พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 2)

  1. บรรณานุกรม
    หมายถึง [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  2. บรรณารักษศาสตร์
    หมายถึง [บันนารักสะสาด, บันนารักสาด] น. วิชาที่ว่าด้วยการบริหารห้องสมุด.
  3. บรรณารักษ์
    หมายถึง [บันนารัก] น. บุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานในห้องสมุด.
  4. บรรดา
    หมายถึง [บัน-] ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดามนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า.
  5. บรรดาก
    หมายถึง [บันดาก] (แบบ) น. ธง, ธงผืนผ้า. (ป. ปฏาก; ส. ปตากา).
  6. บรรดามี
    หมายถึง (ปาก) ว. ที่มีอยู่ทั้งหมด, ประดามี ก็ว่า.
  7. บรรดาศักดิ์
    หมายถึง [บันดา-] น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.
  8. บรรตานึก
    หมายถึง [บันตานึก] (แบบ) น. ปัตตานึก, พลเดินเท้า, ทหารราบ. (ป., ส. ปตฺตานีก).
  9. บรรถร
    หมายถึง [บันถอน] (แบบ) น. ที่นอน, เครื่องปูลาด. (ป. ปตฺถร; ส. ปฺรสฺตร).
  10. บรรทม
    หมายถึง [บัน-] (ราชา) ก. นอน, ประทม หรือ ผทม ก็ว่า. (ข. ผทม).
  11. บรรทัด
    หมายถึง [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็นแนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตีหรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้น หรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
  12. บรรทัดฐาน
    หมายถึง น. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.
  13. บรรทัดรองมือ
    หมายถึง น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งสำหรับจิตรกรใช้รองมือเขียนภาพ เป็นไม้แบน ๆ ยาว ๑-๒ ฟุต กว้างประมาณ ๑ นิ้ว หุ้มปลายข้างหนึ่งด้วยสำลีพันกระดาษฟางหรือผ้าเนื้อนุ่ม.
  14. บรรทัดราง
    หมายถึง น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอกอยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่งมีสีดำบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดานเป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตามต้องการ.
  15. บรรทับ
    หมายถึง [บัน-] (โบ; กลอน) ก. ประทับ เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ. (ทวาทศมาส).
  16. บรรทาน
    หมายถึง [บัน-] ก. เพิ่มให้, ให้. (แผลงมาจาก ประทาน).
  17. บรรทุก
    หมายถึง [บัน-] ก. วางไว้ ใส่ลง หรือบรรจุลงบนยานพาหนะเป็นต้นเพื่อขนย้ายไปทีละมาก ๆ, ประทุก ก็ใช้; โดยปริยายหมายความว่า รับภาระ เช่น บรรทุกงานไว้มาก, (ปาก) กินเกินอัตรา เช่น บรรทุกเข้าไปจนท้องแทบแตก.
  18. บรรพ,บรรพ-,บรรพ-
    หมายถึง [บับ, บับพะ-] น. ข้อ, ปล้อง, เล่ม, หมวด, ภาค, ตอน, กัณฑ์; ขั้นบันได; ระยะหรือเวลาที่กำหนด. (ป. ปพฺพ; ส. ปรฺวนฺ).
  19. บรรพ,บรรพ-,บรรพ-,บรรพ์
    หมายถึง [บันพะ-, บัน] ว. ก่อน, ทีแรก, เบื้องต้น; ตะวันออก. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).
  20. บรรพชา
    หมายถึง [บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชาเป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).
  21. บรรพชิต
    หมายถึง [บันพะชิด] น. นักบวชในพระพุทธศาสนา. (ป. ปพฺพชิต; ส. ปฺรวฺรชิต).
  22. บรรพต-
    หมายถึง [บันพดตะ-] น. ภูเขา. (ส. ปรฺวต; ป. ปพฺพต).
  23. บรรพต
    หมายถึง [บันพด] น. ภูเขา. (ส. ปรฺวต; ป. ปพฺพต).
  24. บรรพตกีลา
    หมายถึง (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
  25. บรรพตชาล
    หมายถึง (แบบ) น. เทือกเขา, แนวเขา, ทิวเขา. (ส. ปรฺวต + ชาล).
  26. บรรพตธาตุ
    หมายถึง (แบบ) น. แร่. (ส. ปรฺวต + ธาตุ).
  27. บรรพตมาลา
    หมายถึง (แบบ) น. เทือกเขา, แนวเขา, ทิวเขา. (ส. ปรฺวต + มาลา).
  28. บรรพตราช
    หมายถึง (แบบ) น. พญาเขา. (ส. ปรฺวต + ราช).
  29. บรรพตวาสี
    หมายถึง (แบบ) น. ชาวเขา. (ส. ปรฺวต + วาสินฺ).
  30. บรรพตศิขร
    หมายถึง (แบบ) น. ยอดเขา. (ส. ปรฺวต + ศิขร).
  31. บรรพบุรุษ
    หมายถึง น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคลที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
  32. บรรพภาค
    หมายถึง (แบบ) น. ข้อมือ. (ส.).
  33. บรรพมูล
    หมายถึง (แบบ) น. วันขึ้น ๑ คํ่า และวันกลางเดือนทางจันทรคติ. (ส.).
  34. บรรพสตรี
    หมายถึง น. หญิงผู้เป็นต้นวงศ์.
  35. บรรพเภท
    หมายถึง (แบบ) น. ความปวดร้าวในข้อ. (ส.).
  36. บรรยง
    หมายถึง [บัน-] ก. ทำให้งาม, ทำให้ดี.
  37. บรรยงก์
    หมายถึง [บัน-] น. ที่นั่ง. (ส. ปรฺยงฺก).
  38. บรรยากาศ
    หมายถึง น. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน; หน่วยของความดัน กำหนดว่า ความดัน ๑ บรรยากาศ มีค่าเท่ากับความดันของลำปรอทที่ตั้งตรงสูง ๗๖ เซนติเมตร ที่ ๐ °ซ. ณ ระดับทะเลที่ละติจูด ๔๕ ° หรือเท่ากับความดัน ๑๐๑,๓๒๕ นิวตันต่อตารางเมตร.
  39. บรรยาย
    หมายถึง [บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกำกับไว้. (ส.).
  40. บรรยเวกษก์
    หมายถึง [บันยะเวก] น. ผู้ดูแลทั่วไป เป็นตำแหน่งในวิทยาลัย. (ส. ปริ + อว + อีกฺษก).
  41. บรรลัย
    หมายถึง [บันไล] ก. ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า.
  42. บรรลัยกัลป์
    หมายถึง [บันไลกัน] น. เรียกไฟที่เชื่อกันว่าจะล้างโลกเมื่อสิ้นกัปว่า ไฟบรรลัยกัลป์, ไฟกัลป์ หรือ ไฟประลัยกัลป์ ก็ว่า.
  43. บรรลัยจักร
    หมายถึง [บันไลยะจัก] ว. วายวอด, มักใช้เป็นคำด่าประกอบคำ ฉิบหาย เป็น ฉิบหายบรรลัยจักร.
  44. บรรลาย
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ปลาย) น. ยอด, ที่สุด, ตรงข้ามกับ ต้น.
  45. บรรลาย
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ปราย) ก. ปราย, โปรย, เช่น หยั่งหยาดวลาหกบรรลาย. (อุเทน).
  46. บรรลุ
    หมายถึง [บัน-] ก. ลุ, ถึง, สำเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล, ประลุ ก็ว่า.
  47. บรรลุนิติภาวะ
    หมายถึง (กฎ) ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง เช่น บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือโดยการสมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์แล้ว.
  48. บรรษัท
    หมายถึง [บันสัด] (แบบ; แผลงมาจาก บริษัท) น. หมู่, ผู้แวดล้อม; การรวมกันเข้าหุ้นส่วนทำการค้าขาย; (กฎ) นิติบุคคลที่มีฐานะอย่างเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ. (อ. corporation).
  49. บรรสบ
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสบ) ก. พบ.
  50. บรรสพ
    หมายถึง [บัน-] ก. เกิดผล, ได้. (แผลงมาจาก ประสพ).
  51. บรรสม
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสม) ก. รวมกันเข้า, ปน, ระคน, เจือ.
  52. บรรสาน
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทำให้ติดกัน, ทำให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
  53. บรรสาร
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาร) ก. คลี่ออก.
  54. บรรหาน
    หมายถึง [บัน-] ก. แสดง.
  55. บรรหาร
    หมายถึง [บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.
  56. บรรเจิด
    หมายถึง [บัน-] ก. เชิดสูงขึ้น, สูงเด่น, เฉิดฉาย. ว. งาม.
  57. บรรเทา
    หมายถึง [บัน-] ก. ทุเลาหรือทำให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทำให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทำให้เบาบางลง, สงบหรือทำให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.
  58. บรรเทือง
    หมายถึง [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประเทือง) ก. ทำให้กระเตื้องขึ้น, พยุง, ทำให้ดีขึ้น.
  59. บรรเลง
    หมายถึง [บัน-] ก. ทำเพลงด้วยเครื่องดุริยางค์ให้เป็นที่เจริญใจ.
  60. บรรโลม
    หมายถึง [บัน-] (กลอน) ก. ประโลม, ทำให้พึงใจ.
  61. บรอนซ์
    หมายถึง น. ผงโลหะที่มีสีแวววาว ใช้ผสมสีหรือโรยบัตรเชิญเป็นต้น เช่น สีเงินบรอนซ์ สีทองบรอนซ์.
  62. บรัด
    หมายถึง [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัดแห่งพระองค์. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
  63. บรัศว์
    หมายถึง [บะหฺรัด] น. ข้าง, สีข้าง; ฟ้าดิน. (ส. ปารฺศฺว; ป. ปสฺส).
  64. บรั่นดี
    หมายถึง [บะหฺรั่น-] น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเหล้าองุ่น. (อ. brandy).
  65. บรากรม
    หมายถึง [บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).
  66. บราง
    หมายถึง [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
  67. บราทุกรา
    หมายถึง [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  68. บราลี
    หมายถึง [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
  69. บริกรม
    หมายถึง [บอริกฺรม] (แบบ) ก. เดินไป, ผ่านไป, พ้นไป, จากไป. (ส. ปริกฺรม).
  70. บริกรรม
    หมายถึง [บอริกำ] ก. สำรวมใจสวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  71. บริกัป
    หมายถึง [บอริกับ] (แบบ) น. ความตรึก, ความดำริ, การกำหนด. (ป. ปริกปฺป; ส. ปริกลฺป).
  72. บริการ
    หมายถึง [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้บริการ ใช้บริการ.
  73. บริขา
    หมายถึง [บอริ-] (แบบ) น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).
  74. บริขาร
    หมายถึง [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  75. บริขารโจล
    หมายถึง [-โจน] (แบบ) น. ท่อนผ้าสำหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬ ก็มี. (ป.).
  76. บริคณห์
    หมายถึง [บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คำที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความกำหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล. (ป. ปริคฺคหณ).
  77. บริคณห์สนธิ
    หมายถึง (กฎ) น. เอกสารก่อตั้งบริษัทจำกัดซึ่งผู้เริ่มก่อการบริษัทจำนวนตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำขึ้นตามข้อกำหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจำกัด เรียกว่า หนังสือบริคณห์สนธิ.
  78. บริจาค
    หมายถึง [บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความเสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
  79. บริจารก
    หมายถึง [บอริจารก] น. คนใช้, คนบำเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
  80. บริจาริกา
    หมายถึง [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
  81. บริชน
    หมายถึง [บอริชน] (แบบ) น. คนผู้แวดล้อม, บริวาร. (ป., ส. ปริชน).
  82. บริณายก
    หมายถึง [บอรินายก] (แบบ) น. ปริณายก, ผู้นำบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส. ปริณายก; ป. ปรินายก).
  83. บริณายกรัตน์
    หมายถึง [บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติประการ ๑ ในสมบัติ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
  84. บริดจ์
    หมายถึง [บฺริด] น. กีฬาในร่มชนิดหนึ่ง มีผู้เล่น ๔ คน โดยแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๒ คน ใช้ไพ่ป๊อกเต็มทั้งสำรับแจกให้คนละ ๑๓ ใบ. (อ. bridge).
  85. บริบท
    หมายถึง [บอริบด] (ไว) น. คำหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.
  86. บริบวรณ์
    หมายถึง [บอริ-บวน] (โบ; กลอน) ก. บริบูรณ์.
  87. บริบาล
    หมายถึง [บอริบาน] ก. ดูแลรักษา, ดูแลเลี้ยงดู, เช่น บริบาลทารก. น. ผู้รักษา, ผู้ดูแล, ผู้เลี้ยงดู. (ป., ส. ปริปาล).
  88. บริบูรณ์
    หมายถึง [บอริบูน] ก. ครบถ้วน, เต็มที่, เต็มเปี่ยม. (ส. ปริปูรฺณ; ป. ปริปุณฺณ).
  89. บริพนธ์
    หมายถึง [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  90. บริพัตร
    หมายถึง [บอริพัด] ก. หมุนเวียน, เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป; สืบสาย. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  91. บริพันธ์
    หมายถึง [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
  92. บริพาชก
    หมายถึง [บอริพาชก] (แบบ) น. ปริพาชก, นักบวชผู้ชายนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชก).
  93. บริพาชิกา,บริพาชี
    หมายถึง [บอริ-] (แบบ) น. นักบวชผู้หญิงนอกพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งในอินเดีย. (ป. ปริพฺพาชิกา, ปริพฺพาชี).
  94. บริพาร
    หมายถึง [บอริพาน] น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. (ป. ปริวาร).
  95. บริภัณฑ์
    หมายถึง [บอริพัน] น. วง, สิ่งแวดล้อม; เรียกภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้นว่า เขาสัตบริภัณฑ์. (ป. ปริภณฺฑ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
  96. บริภัณฑ์
    หมายถึง [บอริพัน] น. ผ้าทาบประกอบริมสบงหรือจีวรด้านกว้าง.
  97. บริภัณฑ์
    หมายถึง [บอริพัน] น. ของใช้, เครื่องใช้, เครื่องเรือน. (ป. ปริภณฺฑ).
  98. บริภาษ
    หมายถึง [บอริพาด] ก. กล่าวติเตียน, กล่าวโทษ, ด่าว่า. (ส. ปริภาษ).
  99. บริมาส
    หมายถึง [บอริมาด] น. พระจันทร์เต็มดวง.
  100. บริยาย
    หมายถึง [บอริยาย] ก. บรรยาย, สอน, แสดง, เล่าเรื่อง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด บ (หน้าที่ 2)"