พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ผ (หน้าที่ 5)

  1. ผู้ดีแปดสาแหรก
    หมายถึง น. ผู้ดีที่สืบทอดกันลงมาตั้งแต่ต้นวงศ์สกุลคือบิดามารดาของปู่และย่า ๔ บิดามารดาของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘; โดยปริยายหมายถึงคนที่ทำกรีดกรายเอาอย่างผู้ดี. (ดู แปดสาแหรก).
  2. ผู้ดูแลนักเรียน
    หมายถึง น. ข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนในต่างประเทศ.
  3. ผู้ตราส่ง,ผู้ส่ง
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้ทำความตกลงกับผู้ขนส่งเพื่อให้ขนส่งของไป. (อ. consignor).
  4. ผู้ต้องกักขัง
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ที่ถูกกักขังตามหมายกักขังของศาล. (ดู กักขัง ประกอบ).
  5. ผู้ต้องขัง
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก.
  6. ผู้ต้องหา
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล.
  7. ผู้ถูกกักกัน
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ซึ่งถูกศาลพิพากษาให้กักกัน. (ดู กักกัน ประกอบ).
  8. ผู้ทรง
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน.
  9. ผู้นำจับ
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนำความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด.
  10. ผู้น้อย
    หมายถึง น. คนที่มีอายุน้อย, ผู้ที่ถือกันว่ามีสถานภาพด้อยกว่า, คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา.
  11. ผู้บริโภค
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึงผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  12. ผู้บังคับบัญชา
    หมายถึง น. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา.
  13. ผู้บุพการี
    หมายถึง น. ผู้ที่ทำอุปการะมาก่อน ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด; (กฎ) ญาติทางสาโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.
  14. ผู้ปกครอง
    หมายถึง น. ผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองดูแล; (กฎ) บุคคลซึ่งศาลตั้งให้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง.
  15. ผู้ประกอบการ
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่.
  16. ผู้ประกอบธุรกิจ
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย หรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย.
  17. ผู้ประพันธ์เพลง
    หมายถึง น. ผู้แต่งทำนองเพลง, ผู้แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง, นักแต่งเพลง ก็เรียก.
  18. ผู้ป่วย
    หมายถึง น. ผู้ที่ไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่น, คนไข้ ก็ว่า.
  19. ผู้ป่วยนอก
    หมายถึง น. ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, คนไข้นอก ก็ว่า.
  20. ผู้ป่วยใน
    หมายถึง น. ผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล, คนไข้ใน ก็ว่า.
  21. ผู้พิทักษ์
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนเสมือนไร้ความสามารถ.
  22. ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์
    หมายถึง น. ตำรวจ.
  23. ผู้พิพากษา
    หมายถึง (กฎ) น. ข้าราชการตุลาการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี.
  24. ผู้พิพากษาสมทบ
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน.
  25. ผู้พิมพ์
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งจัดการและรับผิดชอบในการพิมพ์.
  26. ผู้รับตราส่ง
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้ซึ่งผู้ตราส่งส่งของไปถึง. (อ. consignee).
  27. ผู้รับบุตรบุญธรรม
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรของบุคคลอื่นมาเป็นบุตรของตน.
  28. ผู้รับประกันภัย
    หมายถึง (กฎ) น. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย.
  29. ผู้รับประโยชน์
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน หรือรับจำนวนเงินใช้ให้ตามสัญญาประกันภัย.
  30. ผู้รับพินัยกรรม
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้มีสิทธิรับมรดกโดยพินัยกรรม.
  31. ผู้รับรอง
    หมายถึง น. ผู้รับประกัน; ผู้ต้อนรับ.
  32. ผู้รับเรือน
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลที่เข้าทำสัญญาคํ้าประกันผู้คํ้าประกันอีกชั้นหนึ่ง.
  33. ผู้รับเหมาก่อสร้าง
    หมายถึง น. บุคคลที่รับจ้างก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โดยวิธีเหมา.
  34. ผู้รั้ง
    หมายถึง (โบ) น. ผู้รักษาการ.
  35. ผู้รู้
    หมายถึง น. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เช่น เรื่องนี้ต้องให้ผู้รู้เป็นคนชี้แจง.
  36. ผู้ร้าย
    หมายถึง น. โจร, อาชญากร; ตัวโกงในการแสดงละครหรือภาพยนตร์เป็นต้น.
  37. ผู้ลากมากดี
    หมายถึง น. ผู้ดี, ผู้มีสกุลสูง.
  38. ผู้วิเศษ
    หมายถึง น. ผู้มีอิทธิฤทธิ์, ผู้รอบรู้เวทมนตร์คาถาอาคม.
  39. ผู้สนับสนุน
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม.
  40. ผู้สร้างสรรค์
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง.
  41. ผู้สำเร็จ
    หมายถึง น. ผู้บำเพ็ญพรตจนมีอิทธิฤทธิ์, ผู้วิเศษ.
  42. ผู้สืบตระกูล
    หมายถึง น. ลูกหลานที่เป็นชายซึ่งสืบวงศ์สกุลโดยไม่ขาดสาย.
  43. ผู้สืบสันดาน
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้สืบสาโลหิตโดยตรงลงมา ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ.
  44. ผู้สื่อข่าว
    หมายถึง น. ผู้รายงานข่าว, ผู้เขียนข่าว, ผู้บอกข่าว, (ใช้เฉพาะทางสื่อสารมวลชน), ผู้ส่งข่าว หรือ นักข่าว ก็เรียก.
  45. ผู้หญิง
    หมายถึง น. หญิง.
  46. ผู้หญิงยิงเรือ
    หมายถึง (สำ) น. ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย).
  47. ผู้หญิงหากิน
    หมายถึง น. หญิงค้าประเวณี.
  48. ผู้หลักผู้ใหญ่
    หมายถึง น. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยังทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิดและความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็นผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.
  49. ผู้อนุบาล
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ.
  50. ผู้อยู่ในอุปการะ
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้ที่ได้อยู่ในความอุปการะของผู้ตายตลอดมาโดยจำเป็นต้องมีอุปการะ และความตายของผู้นั้นทำให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดความอุปการะ.
  51. ผู้อุปการะ
    หมายถึง (กฎ) น. ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมายความถึง (๑) ผู้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาผู้ตายมาแต่เยาว์ฉันบิดามารดากับบุตร หรือ (๒) ผู้ที่ได้อุปการะข้าราชการประจำหรือข้าราชการบำนาญผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ หรือได้อุปการะข้าราชการบำนาญผู้ซึ่งป่วยเจ็บทุพพลภาพหรือวิกลจริตไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ผู้อุปการะตามข้อนี้ต้องเป็นผู้ให้อุปการะประจำเป็นส่วนใหญ่.
  52. ผู้เชี่ยวชาญ
    หมายถึง (กฎ) น. ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในทางศิลปะ วิทยาศาสตร์ การฝีมือ การค้า หรือการงานที่ทำ หรือในกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งความเห็นของผู้นั้นอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็นแห่งคดีแพ่ง ไม่ว่าผู้นั้นจะมีอาชีพในการนั้นหรือไม่ก็ตาม.
  53. ผู้เป็นหุ้นส่วน
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน สิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้, (ปาก) หุ้นส่วน.
  54. ผู้เยาว์
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ.
  55. ผู้เสียหาย
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ตามที่กฎหมายกำหนด.
  56. ผู้เอาประกันภัย
    หมายถึง (กฎ) น. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยตามสัญญาประกันภัย.
  57. ผู้แทน
    หมายถึง น. ผู้ที่ทำหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของบุคคลหน่วยราชการ หรือหน่วยงาน; (ปาก) ผู้แทนราษฎร.
  58. ผู้แทนราษฎร
    หมายถึง น. บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทำหน้าที่นิติบัญญัติในสภา, (ปาก) ผู้แทน.
  59. ผู้แทนโดยชอบธรรม
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คำอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง; บุคคลซึ่งตามกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรมบางอย่างซึ่งผู้เยาว์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำเองโดยลำพัง.
  60. ผู้โฆษณา
    หมายถึง (กฎ) น. บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสิ่งพิมพ์และจัดให้สิ่งพิมพ์นั้นแพร่หลายด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยการขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจก และไม่ว่าการนั้นจะเป็นการให้เปล่าหรือไม่.
  61. ผู้โดยสาร
    หมายถึง น. ผู้ใช้บริการยานพาหนะเช่นรถ เรือ โดยเสียค่าบริการ; ผู้อาศัยไปด้วย.
  62. ผู้ใหญ่
    หมายถึง น. คนที่มีอายุมาก, บุคคลที่มีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์แล้ว, คนที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา.
  63. ผู้ใหญ่บ้าน
    หมายถึง (กฎ) น. ตำแหน่งผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปกครองบรรดาราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน.
  64. ผู้ให้กำเนิด
    หมายถึง น. พ่อแม่.
  65. ผู้ไทย
    หมายถึง น. ชนชาติไทยสาขาหนึ่งแถวสิบสองจุไทย.
  66. ผเดิน
    หมายถึง ก. เดิน, ใช้ บันเดิน ก็มี.
  67. ผ็อย,ผ็อย ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ร่วงหรือหล่นไปโดยเร็ว เช่น ฝนตกผ็อย ๆ, อาการที่หลับไปโดยเร็ว เช่น หลับผ็อย, ผล็อย หรือ ผล็อย ๆ ก็ว่า.
  68. ผ่อง
    หมายถึง ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง.
  69. ผ่อง
    หมายถึง ก. ออกเสียงร้องว่า “ผ่อง” เมื่อเปิดไพ่ขึ้นมาเข้าตอง เป็นคำใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือจีน.
  70. ผ่องแผ้ว
    หมายถึง ว. เปล่งปลั่ง, บริสุทธิ์, สะอาดหมดจด, เช่น จิตใจผ่องแผ้ว.
  71. ผ่องใส
    หมายถึง ว. สุกใส, บริสุทธิ์, เช่น จิตใจผ่องใส, แจ่มใส, มีน้ำมีนวล, เช่น หน้าตาผ่องใส.
  72. ผ่อน
    หมายถึง ก. ทำให้หย่อนหรือคลายความตึง เช่น ผ่อนสายป่านว่าว ผ่อนหนี้ ผ่อนอารมณ์.
  73. ผ่อนคลาย
    หมายถึง ก. ลดความตึงเครียด เช่น เหตุการณ์ผ่อนคลาย.
  74. ผ่อนชำระ
    หมายถึง ก. ทยอยจ่ายเป็นงวด ๆ.
  75. ผ่อนปรน
    หมายถึง ก. แบ่งหนักให้เป็นเบา, เอาไปทีละน้อย, ขยับขยายให้เบาบางลง.
  76. ผ่อนผัน
    หมายถึง ก. ลดหย่อนตาม, ลดหย่อนให้.
  77. ผ่อนสั้นผ่อนยาว
    หมายถึง (สำ) ก. ประนีประนอมกัน, อะลุ้มอล่วยกัน, ผ่อนผันสั้นยาว ก็ว่า.
  78. ผ่อนส่ง
    หมายถึง ก. ผ่อนชำระ เช่น ผ่อนส่งบ้าน; (ปาก) ค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย เช่น ตายแบบผ่อนส่ง.
  79. ผ่อนหนักเป็นเบา
    หมายถึง (สำ) ก. ลดความรุนแรงลง, ลดหย่อนลง.
  80. ผ่อนหนี้,ผ่อนหนี้ผ่อนสิน
    หมายถึง ก. ผ่อนชำระหนี้สินเป็นงวด ๆ.
  81. ผ่อย
    หมายถึง ก. ม่อย เช่น ลมจับพับผ่อยพ้น นับครั้งคราวหลาย. (นิทราชาคริต).
  82. ผ่า
    หมายถึง ก. ทำให้แยกออกจากกันตามยาวด้วยมีดหรือขวานอย่างผ่าฟืน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่ทำให้แยกออก เช่น ผ่าฝี ผ่าปากม้า; แหวกเข้าไป เช่น ผ่าเข้าไป; ฟาดฟันลงไป; (ปาก) ทำสิ่งที่ไม่น่าจะทำหรือในลักษณะที่ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เช่น วิ่งผ่าเข้าไปกลางวง แทนที่จะเล่นกันอยู่ข้างล่าง ผ่าขึ้นไปอยู่บนยอดไม้.
  83. ผ่าง ๆ
    หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น.
  84. ผ่าตัด
    หมายถึง ก. ผ่าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแล้วตัดเอาส่วนที่เสียออกเพื่อรักษาโรคตามหลักศัลยกรรมเป็นต้น.
  85. ผ่าน
    หมายถึง ก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่านไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูงเกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลาผ่านไป. ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้าประกอบหน้านามบางคำหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.
  86. ผ่าปากม้า
    หมายถึง ก. เอาบังเหียนซึ่งทำด้วยเหล็กหรือไม้ใส่เข้าไปในปากม้า.
  87. ผ่าย
    หมายถึง (ปาก) น. ข้าง.
  88. ผ่ายผอม
    หมายถึง ว. ผอมไป.
  89. ผ่าว
    หมายถึง ว. อาการที่รู้สึกร้อนแรงเมื่อมีไอร้อนมากระทบ เช่นตัวร้อนผ่าว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่รู้สึกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อกร้อนผ่าว หน้าร้อนผ่าว.
  90. ผ่าหมาก
    หมายถึง ว. เรียกอาการเตะเข้าหว่างขาของคู่ต่อสู้ว่า เตะผ่าหมาก.
  91. ผ่าเผย
    หมายถึง ว. องอาจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ สง่า เป็น สง่าผ่าเผย.
  92. ผ่าเหล่า
    หมายถึง ว. มีความประพฤติผิดไปจากเทือกเถาเหล่ากอ (ใช้ในทางไม่ดี), ผ่าเหล่าผ่ากอ ก็ว่า.
  93. ผ้า
    หมายถึง น. สิ่งที่ทำด้วยเยื่อใยเช่น ฝ้าย ไหม ขนสัตว์ โดยวิธีทอหรืออัดให้เป็นผืน, มักเรียกตามลักษณะของสิ่งที่ทำ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ หรือตามลักษณะที่ใช้ เช่น ผ้ากราบ ผ้าอาบ ผ้าอ้อม.
  94. ผ้ากฐิน
    หมายถึง น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุเฉพาะกฐินกาล.
  95. ผ้ากราบ
    หมายถึง น. ผ้าที่ภิกษุสามเณรใช้รองในเวลากราบพระ ซึ่งกลายมาจากผ้าสันถัต, (โบ) กราบพระ ก็ว่า.
  96. ผ้าขนหนู
    หมายถึง น. ผ้าที่มีลักษณะเป็นขนขด ใช้ห่มหรือเช็ดตัวเป็นต้น.
  97. ผ้าขาวม้า
    หมายถึง น. ผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีลายตาหมากรุก ใช้ผลัดอาบน้ำหรือเคียนพุงเป็นต้น, (ปาก) ผ้าขะม้า.
  98. ผ้าขี้ริ้ว
    หมายถึง น. ชื่อกระเพาะอย่างหนึ่งของสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นวัว ควาย เป็นต้น; ผ้าเก่าขาดที่ใช้เช็ดถูเป็นต้น.
  99. ผ้าขี้ริ้ว
    หมายถึง น. ชื่องูทะเลชนิด Acrochordus granulatus ในวงศ์ Colubridae ตัวสีเทาลายเทาเข้มปนนํ้าเงิน นุ่มนิ่มเหมือนกองผ้าขี้ริ้ว อาศัยตามทะเลโคลนมากกว่าทะเลนํ้าใส ไม่มีพิษ.
  100. ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
    หมายถึง (สำ) น. คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ผ (หน้าที่ 5)"