พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 9)

  1. ที่วัด
    หมายถึง (กฎ) น. ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัด.
  2. ที่ว่าการ
    หมายถึง น. สถานที่ปฏิบัติราชการระดับอำเภอ เรียกว่า ที่ว่าการอำเภอ.
  3. ที่สุด
    หมายถึง น. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อนกว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.
  4. ที่หมาย
    หมายถึง น. ที่ที่มุ่งไปให้ถึง, จุดที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง.
  5. ที่เท่าแมวดิ้นตาย
    หมายถึง (สำ) น. ที่ดินหรือเนื้อที่เล็กน้อย.
  6. ที่แท้
    หมายถึง สัน. ที่จริง.
  7. ที่ไหน
    หมายถึง น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหนก็ได้; คำใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มีความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
  8. ที่ไหนได้
    หมายถึง (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  9. ทึก
    หมายถึง น. น้ำ. (ข.).
  10. ทึก,ทึก,ทึกทัก
    หมายถึง ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้.
  11. ทึดทือ
    หมายถึง น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).
  12. ทึนทึก
    หมายถึง ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึนทึก, เรียกสาวใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึนทึก, ทึมทึก ก็ว่า.
  13. ทึบ
    หมายถึง ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  14. ทึม
    หมายถึง น. โรงสำหรับตั้งศพเพื่อประกอบพิธีก่อนเผา เรียกว่า โรงทึม.
  15. ทึม,ทึม,ทึม ๆ
    หมายถึง ว. ครึ้ม, มัวซัว, เช่น ท้องฟ้าทึม สีทึม ๆ.
  16. ทึมทึก
    หมายถึง ว. จวนแก่, เรียกมะพร้าวที่จวนแก่ว่า มะพร้าวทึมทึก, เรียกสาวใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานว่า สาวทึมทึก, ทึนทึก ก็ว่า.
  17. ทึ่ง
    หมายถึง (ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).
  18. ทึ่ม
    หมายถึง (ปาก) ว. ทื่อ, ไม่เฉียบแหลม, โง่.
  19. ทึ้ง
    หมายถึง ก. พยายามดึงของเหนียวหรือสิ่งที่ติดอยู่แน่นแล้ว ๆ เล่า ๆ เช่น ทึ้งผม แร้งทึ้งศพ.
  20. ทื่อ
    หมายถึง ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  21. ทุ
    หมายถึง ดู กระทุ.
  22. ทุ
    หมายถึง ว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  23. ทุ
    หมายถึง (แบบ) ว. สอง, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
  24. ทุก
    หมายถึง ดู ค้าว.
  25. ทุก,ทุก-,ทุก-,ทุกะ
    หมายถึง [ทุกะ-] (แบบ) น. หมวด ๒. (ป.).
  26. ทุก,ทุก,ทุก ๆ
    หมายถึง ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจำนวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็นหน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมีปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
  27. ทุกข,ทุกข-,ทุกข์
    หมายถึง [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลำบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
  28. ทุกขนิโรธ
    หมายถึง [ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๓. (ป.).
  29. ทุกขลาภ
    หมายถึง [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
  30. ทุกขสมุทัย
    หมายถึง [ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจข้อที่ ๒. (ป.).
  31. ทุกขักษัย
    หมายถึง [ทุกขักไส] (แบบ) น. การหมดทุกข์, พระนิพพาน. (ส. ทุะข + กฺษย; ป. ทุกฺขกฺขย).
  32. ทุกขารมณ์
    หมายถึง น. ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ.
  33. ทุกขเวทนา
    หมายถึง [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน. (ป.).
  34. ทุกข์สุข
    หมายถึง น. ความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของชีวิตในขณะนั้น.
  35. ทุกฏ
    หมายถึง [ทุกกด] (แบบ) น. ความชั่ว; ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗. (ป. ทุกฺกฏ).
  36. ทุกที
    หมายถึง ว. อาการที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกขณะ เช่น ห่างออกไปทุกที ใกล้เข้ามาทุกที.
  37. ทุกนิบาต
    หมายถึง น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กำหนดด้วยธรรมหรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).
  38. ทุกพาย
    หมายถึง (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
  39. ทุกร,ทุกร-
    หมายถึง [ทุกกะระ-] (แบบ) น. สิ่งที่ทำได้ยาก. (ป. ทุกฺกร).
  40. ทุกรกิริยา
    หมายถึง น. การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก ได้แก่ การทำความเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  41. ทุกวันนี้
    หมายถึง ว. ขณะนี้, ในปัจจุบันนี้.
  42. ทุกวี่ทุกวัน
    หมายถึง (ปาก) ว. ทุกวัน เช่น พูดกรอกหูอยู่ทุกวี่ทุกวัน.
  43. ทุกษดร
    หมายถึง [ทุกสะดอน] (โบ; กลอน) ว. ทุกข์ยิ่งกว่า. (ป. ทุกฺขตร).
  44. ทุกสิ่งทุกอย่าง
    หมายถึง ว. ทั้งหมด.
  45. ทุกหน
    หมายถึง ว. ทุกครั้ง.
  46. ทุกหนทุกแห่ง,ทุกแห่ง
    หมายถึง ว. ทุกที่ทุกทาง, ทุกตำบล.
  47. ทุกหย่อมหญ้า
    หมายถึง ว. ทุกหนทุกแห่ง.
  48. ทุกหัวระแหง
    หมายถึง ว. ทุกแห่งหน.
  49. ทุกัง
    หมายถึง ดู ทูกัง.
  50. ทุกูล
    หมายถึง (แบบ) น. ผ้าอย่างดี, มักใช้ว่า ผ้าทุกูลพัสตร์. (ป., ส.).
  51. ทุกเมื่อ
    หมายถึง ว. ทุกขณะ, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เสมอ, เมื่อใดก็ได้.
  52. ทุกเมื่อเชื่อวัน
    หมายถึง ว. ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น.
  53. ทุคตะ
    หมายถึง [ทุกคะตะ] ว. ยากจน, เข็ญใจ. (ป. ทุคฺคต ว่า ถึงความยากแค้น).
  54. ทุคติ
    หมายถึง [ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลำบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).
  55. ทุงงะ
    หมายถึง (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acrossocheilus dukai ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดดำที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลำธารบริเวณภูเขาทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
  56. ทุงเทง
    หมายถึง ดู โทงเทง ๑.
  57. ทุจจิณณะ
    หมายถึง (แบบ) ว. ประพฤติชั่วแล้ว, ทำชั่วแล้ว, อบรมไม่ดี. (ป. ทุจฺจิณฺณ).
  58. ทุจริต
    หมายถึง [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  59. ทุด
    หมายถึง อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
  60. ทุตวิลัมพิตมาลา
    หมายถึง [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
  61. ทุติย,ทุติย-
    หมายถึง [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  62. ทุติยาสาฬหะ
    หมายถึง [-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).
  63. ทุทรรศนนิยม,ทุนิยม
    หมายถึง น. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การมองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).
  64. ทุน
    หมายถึง น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กำหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สำหรับดำเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  65. ทุนจดทะเบียน
    หมายถึง (กฎ) น. จำนวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมาย และได้กำหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจำนวนสูงสุดของหุ้นที่จะออกจำหน่ายได้. (อ. authorized capital).
  66. ทุนทรัพย์
    หมายถึง [ทุนซับ, ทุนนะซับ] น. ทรัพย์ที่เป็นทุน, จำนวนทรัพย์ที่ตั้งเป็นทุน; (กฎ) จำนวนเงินหรือราคาทรัพย์ที่เรียกร้องกันในคดี.
  67. ทุนนอน
    หมายถึง น. เงินทุนประจำที่ได้ดอกผลเสมอ.
  68. ทุนนิมิต
    หมายถึง [ทุนนิมิด] (แบบ) น. ลางร้าย; เครื่องหมายอันชั่วร้าย. (ป. ทุนฺนิมิตฺต).
  69. ทุนนิยม
    หมายถึง น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพยากรที่เป็นทุนมีเสรีภาพในการผลิต และการค้า. (อ. capitalism).
  70. ทุนรอน
    หมายถึง น. ทรัพย์ที่มีเอาไว้ใช้สอยหาผลประโยชน์.
  71. ทุนสำรอง
    หมายถึง (กฎ) น. เงินที่จัดสรรไว้จากเงินกำไรของบริษัทตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ทุกคราวที่จ่ายเงินปันผล.
  72. ทุนสำรองเงินตรา
    หมายถึง (กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.
  73. ทุนหมุนเวียน
    หมายถึง (กฎ) น. ทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการซึ่งอนุญาตให้นำรายรับสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้.
  74. ทุนเรือนหุ้น
    หมายถึง (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
  75. ทุบ
    หมายถึง ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือเพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากำปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.
  76. ทุบตี
    หมายถึง ก. ทำร้ายร่างกายด้วยการทุบ ตี เตะ ต่อย เป็นต้น.
  77. ทุบทู
    หมายถึง น. เครื่องบังตัวป้องกันอาวุธของโบราณชนิดหนึ่ง.
  78. ทุบหม้อข้าว
    หมายถึง (สำ) ก. ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากิน.
  79. ทุปปัญญา
    หมายถึง [ทุบ-] (แบบ) น. ปัญญาทราม. (ป.).
  80. ทุพพรรณ
    หมายถึง [ทุบ-] (แบบ) ว. มีสีไม่งาม, มีผิวไม่งาม. (ป. ทุพฺพณฺณ; ส. ทุรฺวรฺณ).
  81. ทุพพล
    หมายถึง [ทุบพน] (แบบ) ว. มีกำลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้, ทุรพล ก็ว่า. (ป.; ส. ทุรฺพล).
  82. ทุพพลภาพ
    หมายถึง [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปรกติได้.
  83. ทุพภิกขภัย
    หมายถึง [ทุบพิกขะไพ] น. ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง. (ป.).
  84. ทุพภิกขันดร,ทุพภิกขันดรกัป
    หมายถึง [ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ] น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้ว่าเป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร, คู่กับ สัตถันดรกัป คือ ระยะเวลาที่ฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน. (ป.).
  85. ทุม,ทุม-
    หมายถึง (แบบ) น. ต้นไม้. (ป.).
  86. ทุมราชา
    หมายถึง [ทุมมะ-] น. พญาไม้, ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยาได้ ใช้ว่า ไม้โพ ก็มี. (พจน. ๒๔๙๓).
  87. ทุมโน
    หมายถึง [ทุมมะโน] (แบบ; กลอน) ก. เสียใจ เช่น จะทุมโนโทมนัสน้อยใจไปไยนะน้องหญิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
  88. ทุย
    หมายถึง ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทำกราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็นคำเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  89. ทุร,ทุร-
    หมายถึง [ทุระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทุรค ว่า ที่ไปถึงยาก, ทางลำบาก. (ส.).
  90. ทุรกันดาร
    หมายถึง ว. ที่ไปมาลำบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ.
  91. ทุรคม
    หมายถึง ก. ไปลำบาก, ไปถึงยาก. (ส.).
  92. ทุรชน
    หมายถึง น. ทรชน, คนชั่วร้าย. (ส.).
  93. ทุรชาติ
    หมายถึง น. ชาติชั่ว. (ส.).
  94. ทุรน
    หมายถึง (กลอน) ก. เดือดร้อน, ดิ้นรน, เช่น จะทุรนเดือดแด. (นิทราชาคริต).
  95. ทุรนทุราย
    หมายถึง ก. กระวนกระวาย, กระสับกระส่าย, ดิ้นรนจะให้พ้นจากทรมาน.
  96. ทุรพล
    หมายถึง ว. มีกำลังน้อย, อ่อนแอ, ท้อแท้, ทุพพล ก็ว่า. (ส.).
  97. ทุรภิกษ์
    หมายถึง น. การอัตคัดเสบียง. (ส.).
  98. ทุรลักษณ์
    หมายถึง ว. มีลักษณะไม่ดี; มีเครื่องหมายชั่ว. (ส.).
  99. ทุรศีลธรรม
    หมายถึง น. การกระทำผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน. (อ. immoral).
  100. ทุรัถยา
    หมายถึง [-รัดถะยา] (แบบ) น. ทางไกล. (พงศ. เลขา).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ท (หน้าที่ 9)"