พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 4)

  1. บังตะวัน
    หมายถึง น. เครื่องบังแดดเช่นเดียวกับบังสูรย์. (สิบสองเดือน).
  2. บังตา
    หมายถึง น. เครื่องบังประตูทำด้วยไม้หรือกระจกเป็นต้นติดอยู่กับกรอบประตูเหนือระดับตาเล็กน้อย ผลักเปิดปิดได้, ถ้าเป็นเครื่องบังหน้าต่างในระดับตา มักทำด้วยผ้า เรียกว่า ม่านบังตา; เครื่องบังตาม้าเพื่อไม่ให้เห็นข้าง ๆ.
  3. บังฟัน
    หมายถึง ก. ใช้เวทมนตร์ไปทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีเอาดาบเป็นต้นฟันสิ่งที่สมมุติเป็นตัวผู้ที่ตนประสงค์จะทำร้าย เพื่อให้เกิดผลเป็นทำนองเดียวกันแก่ผู้นั้น.
  4. บังมืด
    หมายถึง ก. บังแสงสว่างทำให้มืดไป เช่น อย่ายืนบังมืด มองไม่เห็น.
  5. บังวาย
    หมายถึง ก. เสื่อมเสีย, เสียหาย, เช่น ทำกลบังวาย. (สามดวง), บังวายสวาท. (กฤษณา).
  6. บังสาด
    หมายถึง น. เพิงที่ต่อชายคาสำหรับกันฝนสาด, กันสาด ก็เรียก.
  7. บังสุกุล
    หมายถึง น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).
  8. บังสุกูลิก
    หมายถึง (แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเครื่องนุ่งห่ม คือไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
  9. บังสูรย์
    หมายถึง น. เครื่องสูงอย่างหนึ่ง สำหรับใช้บังแดดในการพิธีแห่ รูปคล้ายบังแทรก.
  10. บังหน้า
    หมายถึง ก. นำชื่อบุคคลเป็นต้นมาอ้างเพื่อประโยชน์ตนโดยเจตนาให้ผู้อื่นหลงผิด; ทำกิจการอย่างหนึ่งเพื่ออำพรางกิจการอีกอย่างหนึ่ง.
  11. บังหวน,บังหวนควัน
    หมายถึง ก. ทำให้ควันหวนตลบขึ้น.
  12. บังอร
    หมายถึง น. นาง; เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น เมื่อทอดพระเนตรเห็นสองบังอรอรรคปิโยรส.
  13. บังอวจ
    หมายถึง [-อวด] น. หน้าต่าง. (ข. บงฺอัวจ).
  14. บังอาจ
    หมายถึง ก. กล้าแสดงกล้าทำด้วยทะนงใจหรือฮึกเหิม โดยไม่ยำเกรงหรือไม่รู้จักสูงตํ่า, กล้าละเมิดกฎหมาย.
  15. บังอิง
    หมายถึง น. พนัก. ก. อิง, พิง.
  16. บังอูร
    หมายถึง [บังอูน] ก. ตก, ตกลง; ยอบลง. (ข. บงฺอุร ว่า ฝนตก).
  17. บังเกิด
    หมายถึง ก. เกิด เช่น บังเกิดอุบัติเหตุ บังเกิดลมพายุ, ทำให้เกิด เช่น แม่บังเกิดเกล้า.
  18. บังเงา
    หมายถึง ว. เรียกหญิงหากินที่ในเวลากลางคืนมักยืนแอบอยู่ตามเงามืดที่แสงไฟส่องไปไม่ถึงว่า นางบังเงา.
  19. บังเพลิง
    หมายถึง น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีกำบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง.
  20. บังเวียน
    หมายถึง ก. หมุนรอบ, เวียนรอบ.
  21. บังเหตุ
    หมายถึง (โบ) ก. ประมาท เช่น บังเหตุดูถูก. (ข. บฺรเหส); ทำให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา. (ขุนช้างขุนแผน).
  22. บังเหิน
    หมายถึง ก. เหาะ, บิน.
  23. บังเหียน
    หมายถึง น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทำด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสำหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อำนาจบังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
  24. บังเอิญ
    หมายถึง ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, เผอิญ.
  25. บังแทรก
    หมายถึง [-แซก] น. เครื่องสูงอย่างหนึ่งสำหรับใช้ในริ้วขบวนพิธีแห่, คู่กับ ทานตะวัน อยู่ระหว่างฉัตร.
  26. บังโกรยตัวผู้,บังโกรยตัวเมีย
    หมายถึง [-โกฺรย-] น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
  27. บังโกลน,บังโคลน
    หมายถึง [-โกฺลน, -โคฺลน] น. เครื่องบังเหนือล้อรถ ป้องกันโคลนมิให้กระเด็นขึ้นมาเปื้อนรถ.
  28. บังใบ
    หมายถึง น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสำหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึกลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนำมาประกอบเป็นวงกบหรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนำมาประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
  29. บังใบ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้ขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร.
  30. บังไพร
    หมายถึง ก. เสกกิ่งไม้ถือบังตัวให้สัตว์เห็นเป็นป่าไม่เห็นตัวคน ใช้ในการคล้องช้างเป็นต้น.
  31. บัญจก
    หมายถึง [บันจก] น. หมวด ๕, ประชุม ๕, เช่น ขันธบัญจก. (ป. ปญฺจก).
  32. บัญจรงค์
    หมายถึง [บันจะรง] (แบบ) น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึกวัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).
  33. บัญชร
    หมายถึง [บันชอน] น. กรง, ซี่กรง; หน้าต่าง. (ป., ส. ปญฺชร).
  34. บัญชา
    หมายถึง น. คำสั่งของผู้มีอำนาจบังคับในการปกครอง. ก. สั่งการตามอำนาจหน้าที่.
  35. บัญชาการ
    หมายถึง ก. สั่งการงานตามอำนาจหน้าที่.
  36. บัญชี
    หมายถึง น. สมุดหรือกระดาษสำหรับจดรายการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน เช่น บัญชีเงินสด บัญชีพัสดุ บัญชีพล บัญชีเรียกชื่อ. (ส. ปญฺชิ).
  37. บัญชีกระแสรายวัน
    หมายถึง น. บัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งผู้ฝากสามารถถอนเงินได้ทุกเวลา.
  38. บัญชีเดินสะพัด
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล ๒ คนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปหรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่ง ให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้ง ๒ นั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค.
  39. บัญญัติ
    หมายถึง [บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).
  40. บัญญัติไตรยางศ์
    หมายถึง น. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.
  41. บัญหา
    หมายถึง น. ข้อที่ต้องคิดต้องแก้, เรื่องที่ต้องปรึกษาหารือ. (ป. ปญฺห).
  42. บัฏ
    หมายถึง น. ผืนผ้า, แผ่น. (ป., ส. ปฏ).
  43. บัฐยาพฤต
    หมายถึง [บัดถะหฺยาพฺรึด] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่งซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, ปัฐยาวัต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ส.; ป. ปฐฺยาวตฺต).
  44. บัณฑร,บัณฑร-
    หมายถึง [บันทอน, บันทะระ-] ว. ขาวเหลือง. (ป. ปณฺฑุ; ส. ปาณฺฑร). (แผลงมาจาก บัณฑุ).
  45. บัณฑรนาค
    หมายถึง น. ช้างเผือก.
  46. บัณฑรหัตถี
    หมายถึง น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวดังเขาไกรลาส.
  47. บัณฑิต
    หมายถึง [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกำเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  48. บัณฑิตย์
    หมายถึง [บันดิด] น. ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย; ป. ปณฺฑิจฺจ).
  49. บัณฑุ
    หมายถึง [บันดุ] ว. เหลืองอ่อน, ขาวเหลือง, ซีด. น. ช้างเผือก. (ป. ปณฺฑุ; ส. ปาณฺฑุ).
  50. บัณฑุกัมพล
    หมายถึง น. ผ้าขนสัตว์สีเหลือง. (ป. ปณฺฑุกมฺพล).
  51. บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
    หมายถึง น. แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิตของพระอินทร์.
  52. บัณฑุนาค
    หมายถึง น. ช้างเผือก. (ส. ปาณฺฑุนาค).
  53. บัณฑุโรค
    หมายถึง (แบบ) น. โรคผอมเหลือง, โรคเพื่อดี. (ป. ปณฺฑุโรค).
  54. บัณฑูร
    หมายถึง [บันทูน] (ราชา) น. คำสั่ง, คำสั่งกรมพระราชวังบวร.
  55. บัณณาส
    หมายถึง [บันนาด] ว. ห้าสิบ. (ป. ปณฺณาส).
  56. บัณรส
    หมายถึง [บันนะรด] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
  57. บัณรสี
    หมายถึง [บันนะระสี] ว. ที่ ๑๕, ใช้กับคำว่า ดิถี เช่น บัณรสีดิถี = วัน ๑๕ คํ่า. (ป. ปณฺณรสี).
  58. บัณเฑาะก์
    หมายถึง [บันเดาะ] น. กะเทย. (ป., ส. ปณฺฑก อภิธาน ว่า กะเทย, ชิลเดอร์ และมอร์เนียร์ วิลเลียม ว่า ขันที).
  59. บัณเฑาะว์
    หมายถึง [บันเดาะ] น. กลองสองหน้าขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีหลักอยู่ตอนบน ผูกตุ้มห้อยลงมาทางหน้ากลอง ใช้ไกวให้ตุ้มแกว่งกระทบหน้ากลองทั้ง ๒ ข้าง. (ป. ปณว; ส. ปฺรณว).
  60. บัด
    หมายถึง น. เวลา, เมื่อ, ครั้ง, คราว; ทันใด.
  61. บัดกรี
    หมายถึง [บัดกฺรี] ก. เชื่อมหรือประสานโลหะให้ติดกัน.
  62. บัดซบ
    หมายถึง ว. สิ้นดี, มักใช้ประกอบกับคำ โง่ เซ่อ หรือ เซอะ เช่น โง่บัดซบ.
  63. บัดดล
    หมายถึง ว. ทันใดนั้น.
  64. บัดนั้น
    หมายถึง ว. คำขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่ไม่ใช่ตัวเจ้าหรือมิได้เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  65. บัดนี้
    หมายถึง ว. ขณะนี้, เดี๋ยวนี้, เช่น บัดนี้ได้เสนอเรื่องมาให้พิจารณาแล้ว.
  66. บัดบง
    หมายถึง ก. สูญหาย. (ข. บาต่ ว่า หาย, บง่ ว่า เสียไป).
  67. บัดสี
    หมายถึง [-ถะเหฺลิง] ว. น่าอับอายขายหน้า เป็นที่น่ารังเกียจ.
  68. บัดสีบัดเถลิง
    หมายถึง [-ถะเหฺลิง] ว. น่าอับอายขายหน้า เป็นที่น่ารังเกียจ.
  69. บัดเดี๋ยว
    หมายถึง ว. ประเดี๋ยว.
  70. บัดแบ่ง
    หมายถึง น. กึ่งเวลา.
  71. บัดแมล่ง
    หมายถึง [-มะแล่ง] น. เวลาบ่ายเย็น.
  72. บัดใจ
    หมายถึง ว. ประเดี๋ยว, ทันใด.
  73. บัตร
    หมายถึง [บัด] น. แผ่นเอกสารแสดงสิทธิของผู้ใช้เป็นต้น มักทำด้วยกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น บัตรประจำตัว บัตรเลือกตั้ง บัตรสมนาคุณ; ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, ถ้าทำเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ; ใบไม้, กลีบดอกไม้ เช่น ปทุมบัตร; ขนปีก, ปีก เช่น หากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง. (สมุทรโฆษ). (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).
  74. บัตรกรุงพาลี
    หมายถึง น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, บัตรพระภูมิ ก็เรียก, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี.
  75. บัตรธนาคาร
    หมายถึง (กฎ) น. บัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกใช้เป็นเงินตรา.
  76. บัตรพลี
    หมายถึง [บัดพะลี] น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, เรียกเต็มว่า บัตรกรุงพาลี, ถ้าทำเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้ามีเสาธงประกอบตั้งแต่ ๔ เสาขึ้นไป เรียกว่า บัตรพระเกตุ, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มียอด เรียกว่า บัตรนพเคราะห์.
  77. บัตรสนเท่ห์
    หมายถึง น. จดหมายฟ้องหรือกล่าวโทษผู้อื่นโดยมิได้ลงชื่อหรือไม่ลงชื่อจริงของผู้เขียน.
  78. บัตรสินเชื่อ
    หมายถึง น. บัตรเครดิต.
  79. บัตรหมาย
    หมายถึง น. หนังสือเกณฑ์ในทางราชการ.
  80. บัตรเครดิต
    หมายถึง น. บัตรซึ่งสถาบันการเงินหรือธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก เพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการจากสถานการค้าหรือธุรกิจที่รับบัตรนั้นแทนการชำระด้วยเงินสด. (อ. credit card).
  81. บัตรเทวดา
    หมายถึง น. เรียกสิ่งที่ประกอบด้วยก้านกล้วย ๔ ก้านตั้งเป็นเสาทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียวตรงขึ้นไปแล้วรวบยอดปักแผ่นรูปเทวดาที่จะสังเวย ระหว่างร่วมในเสาทำกระบะกาบกล้วยเรียงขึ้นไปเป็นชั้น ๆ สำหรับวางเครื่องสังเวยเทวดา, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตร ก็มี.
  82. บัทม์
    หมายถึง น. ปัทม์. (ส. ปทฺม; ป. ปทุม). (ดู บัว).
  83. บัน
    หมายถึง ก. ผัน, ผิน.
  84. บัน
    หมายถึง ก. เบา, น้อย, เช่น มัวเมาไม่บัน. (ดึกดำบรรพ์).
  85. บัน
    หมายถึง น. จั่ว (หน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร เรียกว่า หน้าบัน).
  86. บันกวด
    หมายถึง (โบ) ก. รัด, ผูก, เช่น กรรณบันกวดพู่แก้ว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  87. บันจวบ
    หมายถึง ก. ตกแต่ง.
  88. บันจอย
    หมายถึง (โบ) ก. บรรจง.
  89. บันดล
    หมายถึง ก. ทำให้บังเกิดขึ้น.
  90. บันดาล
    หมายถึง ก. ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญบันดาล บันดาลโทสะ.
  91. บันทึก
    หมายถึง ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือถ่ายทำไว้เพื่อช่วยความจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงานการประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทำให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นำมาจดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; (กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย.
  92. บันทึง
    หมายถึง ก. บ่นถึง, คอย. (ช.).
  93. บันยะบันยัง
    หมายถึง ว. พอสัณฐานประมาณ, พอสมควร.
  94. บันลือ
    หมายถึง ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
  95. บันเดิน
    หมายถึง ก. ทำให้เดิน.
  96. บันเทิง
    หมายถึง ก. เบิกบาน, รื่นเริง; ทำให้รู้สึกสนุก เช่น รายการบันเทิง, บำเทิง หรือ ประเทิง ก็ว่า.
  97. บันเทิงคดี
    หมายถึง น. เรื่องที่เขียนหรือแต่งขึ้นโดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน.
  98. บันเบา
    หมายถึง ว. น้อย (โดยมากมักใช้ในทางปฏิเสธหรือเป็นเชิงคำถาม) เช่น ไม่บันเบา เรื่องนี้น่าสนใจบันเบาไปหรือ.
  99. บันเหิน
    หมายถึง ก. เหาะไป, บินไป.
  100. บันแถลง
    หมายถึง [-ถะแหฺลง] น. หน้าบันขนาดเล็ก ใช้ประดับเป็นกระจัง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 4)"