอันชั่วร้ายชนิดหนึ่ง ตำราไม่ให้เอามาใช้เป็นพาหนะ.
  16. พิกล
    หมายถึง ว. ผิดปรกติ, แปลกไป, เช่น รูปร่างพิกล ทำท่าพิกล พูดพิกล. (ป., ส. วิกล ว่า ขาดแคลน, อ่อนแอ).
  17. พิกสิต
    หมายถึง [พิกะสิด] ก. วิกสิต, บาน, แย้ม, คลี่. (ป., ส. วิกสิต).
  18. พิกัด
    หมายถึง (คณิต) น. จำนวนจริง ๒ จำนวนซึ่งเป็นคู่ลำดับ ที่แทนจุดจุดหนึ่งบนระนาบ จำนวนแรกของคู่ลำดับเรียกว่า พิกัด x เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนดิ่ง ส่วนจำนวนที่ ๒ ของคู่ลำดับเรียกว่า พิกัด y เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนนอน. (อ. coordinates).
  19. พิกัด
    หมายถึง น. กำหนด (ของต้องพิกัด หมายความว่า ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร).
  20. พิกัดอัตราศุลกากร
    หมายถึง (กฎ) น. กำหนดจำนวนเงินอากรที่เรียกเก็บจากของที่ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของที่นำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า.
  21. พิกัติ
    หมายถึง น. การทำให้เป็นหลายอย่าง, การกระทำให้แปลกออกไป, การประดิษฐ์ทำ. (ป. วิกติ; ส. วิกฺฤติ).
  22. พิกัน
    หมายถึง น. ชื่อต้นไม้ ดอกหอมเหมือนพิกุล แต่ดอกใหญ่. (พจน. ๒๔๙๓).
  23. พิการ
    หมายถึง ว. เสียอวัยวะมีแขนขาเป็นต้น, เสียไปจากสภาพเดิม, เช่น แขนพิการ ตาพิการ, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ พิกล เป็น พิกลพิการ. (ป., ส. วิการ).
  24. พิกุล
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Mimusops elengi L. ในวงศ์ Sapotaceae กลีบดอกจักแหลม กลิ่นหอมและหอมอยู่จนแห้ง ใช้ทำยาได้, พายัพเรียก แก้ว, ปักษ์ใต้เรียก กุล. (ป., ส. วกุล).
  25. พิกุลป่า
    หมายถึง ดู ตะเคียนเผือก.
  26. พิกเลนทรีย์
    หมายถึง [พิกะเลนซี] น. ร่างกายแปลกประหลาด. (ป. วิกล + อินฺทฺริย).
  27. พิฆน์
    หมายถึง น. อุปสรรค; เครื่องกีดขวาง, แก่ง. (ส. วิฆน).
  28. พิฆาต
    หมายถึง ก. ฆ่า เช่น พิฆาตข้าศึก, ทำลายล้าง เช่น เรือพิฆาตตอร์ปิโด. (ป., ส. วิฆาต).
  29. พิฆเนศ,พิฆเนศวร
    หมายถึง [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
  30. พิง
    หมายถึง ก. อิง เช่น ยืนพิงเสา.
  31. พิจยะ,พิจัย
    หมายถึง [-จะยะ] น. การตรวจตรา, การไต่สวน. (ป., ส. วิจย).
  32. พิจล
    หมายถึง ก. หวั่นไหว. (ส.).
  33. พิจาร,พิจารณ์,พิจารณา
    หมายถึง [พิจาน, พิจาระนา] ก. ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน. (ป., ส. วิจาร, วิจารณ, วิจารณา).
  34. พิจิก
    หมายถึง น. ชื่อกลุ่มดาวรูปแมงป่อง เรียกว่า ราศีพิจิก เป็นราศีที่ ๗ ในจักรราศี, ราศีพฤศจิก ก็ว่า.
  35. พิจิต
    หมายถึง ก. เลือกคัด, ตรวจ. (ป. วิจิต; ส. วิจิตฺ).
  36. พิจิตร
    หมายถึง ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
  37. พิชญ์
    หมายถึง น. นักปราชญ์, คนมีความรู้สูง. (ส. วิชฺ).
  38. พิชย,พิชย-,พิชัย
    หมายถึง [-ชะยะ] น. ความชนะ. (ป., ส. วิชย).
  39. พิชัยสงคราม
    หมายถึง น. ตำราว่าด้วยกลยุทธ์, ตำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะในสงคราม.
  40. พิชาน
    หมายถึง น. ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า. (อ. consciousness).
  41. พิชิต,พิชิต-
    หมายถึง [พิชิดตะ-] น. แว่นแคว้นที่ปราบปรามแล้ว, แว่นแคว้น. ก. ชนะ, ปราบให้แพ้. (ป., ส. วิชิต).
  42. พิชิตมาร
    หมายถึง น. พระผู้ชนะมาร คือ พระพุทธเจ้า. (ป. วิชิตมาร).
  43. พิฑูรย์
    หมายถึง น. ไพฑูรย์. (ส. ไวฑูรฺย; ป. เวฬุริย).
  44. พิณ
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีสายสำหรับดีด. (ป., ส. วีณา).
  45. พิณพาทย์
    หมายถึง น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
  46. พิณพาทย์เครื่องคู่
    หมายถึง น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องคู่ ก็เรียก.
  47. พิณพาทย์เครื่องห้า
    หมายถึง น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
  48. พิณพาทย์เครื่องใหญ่
    หมายถึง น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้องโหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.
  49. พิดทูล
    หมายถึง ก. เพ็ดทูล.
  50. พิดรก
    หมายถึง [-ดฺรก] (กลอน) ก. วิตก. (ส. วิตรฺก; ป. วิตกฺก).
  51. พิดาน
    หมายถึง น. เพดาน เช่น ด้วยพิดานดาวทอง. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป., ส. วิตาน).
  52. พิตร
    หมายถึง [พิด] น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. (ส., ป. วิตฺต).
  53. พิถย,พิถย-
    หมายถึง [พิดถะยะ-] น. วิถี.
  54. พิถยันดร
    หมายถึง [พิดถะยันดอน] น. ระหว่างวิถี.
  55. พิถี
    หมายถึง น. ถนน, หนทาง. (ป. วีถิ).
  56. พิถีพิถัน
    หมายถึง ว. ละเอียดลออมาก เช่น เขาเป็นคนพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้า.
  57. พิทย,พิทย-,พิทย์,พิทยา
    หมายถึง [พิดทะยะ-, พิด, พิดทะยา] น. ความรู้. (ส. วิทฺยา; ป. วิชฺชา).
  58. พิทยาคม
    หมายถึง น. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).
  59. พิทยาคาร
    หมายถึง น. โรงเรียน.
  60. พิทยาธร
    หมายถึง น. อมนุษย์พวกหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าเทวดา เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อยู่ในภูเขาหิมาลัย มีหน้าที่ปฏิบัติพระศิวะ. (ส. วิทฺยาธร).
  61. พิทยาพล
    หมายถึง น. กำลังกายสิทธิ์. (ส. วิทฺยาพล).
  62. พิทยาลัย
    หมายถึง น. โรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา.
  63. พิทักษ์
    หมายถึง ก. ดูแลคุ้มครอง เช่น พิทักษ์สันติราษฎร์.
  64. พิทักษ์
    หมายถึง ว. สันทัด. (ส. วิทกฺษ).
  65. พิทักษ์ทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือนเป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  66. พิทักษ์สันติ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  67. พิทูร
    หมายถึง [พิทูน] ว. วิทูร, ฉลาด, รอบรู้, ชำนาญ. (ดู วิทูร).
  68. พิธาน
    หมายถึง น. วิธาน, การจัดแจง, การทำ. (ป., ส. วิธาน).
  69. พิธี
    หมายถึง น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธีประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกำหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คำหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
  70. พิธีกร
    หมายถึง น. ผู้ดำเนินการในพิธี เช่น พิธีกรในงานมงคลสมรส, ผู้ดำเนินรายการ เช่น พิธีกรในการสัมมนา.
  71. พิธีกรรม
    หมายถึง น. การบูชา, แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา.
  72. พิธีการ
    หมายถึง น. การที่เกี่ยวกับพิธีและแบบหนังสือทางทูต เช่น กรมพิธีการทูต.
  73. พิธีจุ่ม
    หมายถึง น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, ศีลล้างบาป ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
  74. พิธีธรรม
    หมายถึง น. พระสงฆ์จำนวน ๔ รูปที่ได้รับสมมุติให้สวดภาณวารหรือสวดอาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือสวดอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม.
  75. พิธีมณฑล
    หมายถึง น. บริเวณที่กำหนดขึ้นเพื่อประกอบพิธี เช่นกำหนดขอบเขตขึ้นด้วยการกั้นแผงราชวัติ ฉัตร หรือธง.
  76. พิธีรีตอง
    หมายถึง น. งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม.
  77. พิธีสาร
    หมายถึง (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสำคัญรองลงมาจากสนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  78. พิธีแตก
    หมายถึง (ปาก) ว. เสียเรื่อง, ล้มเหลว.
  79. พิธุ
    หมายถึง น. พระจันทร์. (ป., ส. วิธุ).
  80. พิธุร
    หมายถึง [-ทุน] ว. ลำบาก, พรากกัน. (ป., ส. วิธุร).
  81. พินทุ
    หมายถึง น. หยาดเช่นหยาดนํ้า, จุด, จุดที่ใส่ไว้ใต้ตัวอักษร; ลายแต้มสีที่หน้าผากระหว่างคิ้ว; รูปวงเล็ก ๆ; รูปสระ ดังนี้ ิ; ชื่อสังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิกำลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙ ตัว. (ป. พินฺทุ; ส. พินฺทุ, วฺฤนฺท, วินฺทุ).
  82. พินทุกัป,พินทุกัปปะ
    หมายถึง น. การทำพินทุ คือ เขียนรูปวงที่มุมจีวรตามวินัยบัญญัติ. (ป. พินฺทุกปฺป).
  83. พินทุสร
    หมายถึง [พินทุสอน] น. เสียงเพราะ. (คำฤษดี). (ป. พินฺทุสฺสร).
  84. พินพง,พิ่นพั่ง
    หมายถึง (โบ) ว. มากมาย.
  85. พินอบพิเทา
    หมายถึง [พิ-นอบ-] ก. แสดงอาการเคารพนบนอบมาก.
  86. พินัย
    หมายถึง น. เงินค่าปรับเป็นภาคหลวง. (ป., ส. วินย).
  87. พินัยกรรม
    หมายถึง (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
  88. พินัยหลวง
    หมายถึง น. เงินค่าปรับเป็นของหลวง เช่น ปรับเป็นพินัยหลวง.
  89. พินาศ
    หมายถึง น. ความเสียหายสิ้นเชิง, ความเสียหายย่อยยับ. ก. เสียหายสิ้นเชิง, เสียหายย่อยยับ. (ป. วินาส; ส. วินาศ).
  90. พินิจ
    หมายถึง ก. พิจารณา, ตรวจตรา, เช่น เพ่งพินิจ.
  91. พินิต
    หมายถึง ก. แนะนำ, สั่งสอน, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
  92. พินิศ
    หมายถึง ก. ดู, แลดู, เพ่งดู.
  93. พินิศจัย
    หมายถึง [พินิด-] ก. ตัดสิน, ชี้ขาด. (ส. วินิศฺจย; ป. วินิจฺฉย).
  94. พิบัติ
    หมายถึง น. ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล. ก. ฉิบหาย. (ป., ส. วิปตฺติ).
  95. พิบาก
    หมายถึง น. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).
  96. พิบุล,พิบูล
    หมายถึง ว. กว้างขวาง, มาก. (ป., ส. วิปุล).
  97. พิปริต
    หมายถึง [-ปะหฺริด] ก. วิปริต. (ป., ส. วิปรีต).
  98. พิปลาส
    หมายถึง [-ปะลาด] ว. วิปลาส. (ป. วิปลฺลาส; ส. วิปรฺยาส ว่า ความคลาดเคลื่อน).
  99. พิปัสสนา
    หมายถึง น. วิปัสสนา. (ป. วิปสฺสนา; ส. วิปศฺยนา).
  100. พิพรรธ
    หมายถึง ก. พิพัฒ. (ส. วิวรฺธ; ป. วิวฑฺฒ).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด พ (หน้าที่ 10)"