พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 3)

  1. บริรม
    หมายถึง [บอริรม] ก. ชอบใจ, ยินดี. (ส. ปริรม).
  2. บริรักษ์
    หมายถึง [บอริรัก] ก. ดูแล, รักษา, ปกครอง. (ส. ปริรกฺษ; ป. ปริรกฺข).
  3. บริราช
    หมายถึง [บอริราด] ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. (ส. ปริราช).
  4. บริวรรต
    หมายถึง [บอริวัด] ก. ปริวรรต. (ส. ปริวรฺต).
  5. บริวาร
    หมายถึง [บอริวาน] น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็นประธาน เช่น บริวารกฐิน. ว. ที่แวดล้อม เช่น ดาวบริวาร. (ป., ส. ปริวาร).
  6. บริวาส
    หมายถึง [บอริวาด] น. ปริวาส. (ป., ส. ปริวาส).
  7. บริษการ
    หมายถึง [บอริสะกาน] (แบบ) น. บริขาร. (ส. ปริษฺการ; ป. ปริกฺขาร).
  8. บริษัท
    หมายถึง [บอริสัด] น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไรต้องดูบริษัทเสียก่อน. (ส. ปริษทฺ; ป. ปริสา).
  9. บริษัทจำกัด
    หมายถึง (กฎ) น. บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  10. บริษัทบริวาร
    หมายถึง น. คนแวดล้อม เช่น เขามีบริษัทบริวารมาก.
  11. บริษัทมหาชนจำกัด
    หมายถึง (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  12. บริษัทหลักทรัพย์
    หมายถึง (กฎ) น. บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ การจัดการกองทุนรวม.
  13. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
    หมายถึง (กฎ) น. บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อันได้แก่ การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าปรกติ หรือประกอบธุรกิจการรับซื้อฝาก หรือกิจการอื่นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่กฎหมายกำหนด.
  14. บริษัทเงินทุน
    หมายถึง (กฎ) น. บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุน และใช้เงินทุนนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การพาณิชย์ การพัฒนา การเคหะ.
  15. บริสชน
    หมายถึง [บอริสะชน] น. บริวาร.
  16. บริสุทธิ์
    หมายถึง [บอริสุด] ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตำหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์; เรียกสาวพรหมจารีว่า สาวบริสุทธิ์. น. แร่ชนิดหนึ่ง ในจำพวกนวโลหะ. (ป. ปริสุทฺธิ).
  17. บริสุทธิ์ใจ
    หมายถึง ว. มีนํ้าใสใจจริง, มีใจใสสะอาด, เช่น ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ.
  18. บริหาร
    หมายถึง [บอริหาน] ก. ออกกำลัง เช่น บริหารร่างกาย; ปกครอง เช่น บริหารส่วนท้องถิ่น; ดำเนินการ, จัดการ, เช่น บริหารธุรกิจ; กล่าวแก้. น. ดำรัสสั่ง เช่น ราชบริหาร, คำแถลงไข เช่น พระพุทธบริหาร. (ป., ส. ปริหาร).
  19. บริหาส
    หมายถึง [บอริหาด] (แบบ) ก. หัวเราะ, ร่าเริง, เยาะเย้ย. (ป., ส. ปริหาส).
  20. บริเฉท,บริเฉท-
    หมายถึง [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกำหนด; ข้อความที่รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กำหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).
  21. บริเฉทกาล
    หมายถึง [บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน] น. เวลาที่มีกำหนดลง.
  22. บริเวณ
    หมายถึง [บอริเวน] น. พื้นที่ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่น บริเวณบ้าน บริเวณโบสถ์ บริเวณวัด บริเวณสนามหลวง. (ป., ส. ปริเวณ).
  23. บริโภค
    หมายถึง [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
  24. บริโภคเจดีย์
    หมายถึง [บอริโพกคะ-] น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของพระพุทธเจ้า.
  25. บฤงคพ
    หมายถึง [บฺริงคบ] (โบ; กลอน) น. ผู้ประเสริฐ, หัวหน้า. (ป., ส. ปุงฺคว).
  26. บล็อก
    หมายถึง น. แม่พิมพ์ทำด้วยแผ่นโลหะ ใช้ในกิจการพิมพ์. (อ. block).
  27. บวก
    หมายถึง ก. เอาจำนวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนให้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจำนวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไปในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก; ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวนบวก. น. เรียกเครื่องหมายคณิตศาสตร์รูปดังนี้ + ว่า เครื่องหมายบวก.
  28. บวง
    หมายถึง ก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย. (นิ. นรินทร์), มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บำบวง.
  29. บวงสรวง
    หมายถึง [-สวง] ก. บูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น.
  30. บวช
    หมายถึง ก. ถือเพศเป็นภิกษุสามเณรหรือนักพรตอื่น ๆ.
  31. บวช
    หมายถึง (ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทำอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้าบวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
  32. บวชชี
    หมายถึง ก. ถือเพศเป็นชี. น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยกล้วย ต้มกับกะทิ.
  33. บวน
    หมายถึง น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้มผัดกับเครื่องแกง มีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น ต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้บางชนิดมีใบมะตูม มะขวิด เป็นต้น ทำให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ มีรสหวาน เค็ม.
  34. บวบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Luffa วงศ์ Cucurbitaceae ดอกสีเหลือง ผลกินได้ เช่น บวบเหลี่ยม (L. acutangula L.) บวบกลม หรือ บวบหอม (L. cylindrica L.).
  35. บวบขม
    หมายถึง ดู นมพิจิตร (๒).
  36. บวม
    หมายถึง ก. อาการที่เนื้ออูมหรือนูนขึ้นเพราะอักเสบหรือฟกชํ้าเป็นต้น.
  37. บวมน้ำ
    หมายถึง น. ภาวะที่มีนํ้าระหว่างเซลล์หรือภายในเซลล์มากเกินปรกติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง, โดยทั่วไปหมายถึงภาวะที่มีนํ้าอยู่ใต้ผิวหนังมากเกินปรกติ และอาจพบได้ในอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด. (อ. edema, oedema).
  38. บวร,บวร-
    หมายถึง [บอวอน, บอวอระ-] (แบบ) ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นำหน้าคำนามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวง เช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).
  39. บวรโตฎก
    หมายถึง [บอวอระโตดก] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
  40. บหลิ่ม
    หมายถึง [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์ ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่ม มะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.
  41. บอ
    หมายถึง ว. เกือบบ้า, ใกล้จะเป็นบ้า, ครึ่งบ้าครึ่งดี.
  42. บอก
    หมายถึง น. ปล้องไม้ไผ่มีข้อขังข้างก้นสำหรับใส่นํ้าเป็นต้น, มักใช้ว่า กระบอก.
  43. บอก
    หมายถึง ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  44. บอกกล่าว
    หมายถึง ก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้.
  45. บอกคำบอก
    หมายถึง ก. บอกหรืออ่านหนังสือให้เขียนตาม.
  46. บอกบท
    หมายถึง ก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
  47. บอกบัญชี
    หมายถึง (โบ) ก. บอกศาลา.
  48. บอกบุญ
    หมายถึง ก. บอกชักชวนให้ทำบุญเช่นในการสร้างโบสถ์ทอดกฐิน.
  49. บอกปัด,บอกเปิด
    หมายถึง ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.
  50. บอกยี่ห้อ
    หมายถึง (ปาก) ก. แสดงกิริยาท่าทีหรือคำพูดให้รู้ว่ามีลักษณะนิสัยใจคอหรือชาติตระกูลเป็นอย่างไรเป็นต้น.
  51. บอกวัตร
    หมายถึง (โบ) ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว.
  52. บอกศาลา
    หมายถึง ก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป.
  53. บอกหนทาง
    หมายถึง ก. เตือนสติให้ระลึกถึงคุณพระในขณะใกล้จะตาย.
  54. บอกหนังสือสังฆราช
    หมายถึง (สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว, สอนหนังสือสังฆราช ก็ว่า.
  55. บอกหัว
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กะโหลกหัว.
  56. บอกเล่าเก้าสิบ
    หมายถึง (สำ) ก. บอกกล่าวให้รู้.
  57. บอกแขก
    หมายถึง ก. บอกเพื่อนบ้านให้มาช่วยกันทำงาน เช่น บอกแขกเกี่ยวข้าว.
  58. บอกใบ้
    หมายถึง ก. แนะด้วยอุบาย, บอกเป็นเลศนัย.
  59. บอง
    หมายถึง น. เสือบอง. (ดู แมวป่า).
  60. บอง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระบอง.
  61. บองหลา
    หมายถึง ดู จงอาง.
  62. บอด
    หมายถึง ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็นวงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียกนมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
  63. บอดสี
    หมายถึง น. เรียกตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่ ว่า ตาบอดสี.
  64. บอน
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.) Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทำให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุกซุกปากบอน.
  65. บอนลายกระหนก
    หมายถึง ดู กระหนกนารี.
  66. บอบ
    หมายถึง ว. อ่อนเปลี้ยหรือหมดแรงเพราะถูกทุบตีอย่างรุนแรง หรือเจ็บป่วยอย่างหนัก หรือออกกำลังมากเกินไปเป็นต้น.
  67. บอบช้ำ
    หมายถึง ว. ฟกชํ้าและระบม.
  68. บอบบาง
    หมายถึง ว. อ้อนแอ้น, ไม่แน่นหนาหรือไม่คงทน.
  69. บอบแบบ
    หมายถึง ว. อ่อนป้อแป้.
  70. บอระมาน
    หมายถึง (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
  71. บอระเพ็ด
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทำยาได้.
  72. บอล
    หมายถึง น. ลูกกลมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, ลูกบอล ก็เรียก. (อ. ball); เรียกงานชุมนุมทางสังคมที่มีลีลาศ รำวง เป็นหลักสำคัญ ว่า งานบอล.
  73. บอลลูน
    หมายถึง ดู บัลลูน.
  74. บะหมี่
    หมายถึง น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
  75. บัก
    หมายถึง (ถิ่น) น. ของลับผู้ชาย.
  76. บัก
    หมายถึง (ถิ่น) น. คำเรียกชายที่เสมอกันหรือตํ่ากว่า ตรงกับคำว่า อ้าย.
  77. บักอาน
    หมายถึง (ปาก) ว. อ่อนเปลี้ย, บอบชํ้า.
  78. บักโกรก
    หมายถึง [-โกฺรก] (ปาก) ว. ซูบผอมเพราะหักโหมกำลังเกินไป.
  79. บัคเตรี
    หมายถึง น. พืชชั้นตํ่าเซลล์เดียว ไม่มีผนังห่อหุ้มนิวเคลียส ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีรูปร่างกลม เป็นท่อน โค้ง หรือเป็นเกลียว, แบคทีเรีย ก็เรียก. (อ. bacteria).
  80. บัง
    หมายถึง คำพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอำ เช่น บำเพ็ญ.
  81. บัง
    หมายถึง ก. กัน กั้น หรือปิดไม่ให้เห็น ไม่ให้ผ่าน ไม่ให้โดน เช่น บังแดด บังฝน บังลม ยืนบัง.
  82. บังกะโล
    หมายถึง น. บ้านยกพื้นชั้นเดียว มีระเบียงกว้าง. (ฮ. บงฺคลา; อ. bungalow).
  83. บังกัด
    หมายถึง ก. ปิดบัง, อำพราง.
  84. บังคน
    หมายถึง (ราชา) น. อุจจาระหรือปัสสาวะ.
  85. บังคนหนัก
    หมายถึง (ราชา) น. อุจจาระ, ใช้ว่า พระบังคนหนัก.
  86. บังคนเบา
    หมายถึง (ราชา) น. ปัสสาวะ, ใช้ว่า พระบังคนเบา.
  87. บังคม
    หมายถึง (ราชา) ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย, ใช้ว่า ถวายบังคม. (ข.).
  88. บังคล
    หมายถึง ก. มอบให้ เช่น เป็นบังคลแก่ท่านแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ข. ปรฺคล ว่า มอบให้).
  89. บังควร
    หมายถึง ว. ควรอย่างยิ่ง, เหมาะอย่างยิ่ง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่บังควร หาเป็นการบังควรไม่.
  90. บังความ
    หมายถึง ก. ตั้งใจปกปิดเอาไว้.
  91. บังคับ
    หมายถึง น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อำนาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อำนาจสั่งให้ทำหรือให้ปฏิบัติ; ให้จำต้องทำ เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  92. บังคับการ
    หมายถึง ก. รับผิดชอบในการควบคุมและสั่งการ, เรียกผู้มีอำนาจเช่นนั้นว่า ผู้บังคับการ.
  93. บังคับครุ
    หมายถึง น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  94. บังคับบัญชา
    หมายถึง ก. มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่. น. อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่, เรียกผู้มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.
  95. บังคับลหุ
    หมายถึง น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.
  96. บังคับสัมผัส
    หมายถึง น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำคล้องจองกัน มีหลายชนิด คือ สัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสอักษร.
  97. บังคับเอก
    หมายถึง น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้.
  98. บังคับโท
    หมายถึง น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
  99. บังคับใจ
    หมายถึง ก. ห้ามใจ, ข่มใจ, อดกลั้น; ใช้อำนาจบังคับให้เขาต้องฝืนใจทำ.
  100. บังคัล
    หมายถึง ก. เฝ้า. (ข.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 3)"