พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ผ (หน้าที่ 6)

  1. ผ้าชุบสรง
    หมายถึง น. ผ้าผลัดอาบน้ำเจ้านายหรือพระสงฆ์.
  2. ผ้าชุบอาบ
    หมายถึง น. ผ้าผลัดอาบน้ำ.
  3. ผ้าดำ
    หมายถึง น. ผ้าด้ายชนิดย้อมมะเกลือ ใช้เป็นผ้านุ่งไว้ทุกข์.
  4. ผ้าดิบ
    หมายถึง น. ผ้าที่ทอด้วยด้ายที่ยังไม่ได้ฟอก.
  5. ผ้าตา
    หมายถึง น. ผ้านุ่งชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมมีลายเป็นตา ๆ.
  6. ผ้าต่วน
    หมายถึง น. ชื่อผ้าแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว ทอเป็นลายสอง.
  7. ผ้าถุง
    หมายถึง น. เครื่องนุ่งของผู้หญิง ซึ่งใช้ผืนผ้าเย็บริมด้านข้างให้ติดกัน.
  8. ผ้าทิพย์
    หมายถึง น. ผ้าที่ห้อยตรงหน้าฐานพระพุทธรูป (โดยมากปั้นด้วยปูนทำเป็นลายต่าง ๆ แต่ที่ไม่เป็นลายก็มี), ผ้าที่ห้อยหน้าราชอาสน์หรือพนักพลับพลา.
  9. ผ้านวม
    หมายถึง น. ผ้าห่มที่มีของอ่อนนุ่มเช่นสำลีอยู่ข้างในเพื่อให้ความอบอุ่น.
  10. ผ้านุ่ง
    หมายถึง น. ผ้าสำหรับนุ่งชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เวลานุ่งม้วนให้เป็นชายกระเบนหรือหางกระเบนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้าด้านหลังระดับบั้นเอวตอนที่เรียกว่า กระเบนเหน็บ.
  11. ผ้าป่า
    หมายถึง น. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นำเอาไปวางทอดไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทำนองผ้าบังสุกุล มักทำเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า.
  12. ผ้าป่าน
    หมายถึง น. ผ้าที่ทอด้วยป่าน มีลักษณะบางโปร่ง เส้นแกร่ง.
  13. ผ้าผ่อน
    หมายถึง น. ผ้าทั่ว ๆ ไป, ผ้านุ่งผ้าห่ม.
  14. ผ้าพันคอ
    หมายถึง น. ผ้าสำหรับพันคอเพื่อกันหนาวเป็นต้น.
  15. ผ้าพันแผล
    หมายถึง น. ผ้าที่ทอด้วยฝ้าย เป็นแถบยาว ๆ มีลักษณะโปร่งบาง สีขาว ใช้สำหรับพันหุ้มบาดแผล.
  16. ผ้าพื้น
    หมายถึง น. ผ้านุ่งที่ทอด้วยด้ายมีสีใดสีหนึ่งเป็นพื้น ไม่มีดอกไม่มีลาย.
  17. ผ้ามัดหมี่
    หมายถึง น. ผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายตามที่มัดไว้, หมี่ ก็เรียก.
  18. ผ้าม่วง
    หมายถึง น. ผ้าไหมสำหรับผู้ชายนุ่ง มีสีม่วงครามหรือม่วงชาดเป็นต้น.
  19. ผ้าย
    หมายถึง ก. เคลื่อนจากที่, ใช้ ผาย ก็มี.
  20. ผ้ายก
    หมายถึง น. ผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้น.
  21. ผ้ายาง
    หมายถึง น. ผืนยางหรือพลาสติก ใช้ปูที่นอนหรือเบาะเป็นต้น.
  22. ผ้าลาย
    หมายถึง น. ผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทำเป็นผ้าถุง.
  23. ผ้าลูกไม้
    หมายถึง น. ผ้าที่ถักโปร่งเป็นลวดลายต่าง ๆ.
  24. ผ้าสันถัต
    หมายถึง น. ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง.
  25. ผ้าสาลู
    หมายถึง น. ผ้าขาวบางเนื้อละเอียด, ในปัจจุบันอนุโลมเรียกผ้าขาวบางเนื้อนุ่ม มักใช้ทำเป็นผ้าอ้อมว่า ผ้าสาลู ด้วย.
  26. ผ้าสำลี
    หมายถึง น. ผ้าชนิดหนึ่ง มีขนเนื้อนุ่ม มักใช้ห่ม ตัดเสื้อกันหนาว.
  27. ผ้าหางกระรอก
    หมายถึง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้ายหรือไหมต่างสี ฟั่นเป็นเกลียวเสียก่อน เมื่อทอแล้วมีลายแลดูดังลายหางกระรอก.
  28. ผ้าห้อยหอ
    หมายถึง (โบ) น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้วผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
  29. ผ้าอนามัย
    หมายถึง น. ผ้าสำหรับซับระดู.
  30. ผ้าอาบ
    หมายถึง น. ผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบนํ้า.
  31. ผ้าอ้อม
    หมายถึง น. ท่อนผ้าสำหรับปูให้เด็กนอนในเบาะ.
  32. ผ้าฮาด
    หมายถึง ดู กระโดน.
  33. ผ้าเกี้ยว
    หมายถึง น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก.
  34. ผ้าเช็ดตัว
    หมายถึง น. ผ้าขนหนูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้ซับหรือเช็ดเนื้อตัวให้แห้ง.
  35. ผ้าเช็ดปาก
    หมายถึง น. ผ้าแดงหรือผ้าแดงสลับเหลืองเป็นตา ๆ สำหรับคนกินหมากใช้เช็ดปาก.
  36. ผ้าเช็ดมือ
    หมายถึง น. ผ้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสำหรับเช็ดมือหรือเช็ดปากที่โต๊ะอาหาร.
  37. ผ้าเช็ดหน้า
    หมายถึง น. ผ้าผืนเล็กรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สำหรับเช็ดหน้าซับเหงื่อเป็นต้น.
  38. ผ้าเทศ
    หมายถึง (โบ) น. ผ้าขาวเนื้อดีมาจากต่างประเทศ.
  39. ผ้าเพลาะ
    หมายถึง น. ผ้า ๒ ผืนที่เย็บข้างต่อริมติดกันให้กว้างออก.
  40. ผ้าเหลือง
    หมายถึง (ปาก) น. จีวร เช่น เกาะชายผ้าเหลือง, เครื่องหมายแห่งพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ในความว่า ไม่เห็นแก่พระ ก็เห็นแก่ผ้าเหลืองเถิด.
  41. ผ้าเหลืองร้อน
    หมายถึง (ปาก) ก. อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร).
  42. ผ้าแก้ว
    หมายถึง น. ผ้าบางใสอย่างแก้ว เนื้อแข็ง ใช้ทำเครื่องแต่งกายหรือดอกไม้เป็นต้น.
  43. ผ้าแดง
    หมายถึง น. ผ้าทอด้วยด้ายย้อมสีแดงเลือดนก มักใช้ทำผ้านุ่งโจงกระเบนหรือผ้าเช็ดปากสำหรับคนกินหมากเป็นต้น.
  44. ผ้าแถบ
    หมายถึง น. ผ้าผืนยาว ๆ แคบ ๆ ใช้ห่มคาดหน้าอกต่างเสื้อ.
  45. ผ้าแฝง
    หมายถึง น. ผ้าคาดเอว ปักด้วยดิ้นเงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สมรด หรือ สำรด ก็เรียก.
  46. ผ้าแพร
    หมายถึง น. ผ้าไหมชนิดหนึ่ง.
  47. ผ้าโพกหัว
    หมายถึง น. ผ้าที่ใช้พันหรือคลุมหัว.
  48. ผ้าใบ
    หมายถึง น. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทำใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.
  49. ผ้าใบกลอย
    หมายถึง น. ผ้าขาวบางเนื้อแน่นละเอียด.
  50. ผ้าใบเมี่ยง
    หมายถึง น. ผ้าขาวใช้ห่อศพที่เข้าโกศ.
  51. ผ้าไตร
    หมายถึง น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), ไตร ก็เรียก เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร, เรียกเต็มว่า ผ้าไตรจีวร.
  52. ผ้าไหว้
    หมายถึง น. ผ้าที่ฝ่ายชายนำไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการเคารพในเวลาแต่งงาน.
  53. ผ้ำ ๆ
    หมายถึง ว. อาการเดินหรือวิ่งอย่างหนัก.
  54. เผ
    หมายถึง น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นกัน ๔ คน เจ้ามือแจกไพ่ควํ่า ๑ ใบแรก แล้วแจกไพ่หงายอีก ๔ ใบ ก็มี แจกไพ่หงายใบที่ ๒ และที่ ๓ เหลือนอกนั้นแจกควํ่า ก็มี ผู้ใดถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ.
  55. เผง
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น, โดยปริยายหมายความว่า แน่เทียว, ไม่ผิดพลาด, เช่น ตรงเผง ถูกเผง, เพะ ก็ว่า.
  56. เผชิญ
    หมายถึง [ผะเชิน] ก. ประเชิญ, ชนกัน, ปะทะกัน, ต่อกัน.
  57. เผชิญภัย
    หมายถึง ก. เจออันตรายเฉพาะหน้า, กล้าเสี่ยงภัยโดยรู้ว่าจะมีอันตราย.
  58. เผชิญหน้า
    หมายถึง ก. เจอกันซึ่งหน้า (ใช้แก่ผู้ที่ไม่ชอบหน้ากัน).
  59. เผดิม
    หมายถึง [ผะเดิม] ก. ประเดิม, เริ่มแรก, ตั้งต้น, ลงมือก่อน.
  60. เผดียง
    หมายถึง [ผะเดียง] ก. บอกให้รู้, บอกนิมนต์, ใช้ว่า ประเดียง ก็มี.
  61. เผด็จ
    หมายถึง [ผะเด็ด] ก. ตัด, ขจัด, ขาด. (ข. ผฺฎาจ่).
  62. เผด็จการ
    หมายถึง น. การใช้อำนาจบริหารเด็ดขาด, เรียกลัทธิหรือแบบการปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดในการบริหารประเทศว่า ลัทธิเผด็จการ, เรียกผู้ใช้อำนาจเช่นนั้นว่า ผู้เผด็จการ.
  63. เผด็จศึก
    หมายถึง ก. ปราบข้าศึกลงได้อย่างเด็ดขาด.
  64. เผน,เผน-
    หมายถึง [เผนะ-] (แบบ) น. ฟอง (นํ้า). (ส.; ป. เผณ).
  65. เผนธรรม
    หมายถึง ว. มีปรกติเหมือนฟอง (นํ้า) คือ เป็นอยู่ชั่วคราว; ไม่ถาวร. (ส.).
  66. เผนิก
    หมายถึง [ผะเหฺนิก] ก. เบิก.
  67. เผย
    หมายถึง ก. ค่อย ๆ ขยายออก, ค่อย ๆ แย้มออก, เช่น เผยหน้าต่าง เผยปาก.
  68. เผยอ
    หมายถึง [ผะเหฺยอ] ก. เปิดน้อย ๆ เช่น เผยอปาก เผยอฝาหม้อไว้ ฝากาเผยอ. ว. อวดดี, ทำไปโดยไม่รู้จักประมาณตน, เช่น เผยอทำ เผยอพูด.
  69. เผยิบ,เผยิบ ๆ
    หมายถึง [ผะเหฺยิบ] ว. อาการที่ของแบนบางกระพือขึ้นกระพือลงช้า ๆ เช่น นกกระพือปีกเผยิบ ๆ, พะเยิบ หรือ พะเยิบ ๆ ก็ว่า.
  70. เผยิบผยาบ
    หมายถึง [-ผะหฺยาบ] ว. พะเยิบพะยาบ.
  71. เผยแผ่
    หมายถึง ก. ทำให้ขยายออกไป, ขยายออกไป, เช่น เผยแผ่พระศาสนา.
  72. เผยแพร่
    หมายถึง ก. โฆษณาให้แพร่หลาย เช่น เผยแพร่ความรู้.
  73. เผล,เผล้
    หมายถึง [เผฺล, เผฺล้] ว. เฉ, ไม่ตรง, ไพล่, เช่น ใส่หมวกเผล้ไปข้างหนึ่ง.
  74. เผลอ
    หมายถึง [เผฺลอ] ก. หลงลืมไปชั่วขณะ เช่น เผลอตัว เผลอสติ, เลินเล่อ, ไม่ระวังตัว, เช่น เผลอไปแผล็บเดียว แมวคาบปลาไปกินเสียแล้ว.
  75. เผลอสติ
    หมายถึง [-สะติ] ก. หลงลืมสติไปชั่วขณะ, ขาดสติไปชั่วขณะ.
  76. เผลอไผล
    หมายถึง [-ไผฺล] ก. หลง ๆ ลืม ๆ, ลืมตัวไปชั่วขณะ, เลินเล่อ.
  77. เผละ
    หมายถึง [เผฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงสาดโคลน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นที่เป็นทาง เช่น โยนเผละ ทิ้งเผละ; ลักษณะเนื้อของคนอ้วนที่กระเพื่อม เรียกว่า เนื้อเผละ; ลักษณะที่ของข้น ๆ ที่ไหลล้นเลอะเทอะ ในคำว่า ไหลเผละ.
  78. เผละผละ
    หมายถึง ว. อ้วนจนเนื้อเหลวไม่มีรูปมีทรง เช่น อ้วนเผละผละ.
  79. เผลาะ
    หมายถึง [เผฺลาะ] ว. เสียงหลุดจากช่องกระบอก.
  80. เผลาะแผละ
    หมายถึง [-แผฺละ] น. ลูกโป่งแก้วที่เด็กเป่าเล่น.
  81. เผลียง
    หมายถึง [เผฺลียง] น. ฝน. (ข. เภฺลียง).
  82. เผล็ด
    หมายถึง [เผฺล็ด] ก. ผลิออก, งอกออก.
  83. เผล่
    หมายถึง [เผฺล่] ว. อาการที่ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ.
  84. เผอิญ
    หมายถึง [ผะเอิน] ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, บังเอิญ, หากให้เป็น, จำเพาะเป็น, ใช้ว่า เพอิญ หรือ พรรเอิญ ก็มี.
  85. เผอิล
    หมายถึง [ผะเอิน] ก. ตกใจ, แตกตื่น. (ข. เผฺอีล).
  86. เผอเรอ
    หมายถึง ว. ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทำ.
  87. เผอเรอกระเชอก้นรั่ว
    หมายถึง (สำ) ว. เลินเล่อ ไม่ระวังดูแลให้รอบคอบ ก่อให้เกิดความเสียหาย.
  88. เผะ
    หมายถึง ว. เผละ.
  89. เผา
    หมายถึง ก. ทำให้ร้อนให้สุกหรือให้ไหม้เป็นต้นด้วยไฟ เช่น เผาเหล็ก เผากล้วย เผาป่า, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้ร้อน เช่น แดดเผา, ทำให้เร่าร้อน เช่น กิเลสเผา, ทำให้หมดไป เช่น เผากิเลส.
  90. เผาขน
    หมายถึง ว. ในระยะประชิด เช่น ยิงเผาขน.
  91. เผาจริง
    หมายถึง (ปาก) ก. จุดไฟเผาศพ, นำดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนใส่ในไฟเผาศพ.
  92. เผาถ่าน
    หมายถึง ก. เผาไม้จนสุกมีสีดำเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง.
  93. เผาหลอก
    หมายถึง (ปาก) ก. นำดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนไปวางใต้หีบศพ เป็นพิธีอย่างหนึ่งในประเพณีเผาศพ ทำก่อนเผาจริง.
  94. เผาหัว
    หมายถึง ก. ใช้เปลวไฟพ่นเผาหัวสูบของเครื่องยนต์ประเภทกึ่งดีเซลซึ่งใช้นํ้ามันขี้โล้เป็นเชื้อเพลิง จนหัวสูบร้อนจัดก่อนติดเครื่อง, เรียกเครื่องยนต์ประเภทนี้ว่า เครื่องยนต์เผาหัว.
  95. เผาอิฐ
    หมายถึง ก. เผาดินซึ่งส่วนมากทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สุกเพื่อใช้ก่อตึกหรือกำแพง เป็นต้น.
  96. เผาะ
    หมายถึง น. ชื่อเห็ดชนิด Astraeus hygrometricus (Pers.) Morgan ในวงศ์ Astraeaceae เกิดใต้ดิน ดอกเห็ดอ่อน เป็นก้อนกลม เมื่อแก่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน เปลือกนอกแข็งแล้วแตกเป็นแฉกคล้ายดาว กลางดอกเห็ดเป็นถุงกลมมีสปอร์สีนํ้าตาล ดอกอ่อนต้มสุกแล้วกินได้, พายัพเรียก เห็ดถอบ.
  97. เผาะ,เผาะ,เผาะ ๆ
    หมายถึง ว. เปราะ; เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักไม้เปราะ เช่น ข้อเท้าข้อมือลั่นเผาะ น้ำตาร่วงเผาะ ๆ.
  98. เผิน ๆ
    หมายถึง ว. ผิว ๆ, ผาด ๆ, ตื้น ๆ, เช่น มองเผิน ๆ แลเผิน ๆ, (มักใช้แก่กิริยาที่ดูหรือมอง).
  99. เผิ้ง
    หมายถึง ดู ผึ้ง ๑.
  100. เผียน
    หมายถึง ก. หมุนไป, ผันไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผัน เป็น ผันเผียน หรือ เผียนผัน.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ผ (หน้าที่ 6)"